Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58091
Title: การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการวางแผนแบบอนาคตภาพและการเรียนรู้จากการปฏิบัติของกลุ่มความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์สำหรับพนักงานธนาคารไทย
Other Titles: DEVELOPMENT OF A BLENDED TRAINING MODEL USING SCENARIO PLANNING AND ACTION LEARNING OF COLLABORATIVE GROUPS TO ENHANCE STRATEGIC THINKING ABILITY OF THAI BANK PERSONNEL
Authors: นิษฐา พุฒิมานรดีกุล
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
ธีรวดี ถังคบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการวางแผนแบบอนาคตภาพและการเรียนรู้จากการปฏิบัติของกลุ่มความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ สำหรับพนักงานธนาคารไทย กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และปัญหา เกี่ยวกับการฝึกอบรมแบบผสมผสาน การวางแผนอนาคตภาพ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการคิดเชิงกลยุทธ์ ได้แก่พนักงานธนาคารไทยระดับหัวหน้าส่วนงานขึ้นไป จำนวน 481 คน จาก 19 ธนาคารไทย ด้วยแบบสอบถามฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และกลุ่มทดลองใช้รูปแบบฯ จำนวน 15 คน โดยใช้ระยะเวลาทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ แบบประเมินแผนอนาคตภาพและโครงการ และแบบประเมินการมีส่วนร่วมของกลุ่มความร่วมมือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ด้วยค่า t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการฝึกอบรมแบบผสมผสานฯประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ1) บุคคล ได้แก่พนักงานธนาคารระดับหัวหน้าส่วนงาน ผู้บริหารโครงการฝึกอบรม ผู้บริหารธนาคารและวิทยากร 2) กลุ่มความร่วมมือ 3) เนื้อหาการฝึกอบรมเกี่ยวกับ วิธีวางแผนอนาคตภาพ วิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน วิธีสร้างกลุ่มความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 4) ประเด็นปัญหาจากการปฏิบัติงาน 5) การปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสาน 6) ฐานความรู้และเครื่องมือสื่อสาร และ 7) บริการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 2. ขั้นตอนการฝึกอบรมแบบผสมผสานฯประกอบด้วย 3 ระยะ 12 ขั้นตอน คือ1) ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเข้าร่วมโครงการ 2) ปฐมนิเทศการฝึกอบรมแบบเผชิญหน้า 3) ศึกษาเนื้อหาด้วยตนเองในระบบออนไลน์ 4) จัดตั้งกลุ่มความร่วมมือตามระดับความสามารถการคิดเชิงกลยุทธ์ 5) กำหนดประเด็นปัญหาจากการปฏิบัติงาน 6) ระบุขอบเขตสถานการณ์ปัญหาและกำหนดเป้าหมาย 7) ระบุปัจจัยชี้นำและแรงขับเคลื่อนสู่อนาคต 8) สร้างแผนอนาคตภาพ 9) ตรวจสอบความกลมกลืนและความน่าเชื่อถือของแผนอนาคตภาพ 10) พัฒนาต้นแบบแผนอนาคตภาพฉบับสมบูรณ์ 11) ประเมินผลลัพธ์แผนอนาคต และ 12) ประเมินผลการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานฯพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสามารถการคิดเชิงกลยุทธ์หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินการมีส่วนร่วมของกลุ่มความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก
Other Abstract: The objective of this research was to develop the blended training model using scenario planning and action learning of collaborative groups to enhance strategic thinking ability of Thai bank personnel. The participants used to study the current state, problems, and needs concerning the practices of blended training, scenario planning, action learning, and strategic thinking of Thai bank were 481 bank personnel from 19 Thai banks, using a questionnaire developed by a researcher. The participants for a model testing were 15 bank managers spent four weeks in blended training program based on scenario planning and action learning of collaborative groups. The instruments were 1) a pretest and a posttest strategic thinking ability testing, 2) a scenario planning and a project evaluation form, and 3) a participation of collaborative group assessment form. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t-test dependent. The research revealed that: 1. The blended training model consisted of seven components: 1) personnel included a management level personnel, a training project manager, and an executive trainer; 2) collaborative groups; 3) training knowledge contents related to scenario planning strategy, action learning, an effective collaborative group, and ICT for learning in organization; 4) work problems; 5) interactions in blended training; 6) knowledge base and communication tools; and 7) support resources and assistant for blended training. 2. The blended training model consisted of three phases with 12 steps: 1) announcement and recruit for a training program; 2) classroom training orientation; 3) online individual study; 4) collaborative groups setting for strategic management level; 5) work problem identification; 6) problem situation and goals setting; 7) guiding factors and driving forces identification; 8) scenario master plan development; 9) master plan harmony and reliability assessment; and 10) complete master plan development; 11) plan outputs assessment; and 12) the blended training evaluation. 3. The results from the model testing indicated that the Thai bank participants had statistically significant at .05 level posttest strategic thinking scores higher than pretest scores. The thinking participation in all collaborative groups were found in high level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58091
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.45
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.45
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484458427.pdf12.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.