Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58132
Title: | การระบุเพศและอาณาเขตที่อยู่อาศัยของนกเค้ากู่ Otus lettia (Hodgson, 1836) ที่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | SEX IDENTIFICATION AND HOME RANGE OF COLLARED SCOPS OWL Otus lettia (Hodgson, 1836) AT SAMAESAN ISLAND, CHONBURI PROVINCE |
Authors: | ศักรินทร์ แสนสุข |
Advisors: | ธงชัย งามประเสริฐวงศ์ กัมปนาท ธาราภูมิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาทางสัณฐานวิทยาของนกเค้ากู่จากตัวอย่างพิพิธภัณฑ์จำนวน 48 ตัว (เพศผู้ 30 ตัวและเพศเมีย 18 ตัว) พบลักษณะที่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศ 3 ลักษณะคือ ความยาวปีก (WL) ความยาวนิ้วที่ 2 (2DL) และความยาวกรงเล็บที่ 2 (2CL) ซึ่งสามารถนำไปใช้สร้างสมการทำนายเพศที่มีความถูกต้อง 66.7-79.2% และการศึกษาอาณาเขตที่อยู่อาศัยของนกเค้ากู่บนเกาะแสมสาร ตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 ถึง เดือนพฤษภาคม 2559 โดยการติดตัวส่งสัญญาณวิทยุนกเค้ากู่ตัวเต็มวัยจำนวน 2 ตัว และนกเค้ากู่วัยอ่อนจำนวน 1 ตัว พบว่าในระยะเวลา 1 ปี นกเค้ากู่ตัวเต็มวัยมีขนาดอาณาเขตที่อยู่อาศัย (100% MCP และ 95% AK) มีค่าเท่ากับ 0.0371-0.0482 และ 0.0198-0.0242 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ และมีขนาด core area (75% AK และ 50% AK) มีค่าเท่ากับ 0.0029-0.0082 และ 0.0006-0.0035 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ แม้ว่านกเค้ากู่มีการใช้พื้นที่อยู่ในบริเวณเดียวกันตลอดทั้งปี ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ (เดือนมกราคม-เมษายน; 100% MCP, 75% AK และ 50% AK มีค่าเท่ากับ 0.0221-0.0260, 0.0107-0.0122 และ 0.0044-0.0050 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ) นกเค้ากู่จะมีขนาดอาณาเขตที่อยู่อาศัยเล็กกว่าและมีขนาด core area ใหญ่กว่าในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ (เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม; 100% MCP, 95% AK, 75% AK และ 50% AK มีค่าเท่ากับ 0.0344-0.0361, 0.0162-0.0214, 0.0024-0.0051 และ 0.0005-0.0014 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ) สำหรับนกเค้ากู่วัยอ่อนจะยังไม่มีอาณาเขตที่อยู่อาศัยที่ชัดเจน และมีขนาดอาณาเขตที่อยู่อาศัยและ core area สำหรับการเกาะพัก/เกาะนอนในเวลากลางวัน (100% MCP, 75% AK และ 50% AK มีค่าเท่ากับ 0.0449-0.0488, 0.0403 และ 0.0180 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ) ใหญ่กว่านกเค้ากู่ตัวเต็มวัย (100% MCP, 75% AK และ 50% AK มีค่าเท่ากับ 0.0117-0.0146, 0.0006-0.0007 และ 0.0003 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ) แต่นกเค้ากู่วัยอ่อนระยะที่ 2 จะมีขนาดอาณาเขตที่อยู่อาศัยและ core area ในเวลากลางคืนใกล้เคียงกับนกเค้ากู่ตัวเต็มวัย (100% MCP, 95% AK, 75% AK และ 50% AK มีค่าเท่ากับ 0.0367-0.0481, 0.0282-0.0370, 0.0101-0.0115 และ 0.0036-0.0050 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ) ต่างจากนกเค้ากู่วัยอ่อนระยะที่ 1 ซึ่งใช้พื้นที่ขนาดใหญ่กว่า จากการศึกษาอาหารหรือเหยื่อของนกเค้ากู่จากก้อนสำรอก และกล้องดักถ่ายภาพ พบว่าเหยื่อส่วนใหญ่เป็นแมลงใน 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ Hemiptera, Orthoptera, Blattodea, Coleoptera และ Lepidoptera และยังมีสัตว์ขาข้อ ได้แก่ ตะขาบ (อันดับ Scolopendromorpha) และยังพบว่านกเค้ากู่จะนำเหยื่อกลับมาป้อนลูกนกที่รังบ่อยในช่วงเวลาหัวค่ำ (20:01-21:00 น.) และเช้ามืด (3:01-4:00 น.) |
Other Abstract: | The morphometric study of 48 Collared Scops Owls from the museum specimens (30 males, 18 females) revealed three sexual dimorphic characters which were wing length, second digit length and second claw length. These characters were used to generate the sex-predicting equations with accuracy up to 66.7 – 79.2%. Radio-tracking study of Collared Scops Owls at Samaesan Island (2 adults and 1 juvenile) during April 2015 – May 2016 found that in one year the adult home range sizes in terms of 100% MCP and 95% AK were 0.0371-0.0482 and 0.0198-0.0242 km2, respectively, and the core area sizes in terms of 75% AK and 50% AK were 0.0029-0.0082 and 0.0006-0.0035 km2, respectively. Although these adult owls utilized the same area throughout the year, the owl’s home range in breeding season (January - April; 100% MCP, 75% AK and 50% AK were 0.0221-0.0260, 0.0107-0.0122 and 0.0044-0.0050 km2, respectively) was smaller but not the core area which was larger than in non-breeding season (May – December; 100% MCP, 95% AK, 75% AK and 50% AK were 0.0344-0.0361, 0.0162-0.0214, 0.0024-0.0051 and 0.0005-0.0014 km2, respectively). The juvenile owl did not have its own apparent home range and core area for roosting during the day (100% MCP, 75% AK and 50% AK were 0.0449-0.0488, 0.0403 and 0.0180 km2, respectively) which were larger than those in adults (100% MCP, 75% AK and 50% AK were 0.0117-0.0146, 0.0006-0.0007 and 0.0003 km2, respectively). While late juvenile home range and core area during nighttime were similar in size to those in adults (100% MCP, 95% AK, 75% AK and 50% AK were 0.0367-0.0481, 0.0282-0.0370, 0.0101-0.0115 and 0.0036-0.0050 km2, respectively), juvenile home range and core area were much larger. The dietary study using pellets and camera traps showed that Collared Scops Owls mostly consumed insects in 5 Orders (Hemiptera, Orthoptera, Blattodea, Coleoptera and Lepidoptera) and centipede (Order Scolopendromorpha). Parents mostly brought preys back to roost and feed their fledglings around dusk (8:01-9:00 pm) and dawn (3:01-4:00 am) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สัตววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58132 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1189 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1189 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5672103823.pdf | 9.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.