Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58544
Title: | การสร้างกลุ่มประชากรและคลังตัวอย่างชีวภาพในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทยเพื่อการวิจัยระบาดวิทยาโรคเรื้อรัง (ปีที่ 1) : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Establishment of cohort and biobank in Chulalongkorn University and The Thai Red Cross (CU-TRC Cohort & Biobank) for epidemiologic Research in Chronic diseases (Year 1) |
Authors: | วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ ประวิตร เจนวรรธนะกุล วาสินี วิเศษฤทธิ์ |
Email: | [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | ตัวอย่างทางชีวภาพ คลังตัวอย่างทางชีวภาพ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ระบาดวิทยา -- วิจัย โรคเรื้อรัง -- วิจัย |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา: ปัจจุบัน ข้อมูลการศึกษาวิจัยระยะยาวเกี่ยวกับโรคและปัญหาสุขภาพเรื้อรังในประเทศไทยและจำเพาะต่อประชากรไทยยังมีจำนวนจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อสร้าง “ห้องปฏิบัติการทางระบาดวิทยา” หรือ “Epidemiologic laboratory” ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสภากาชาดไทย สำหรับการศึกษาวิจัยระยะยาวเกี่ยวกับระบาดวิทยาโรคเรื้อรังที่สำคัญในประชากรไทย วิธีดำเนินการ: เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่ครอบคลุมประเด็นด้าน ข้อมูลประชากรศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพ การเจ็บป่วย การใช้ยา ประวัติโรคภูมิแพ้ Health literacy และประวัติอาการเจ็บปวดระบบกระดูกกล้ามเนื้อและรยางค์ รวมทั้งเก็บตัวอย่างเลือดและปั่นแยกเป็น Serum จำนวน 4 ตัวอย่าง และ Buffy coat จำนวน 1 ตัวอย่าง โดยการดำเนินการทั้งหมด ผ่านการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการพิจารณาฯ ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย และขอการยินยอมจากอาสาสมัครก่อนการเก็บข้อมูล ผลการดำเนินการ: กลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูลได้มีจำนวนทั้งสิ้น 4,939 คน (มีตัวอย่างเลือด 4,349 คน หรือ ร้อยละ 88.1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69-84) อายุเฉลี่ย 40 ถึง 41 ปี) ระดับภาวะสุขภาพส่วนใหญ่พอใช้และดี (ร้อยละ 50-51 และ 38-40 ตามลำดับ) ความชุกของประวัติโรคประจำตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 0.1 ถึง ร้อยละ 30 ปริมาณการใช้ยาเป็นประจำอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7-60.9 และมีประวัติอาการโรคภูมิแพ้ ร้อยละ 5.9-19.6 นับถึงปัจจุบันมีการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในประเด็นจำเพาะจำนวน 4 เรื่องเกี่ยวกับ (1) Metabolic syndrome (2) การรับรู้ภาวะสุขภาพตนเอง (3) ระดับของ serum alanine aminotransferase (ALT) และ serum aspartate aminotransferase (AST) ในคนปกติ และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับเปอร์เซ็นต์ไขมันกับปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีระดับดัชนีมวลกายปกติ สรุป: ประชากรการศึกษาระยะยาวนี้จะสามารถรองรับความต้องการด้านการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาที่หลากหลายกว้างขวางพอสมควร และเป็นประโยชน์ทั้งต่อการเรียนการสอนด้านการวิจัยของนิสิต แพทย์ประจำบ้าน และอาจารย์ของคณะและสถาบันการศึกษาด้านสุขภาพต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างไรก็ตาม อัตราการครอบคลุมของกลุ่มตัวอย่างในการระยะแรกของโครงการยังค่อนข้างต่ำ จึงควรมีการดำเนินการเก็บข้อมูลต่อไปในอนาคต เพื่อทำให้โครงการนี้สามารถรองรับการศึกษาวิจัยด้านสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น ต่อไป |
Other Abstract: | Background: Relatively few information is available in Thailand nowadays concerning longitudinal chronic diseases and health problems specifically for Thai population. Objective: To establish the “Epidemiological laboratory” in Chulalongkorn University and the Thai Red Cross for longitudinal epidemiological studies relating to major chronic diseases in Thai population. Methods: Data was collected by using standardize questionnaire and covered topics about personal demographics, health behaviors, illness history, medication taking history, allergic disease history, health literacy, and musculoskeletal symptom history. Blood specimen was also collected and prepared into 4 serum specimens and 1 buffy-coat specimen. The research was carried out with the approval from the Ethical Committee of the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, and the informed consents were obtained before collecting data from each participant. Results: Totally 4,939 participants were recruited (with 4,349 participants or 88.1% also provided blood sample). Majority of participants were female (69-84%), aged between 40-41 years), with good or moderate health perception (50-51 and 38-40 percent respectively). Prevalence of personal history was 0.1 to 30 percent while the prevalence of medication was 0.7-60.9 percent and prevalence of allergic diseases was 5.9-19.6 percent. Up until now, the data was utilized in the analysis of 4 specific topics including (1) Metabolic syndrome (2) Health perception (3) serum alanine aminotransferase (ALT) and serum aspartate aminotransferase (AST) levels in healthy adults, and (4) the relationship between body fat percent and prevalence of cardiovascular risk factors among adults with normal body mass index. Conclusion: This cohort has high potential to serve the need for epidemiological study in broad health topics. This is beneficial both for students and faculty members in the health-related faculties and institutions in Chulalongkorn University. However, the coverage of its initial cohort was quite low, further recruitment should therefore be implemented in the future. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58544 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wiroj Jia_b19345239.pdf | 8.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.