Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58039
Title: ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์โดยใช้นิทานชาดกที่มีต่อคุณลักษณะความมีเมตตากรุณาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Effects of instruction using storyline method by using Jataka Tales on clement attribute of prathom suksa three students at Chulalongkorn University Demonstration School
Authors: สุกัญญา พวงเกตุ
Advisors: มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การสอนแบบสตอรีไลน์
เมตตาและกรุณา
ชาดก
นักเรียนประถมศึกษา
Story line
Compassion -- Religious aspects -- Buddhism
Jataka stories
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์โดยใช้นิทานชาดกที่มีต่อคุณลักษณะความมีเมตตากรุณาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความเมตตากรุณาและด้านการประเมินพฤติกรรมความมีเมตตากรุณา ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่เรียนวิชาเลือกเสรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ จำนวน 16 แผน ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 32 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความเมตตากรุณา และแบบประเมินผลตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมความมีเมตตากรุณา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์โดยใช้นิทานชาดกเกี่ยวกับความมีเมตตากรุณา มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์โดยใช้นิทานชาดกเกี่ยวกับความมีเมตตากรุณา มีคะแนนประเมินผลตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมความมีเมตตากรุณาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of instruction using Storyline Method by using Jataka Tales on clement attribute of Prathom Suksa three students in the academic achievement on clement attribute and the clement behavior evaluation. The samples included 30 students taking a free selective subject of Prathom Suksa three in the academic year 2007, Chulalongkorn University Demonstration School (Elementary). The research instruments included 16 lesson plans using Storyline Method for 8 weeks (32 hours), academic achievement on clement test and self assessment on clement behavior. The data was analyzed by using t-test. The findings of this research indicated as follows: 1. Scores on the post-test of the academic achievement of the students learning through the Storyline Method by using Jataka Tales on clement attribute were higher than those of the pre-test at the .05 level of significance. 2. Scores on the post-test of self - evaluation on clement behavior of the students learning through the Storyline Method by using Jataka Tales on clement attribute were higher than those of the pre-test at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58039
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.458
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.458
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanya Poungket.pdf861.23 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.