Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58450
Title: | กลยุทธ์การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 |
Other Titles: | STRATEGIES OF COOPERATIVE PROFESSIONAL DEVELOPMENT OF SECONDARY SCHOOLTEACHERS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1 |
Authors: | สิรดา สายเพ็ชร |
Advisors: | จุไรรัตน์ สุดรุ่ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยใช้แบบสอบถามกับครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 372 คน โรงเรียน 67 โรง และจากการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ขั้นตอนการวางแผนร่วมกันมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด สภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยขั้นตอนการวางแผนร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ค่าดัชนี PNImodified ของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวม (PNImodified = 0.35) เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ขั้นตอนการปฏิบัติการนิเทศ (PNImodified = 0.38) รองลงมาคือ การให้ข้อมูลย้อนกลับ (PNImodified = 0.37) และการวางแผนร่วมกัน (PNImodified = 0.35) จุดแข็ง 40 ข้อ จุดอ่อน 30 ข้อ โอกาส 13 ข้อ และภาวะคุกคาม 21 ข้อ กลยุทธ์การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 8 กลยุทธ์รอง และ 24 วิธีดำเนินการ ดังนี้ กลยุทธ์หลัก 1 ยกระดับการวางแผนการพัฒนาวิชาชีพ กลยุทธ์รอง 1.1) ส่งเสริมให้ครูร่วมกันวิเคราะห์ประเด็น 1.2) สนับสนุนให้ครูร่วมกันวางแผนพัฒนาตนเอง กลยุทธ์หลัก 2 เร่งพัฒนาให้ครูร่วมกันพัฒนาการปฏิบัติการนิเทศ กลยุทธ์รอง 2.1) สนับสนุนให้ครูร่วมกันเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติจริง 2.2) ส่งเสริมให้ครูร่วมกันรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์หลัก 3 ผลักดันให้ครูร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน กลยุทธ์รอง 3.1) เสริมสร้างให้ครูร่วมกันให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก 3.2) ส่งเสริมการสรุปผลการเรียนรู้ และกลยุทธ์หลัก 4 พัฒนาให้ครูสามารถพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน กลยุทธ์รอง 4.1) สนับสนุนให้ครูร่วมกันประมวลความรู้และประสบการณ์ 4.2) ส่งเสริมให้ครูร่วมกันกำหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพให้ประสบผลสำเร็จ |
Other Abstract: | The objectives of the research were 1) to study current and desirable state professional cooperative professional development of secondary school teachers under the secondary educational service area office 1; 2) to analyze the strengths, weaknesses, opportunities and threats of cooperative professional development of secondary school teachers under the secondary educational service area office; 3) to propose strategies of cooperative professional development of secondary school teachers under the secondary education service area office 1. The research instrument was questionnaires. The samples were 372 secondary school teachers in 67 schools under the secondary educational service area office 1. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, PNI modified technique and content analysis. The findings were: The overall of current states cooperative professional development of secondary school teachers under the secondary educational service area office 1 was at the moderate level. Considering to each fields of study were found that the planning stages are at the highest level, the overall of desirable state of cooperative professional development of secondary school teachers under the secondary educational service area office 1was at the highest level. The average of co-planning stage was at the high level. The overview of PNI modified index value of cooperative professional development of secondary school teachers under the secondary educational service area office 1 was 0.35. Sequencing by the emphasis point started from 1) the supervision procedure (PNImodified =0.38) 2) giving feedback (PNImodified=0.37) and 3) co-planning (PNImodified=0.35). 40 strengths, 30 weaknesses, 13 opportunities, and 21 threats Strategies of cooperative professional development of secondary school teachers under the secondary education service area office 1 consist of 4 main primary strategies, 8 secondary strategies and 24 procedures: the first main strategy is to develop secondary school teachers to plan professional development together. Subordinate strategies encourage teachers to 1.1) analyze the issues 1.2) make individual development plan together. The second main strategy is to encourages teachers to develop the supervision. Secondary Strategies encourage teachers to 2.1) prepare for the operation in advance. 2.2) cooperate on collecting data effectively. The third main strategy is to forces teachers to share their knowledge together. Secondary Strategies encourage teachers to 3.1) give positive feedback 3.2) summarize learning outcomes. The fourth main strategy is to reinforce teachers to develop an innovation altogether. Secondary strategies develop teachers to 4.1) combine knowledge and experiences. 4.2) define professional development model successfully. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58450 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.394 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.394 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5883881327.pdf | 6.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.