Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58364
Title: ความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยต่อการออกแบบทางกายภาพในโครงการคอนโดมิเนียมระดับราคาปานกลางและระดับราคาสูง กรณีศึกษา โครงการ เดอะ แชปเตอร์วัน แคมปัส ลาดพร้าว 1และโครงการ เดอะ รีเซิร์ฟ เกษมสันต์ 3
Other Titles: SATISFACTION OF THE RESIDENTS IN PHYSICAL DESIGN OF MIDDLE PRICE AND HIGH PRICE CONDOMINIUMS CASE STUDIES: THE CHAPTER ONE CAMPUS LARDPRAO 1 AND THE RESERVE KASEMSAN 3
Authors: คณิศร์ อภิสิทธิพิชญ์
Advisors: บุษรา โพวาทอง
วรรณภา พิมพ์วิริยะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพถือเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญในพัฒนาคอนโดมิเนียม ทั้งนี้เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้อยู่อาศัย งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาแนวคิดและวิธีการออกแบบ ลักษณะทางกายภาพของโครงการ รวมถึงประเมินความพึงพอใจต่อลักษณะทางกายภาพของคอนโดมิเนียม โดยเลือกกรณีศึกษา บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่มีระดับราคาปานกลางและระดับราคาสูง โดยการใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ 2 ท่าน ผู้ออกแบบโครงการ 5 ท่าน และการสอบถามผู้อยู่อาศัยในโครงการ จำนวน 166 คน ผลการวิจัยพบว่า 1.) แนวคิดการกำหนดตลาดเป้าหมาย (STP Marketing) เป็นปัจจัยสำคัญ ในการกำหนดแนวคิดการออกแบบเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของโครงการ กรณีศึกษาโครงการระดับราคาปานกลาง กำหนดราคาของคอนโดมิเนียมเพื่อให้กลุ่มคนระดับปานกลางสามารถจ่ายได้ การออกแบบเน้นแนวคิดหน้าที่การใช้สอย ส่งผลให้การออกแบบห้องพักมีขนาดเล็กแต่สามารถใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นความคุ้มค่าในการซื้อ ส่วนกรณีศึกษาโครงการระดับราคาสูง เน้นแนวคิดด้านสุนทรียภาพในการสร้างเอกลักษณ์ของโครงการ ส่งผลให้การออกแบบทางกายภาพอิงจากบริบทของพื้นที่เนื่องจากบริเวณที่ตั้งโครงการมีประวัติดั้งเดิม 2.) ลักษณะทางกายภาพจากกรณีศึกษาทั้ง 2 โครงการมีความแตกต่างกันคือ โครงการระดับราคาปานกลางเน้นพื้นที่ส่วนกลางน้อยกว่าพื้นที่ห้องพักโดยมีสัดส่วนที่ร้อยละ 36:64 พื้นที่ส่วนกลางจัดให้มีขนาดเล็กเนื่องจากส่งผลต่อรายจ่ายในอนาคตจึงมีพื้นที่ที่บริการในระดับมาตราฐาน พื้นที่ภายในห้องพักมีขนาดเล็ก การวางผังภายในห้องมีการรวมพื้นที่บางส่วนไว้รวมกันเพื่อประหยัดเนื้อที่ต่อตารางเมตร เน้นพื้นที่เก็บของภายในห้องพัก วัสดุภายในห้องเน้นการดูแลรักษาง่ายและมีราคาไม่สูง สร้างความคุ้มค่าด้วยการให้เฟอร์นิเจอร์ที่ครบครัน ส่วนโครงการระดับราคาสูงเน้นพื้นที่ส่วนกลางใกล้เคียงกับพื้นที่ห้องพักโดยมีสัดส่วนร้อยละ 49:51 พื้นที่ส่วนกลางมีขนาดใหญ่และมีการบริการเพิ่มเติมที่มากกว่ามาตราฐานให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ห้องพักมีพื้นที่ขนาดใหญ่ เน้นฝ้าภายในที่สูงโปร่ง การวางผังภายในห้องเป็นสัดส่วนเพื่อแยกการใช้งานที่ชัดเจน วัสดุภายในห้องอยู่ในระดับที่ดีกว่ามาตราฐานโดยใช้วัสดุที่มียี่ห้อและราคาสูง มีการให้เฟอร์นิเจอร์และชุดครัวที่มีความครบครัน 3.) ผู้อยู่อาศัยทั้ง 2 โครงการมีความพึงพอใจต่อลักษณะทางกายภาพด้านสถาปัตยกรรมมากที่สุด รองลงมาคือด้านสถาปัตยกรรมภายในและด้านภูมิสถาปัตยกรรมตามลำดับ ทั้งนี้ทั้ง 2 โครงการมีความพึงพอใจที่สอดคล้องกันด้านพื้นฐานแนวคิดการออกแบบที่เน้นประสิทธิภาพในการใช้งานและสุนทรียภาพ แต่มีลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน โดยกรณีศึกษาโครงการระดับราคาสูงผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจในระดับที่สูงกว่ากรณีศึกษาโครงการระดับราคาปานกลาง ในรายละเอียดโครงการระดับราคาปานกลางผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจด้านรูปแบบอาคารมีความเหมาะสมกับการใช้งาน วัสดุและเฟอร์นิเจอร์ส่วนกลางมีคุณภาพที่ดี การจัดวางผังและการตกแต่งภายในห้องมีความเหมาะสมกับการใช้งาน และกรณีศึกษาโครงการระดับราคาสูงผู้อยู่อาศัยมีความพึงพอใจด้านพื้นที่ส่วนกลางมีความเหมาะสมกับการใช้งาน ความสูงฝ้าที่โปร่งเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย สระว่ายน้ำที่เหมาะสมต่อการใช้งานและการจัดวางผังสวนมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดี การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเพื่อใช้ข้อมูลประกอบการพัฒนาโครงการและผู้ออกแบบโครงการสามารถนำแนวคิดไปใช้ในการสื่อสารกับผู้ประกอบการ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ทางด้านการลงทุนและการอยู่อาศัย รวมถึงเป็นประโยชน์เชิงวิชาการในการเข้าใจกลไกการออกแบบทางกายภาพในการพัฒนาโครงการประเภทธุรกิจคอนโดมิเนียม
Other Abstract: Designing physical environments is one of the fundamental processes for developing a condominium so that the commercial or residential property will have appealing selling points and potential customers will be happy to live in them. This research aimed at exploring the design concepts and strategies employed to create physical designs and evaluating owners’ satisfaction with the physical of condominiums. In so doing, 2 entrepreneurs, 5 project designers, and 166 residents of medium- and high-priced condominium projects conceived by Pruksa Real Estate Public Company Limited were interviewed about their condominium projects. The results show that, firstly, the strategy for targeting markets, or Segmentation, Targeting and Positioning Marketing (STP Marketing) is a crucial factor in determining the design concepts of a condominium to accommodate the needs of potential customers. The medium-priced condominium project prices were set to be affordable to middle-class Thais. These designs focused primarily on functionality of the buildings, resulting in small yet efficient condominium units which would be considered worth purchasing. With regard to high-priced condominium projects, esthetics was highlighted to create greater uniqueness; thereby, the design of physical interior environments was adapted to the historical site location which contributed to the historical atmosphere of the condominium. Secondly, the interior environments of both types of condominium projects differed in that the medium-priced condominium projects contained fewer common areas than private room areas. The ratio of common to private areas was 36:64 in these projects. The room plan combined certain areas to save space and stressed storage areas. The materials used inside private rooms were selected for ease of maintenance and for low cost. The rooms were also fully furnished for convenience. In the high-priced condominium projects, the common areas were virtually equal in number to private areas, the ratio of common to private areas being 49:51. The common areas were large and included above-standard services, which were aimed to provide the residents with comfort. The private rooms were also large with high ceilings and were clearly divided into areas for different functions. The materials used inside private rooms were of higher quality, branded and costly. The private rooms are equipped with furniture and kitchen utensils. Thirdly, residents in both types of condominium expressed most satisfaction with the physical environments of the architectural design followed by physical interior environments and the landscaping, respectively. In both types of condominium project, residents were satisfied with the basic design concepts which emphasized efficiency of building use and esthetics. However, residents in the high-priced condominium project were more satisfied with such concepts than those in the medium-priced condominium project. Residents in the medium-priced condominium project were satisfied with the form of the buildings and the room plans which were appropriate for use with good-quality materials and furniture in the common areas. As for the high-priced condominium project, residents expressed satisfaction with common areas as well as the swimming pool, the ample ceiling height, and a garden layout for residents’ use. This study will be useful for entrepreneurs to apply the results to making decisions when developing projects and for architects to effectively design real estate catering to investors’ needs and accommodation. It also provides insights into physical interior design strategies adopted for developing a condominium business
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58364
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.181
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.181
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873554525.pdf14.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.