Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57879
Title: การพัฒนามาตรวัดกรอบความคิดสากล
Other Titles: Development of global mindset inventory
Authors: คฑาวุธ ถนอมสุข
เตชภณ ภูพุฒ
ธนกร คณะพาณิชย์เกษม
Advisors: ทิพย์นภา หวนสุริยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: จิตวิทยาอุตสาหกรรม
พยากรณ์ความสำเร็จทางอาชีพ
Psychology, Industrial
Prediction of occupational success
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดกรอบความคิดสากล (global mindset) ซึ่งหมายถึงคุณลักษณะของผู้ที่มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ในต่างแดน ผู้วิจัยออกแบบและพัฒนาข้อคำถามในมาตรวัดขึ้นมาใหม่ด้วยตนเองทั้งหมด โดยอ้างอิงจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกรอบความคิดสากล การพัฒนามาตรวัดแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นการสร้างข้อคำถามและทดสอบองค์ประกอบและความเที่ยง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 79 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ได้ข้อคำถามที่มีคุณภาพจำนวน 40 ข้อ โดยแบ่งองค์ประกอบเป็น 3 มิติใหญ่ 9 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.มิติด้านความรู้ มีองค์ประกอบย่อยคือ ความเข้าใจในธุรกิจ การบริหารความแตกต่างและการสร้างเครือข่ายธุรกิจระดับสากล 2.มิติด้านคุณลักษณะ มีองค์ประกอบย่อยคือ การเปิดรับวัฒนธรรมอื่น ความยินดีต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ การเข้าใจวัฒนธรรมอื่นและความใฝ่รู้ในวัฒนธรรมอื่น และ 3.มิติด้านจิตวิทยา มีองค์ประกอบย่อยคือ ความมั่นใจในตนเองและความสามารถในการฟื้นพลัง ช่วงที่สองเป็นการทดสอบความตรงของมาตรวัดด้วยการทดสอบกับกลุ่มที่รู้ลักษณะอยู่แล้ว (known-group validity) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีหลักฐานว่าน่าจะมีกรอบความคิดสากลแตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่ กลุ่มที่ผู้วิจัยรู้ว่าจะมีลักษณะกรอบความคิดสากลต่ำ คือ ข้าราชการในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และกลุ่มที่ผู้วิจัยรู้ว่าจะมีลักษณะกรอบความคิดสากลสูง คือพนักงานบริษัทเอกชนที่เป็นสากลซึ่งประจำอยู่สาขาต่างประเทศ จำนวนกลุ่มละ 12 คน ผลการทดสอบความตรงพบว่า คะแนนของกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยรู้ว่าจะมีลักษณะกรอบความคิดสากลสูง มีค่ามากกว่าคะแนนของกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยรู้ว่าจะมีลักษณะกรอบความคิดสากลต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกมิติ
Other Abstract: This study aims to develop a global mindset inventory. All items included in the scale were developed based on a review of related literatures. The scale was developed and tested and developed to ensure the quality in two consecutive phases. In the first phase of study, 79 participants responded to the initial version of the scale. Data were subjected to an exploratory factor analysis. The 40 qualified items were categorized into three main dimensions comprising of nine subscales. The first dimesion is knowledge which includes three subscales, i.e., Business Savvy, Diversity management and Strategic global network. The second dimension is Character which comprises of four subscales, namely, Openness to other culture, Cultural sensitivity and respect, Multicultural social skill and Curiosity about other culture. The third dimension is Psychological factors which includes two subscales, i.e., Self-assurance and Resilience. In the second phase, data from 24 participants, 12 from each of the two different groups which were known to have different level of global mindset (local government officers represent a low level of global mindset group, whereas international-based public company officers represent a high level of global mindset group) were collected in order to conduct known-group validity test. The result indicates statistically significant differences between the two groups in every dimension of the global mindset inventory
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57879
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khatawut Tanomsuk.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.