Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5809
Title: ผลกระทบทางด้านวิศวกรรมการทาง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก
Other Titles: Impact on highway engineering due to truck load limit change
Authors: นนทวัฒน์ ปาณสมบูรณ์
Advisors: อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
สรวิศ นฤปิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
[email protected], [email protected]
Subjects: น้ำหนักบรรทุก (การขนส่ง)
รถบรรทุก
วิศวกรรมการทาง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รถบรรทุกเป็นปัจจัยสำคัญในการขนส่งสินค้าต่างๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าประเภทผลิตผลทางการเกษตร และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งการขนส่งสินค้าเหล่านี้มักจะเกินพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก ที่ทางราชการกำหนดส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อถนน โดยเฉพาะผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต ซึ่งเป็นถนนส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้ช่วงเวลาในการเสริมผิวถนนหดสั้นลง รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมก่อนกำหนดเวลา เป็นจำนวนเงินมหาศาล และบางครั้งปัญหารถบรรทุกหนักเกินพิกัดได้ถูกหยิบยก มาเป็นปัญหาทางการเมืองอีกด้วย ในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ได้ศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก 5 กรณีศึกษา โดยในกรณีศึกษาที่ 1 จะเป็นสภาพการขนส่งในปัจจุบันซึ่งมีการบรรทุกเกินพิกัด ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน (10 ล้อ 21 ตัน) ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 เป็นการควบคุมให้มาตรการทางกฎหมายปัจจุบันมีความเข้มงวด และไม่มีผู้ใดฝ่าฝืน สำหรับกรณีที่ 3, 4 และ 5 จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกโดยให้รถบรรทุก 10 ล้อ เป็นเกณฑ์ มีน้ำหนักรวมเป็น 25, 30 และ 35 ตัน ตามลำดับ และวิเคราะห์เฉพาะผลที่เกิดจากรถบรรทุก 6 ล้อ 10 ล้อ 18 ล้อกึ่งพ่วง และ 18 ล้อพ่วง จากการศึกษาพบว่า น้ำหนักลงเพลาของรถบรรทุกและจำนวนเที่ยว ที่วิ่งผ่านบนถนนเส้นนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้อายุใช้งานของถนนหดสั้นลง ในกรณีศึกษาปีที่ 1 (สภาพปัจจุบัน) จะทำให้ถนนเกิดความเสียหายเร็วที่สุด และรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายช่วงปี พ.ศ. 2541-2559 ในการเสริมผิวแอสฟัลท์ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงิน 132,690 ล้านบาท ส่วนกรณีศึกษาที่ 2 (10 ล้อ 21 ตัน) ถนนจะมีอายุใช้งานตามที่ออกแบบไว้ และจะเสียหายเร็วขึ้นเมื่อเปลี่ยนแปลงพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก ตามกรณีศึกษาที่ 3 (10 ล้อ 25 ตัน) 4 (10 ล้อ 30 ตัน) และ 5 (10 ล้อ 35 ตัน) ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเสริมผิวเป็นเงิน 126,486 ล้านบาท 130,368 ล้านบาท และ 131,370 ล้านบาทตามลำดับ นอกจากนี้ยังทราบถึงระยะทางและค่าเสริมผิวถนน ในแต่ละปีของแต่ละกรณีศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประกอบการวางแผนการซ่อมบำรุงผิวทาง การจัดสรรงบประมาณ และการกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกที่เหมาะสมต่อไป
Other Abstract: Trucks are used as the main mean of transporting goods in Thailand. Their hauling weights especially agricultural products and building materials usually exceed weight regulation specified by laws causing damages to the road surface pavement especially asphaltic concrete type of pavement which is the predominant type of pavements in Thailand and shorten the time interval to the next surfacing. This costs the government a huge sum of money in repairing roads and in many occasions, are used as a political issue. This thesis studies the impact of changing weight limits of the trucks. Five scenarios were looked at, the first one was being the prevailing condition where the hauling weight exceeded the limit (21 tons for 10 wheelers). Teh second dealt with the strict enforcement of the regulation and the remainders 3, 4 and 5 were about the increasing weight limits to 25, 30 and 35 tons respectively using the 10-wheeler as a bench mark limit. The effect of the increased weights on 6, 10 wheelers, semi trailer and full trailer were examined. The results revealed that the increase in axle weights and number of vehicle passes were the main cause of pavement damages. The first scenario was the worse case of all, associated costs to repair the damages would amount to 132,690 million bahts from 2541 to 2559. The second scenario was the best case of all where the time interval for resurfacing was as planned schedule. For the 3, 4 and 5 scenarios the damages were 126,486 million bahts, 130,368 million bahts and 131,370 million bahts respectively. Further, the results also shown the time intervals for the next resurfacing which are useful for budget planning and resurfacing program.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5809
ISBN: 9741300441
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nonthawat.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.