Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58645
Title: | การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้กระบวนการเอไอซี |
Other Titles: | Development of a community participatory model in using local wisdom for education management based on the sufficiency economy philosophy in basic education institutions: An application of the AIC process |
Authors: | ศศิวิมล จุลศิลป์ |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภูมิปัญญาชาวบ้าน การศึกษาชุมชน การศึกษา -- การมีส่วนร่วมของประชาชน เศรษฐกิจพอเพียง Community education Education -- Citizen participation Sustainable development Local wisdom |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการเอไอซี 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง และ 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกรณีศึกษาเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง อย่างละ 1 โรงเรียน รวม 2 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหาร ครูผู้สอน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง จำนวน 62 คน สำหรับให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ และตัวแทนโรงเรียน ตัวแทนชุมชน จำนวน 60 คน สำหรับประชุมเชิงปฏิบัติการตามกระบวนการเอไอซี และกลุ่มนักวิชาการ 2 คน กลุ่มผู้บริหาร 4 คน กลุ่มครู 4 คน กลุ่มศึกษานิเทศก์ 4 คน และตัวแทนจากชุมชน 8 คน รวม 22 คน สำหรับพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร สังเกต สัมภาษณ์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการตามกระบวนการเอไอซีและตรวจสอบรูปแบบโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนเหมือนกัน แต่วิธีดำเนินการในแต่ละขั้นตอนมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามบริบทของโรงเรียน องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและวิธีดำเนินการ องค์ประกอบที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จและแนวทางการนำรูปแบบไปใช้ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ การมีส่วนร่วมในการปรับแนวคิด การมีส่วนร่วมในการสร้างจิตอาสา การมีส่วนร่วมในการสำรวจภูมิปัญญา การมีส่วนร่วมในการหาแนวทางวางแผนงาน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมในการมุ่งมั่นติดตามประเมินผล การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างโรงเรียนที่อยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง พบว่า ทั้งสองกรณีศึกษามีลักษณะกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนคล้ายคลึงกัน โดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่สำคัญ 8 3) รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 โดยด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือ การมีส่วนร่วมในการสำรวจภูมิปัญญา รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากัน โดยมีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.36 และ 4.23 ตามลำดับ ด้านที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดคือ การมีส่วนร่วมในการสำรวจภูมิปัญญา รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมในการหาแนวทางวางแผนงาน ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยของความเป็นไปได้เท่ากับ 4.27, 4.18 และ 4.09 ตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to develope a community participatory model in using local wisdom for education management according to the sufficiency economy philosophy basic education institutions applied AIC process, 2) to compare a community participatory model in using local wisdom for education management according to the sufficiency economy philosophy among schools in the urban and rural area, and 3) to examine a community participatory model in using local wisdom for education management according to the sufficiency economy philosophy. The research methodology was qualitative research. The case study was basic education institutions in the urban and rural area 1 per school total 2 schools. The participants were administrator, teacher, local wisdom teacher, student, board of educational institute, community leader and guardian 62 persons to provide data interview and school representatives, community representatives 60 persons for seminar workshop according to AIC process. There were 22 participants consisting of group of academician of 2, group of administrator of 4, group of teacher of 4, group of education training of 4 and 8 representatives from community, to study appropriateness and possibility of a community participatory model. The procedure of data collection consisted of document, observe interview and workshop according to AIC process. The data were analyzed by content analysis, comparison, analytic induction, and descriptive statistics, ie, mean, and standard deviation. The research findings were as follows: 1) A community participatory model in using local wisdom for education management according to the sufficiency economy philosophy basic education institutions consisted of 3 components. First component was back ground and objective of the model. Second component was the process of community participation and procedure. The third component was the success conditions and direction to model using. And process community participatory 8 steps were adjustment concept, mental create volunteer, survey wisdom, planning, constructive action, evaluation, publishing, sharing benefits. 2) The result of comparing a community participatory model in using local wisdom for education management according to the sufficiency economy among schools in the urban and rural area it was found that they are similar and the same process of participatory of 8 steps but a little bit difference in each procedure in each step. 3) A community participatory model in using local wisdom for education management according to the sufficiency economy philosophy basic education institutions was highly appropriate to be used indicating by the average of 4.19 and it was highly possible to be practiced indicating by the average of 3.98. The most appropriateness were survey wisdom followed by constructive action publishing having the appropriate average of 4.36 and 4.23 respectively. The most possibility were survey wisdom, publishing and planning respectively with average possibility of 4.27, 4.18 and 4.09 respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58645 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.246 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.246 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sasiwimon Chunlasin.pdf | 4.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.