Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58774
Title: | ผลของการได้รับยาพาราเซตตามอลอย่างเรื้อรังที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง blood-brain barrier : การศึกษาในสัตว์ทดลองและในเซลล์เพาะเลี้ยง : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | ffect of chronic paracetamol treatment on the alteration of blood-brain barrier integrity : in vivo and in vitro studies |
Authors: | ศุภางค์ มณีศรี เลอกรองด์ ธนัญญา ทองตัน อนันต์ ศรีเกียรติขจร |
Email: | [email protected] [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Subjects: | อะเซตามิโนเฟน -- การใช้รักษา -- ผลข้างเคียง อะเซตามิโนเฟน -- ผลข้างเคียง สมอง -- หลอดเลือด -- ความผิดปกติ Acetaminophen -- Therapeutic use -- Side effects Acetaminophen -- Side effects Brain -- Blood-vessels -- Abnormalities |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยใช้เป็นยาลดไข้และบรรเทาอาการปวด ผลการวิจัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยืนยันว่ายาพาราเซตามอลมีฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์เมื่อใช้ยาในขนาดเพื่อการรักษา แต่อย่างไรก็ตามในช่วง 10 ปีมานี้เริ่มมีรายงานถึงผลเสียของการใช้ยาชนิดนี้แม้ว่าจะใช้ยาในขนาดเพื่อการรักษา ในหลายระบบ รวมถึงระบบไหลเวียนเลือด และในผลงานวิจัยของคณะเราก่อนหน้านี้พบว่า หนูที่ได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังร่วมกับการกระตุ้นให้เกิดปรากฎการณ์คอร์ติคัล สเปรดดิ้ง ดีเปรสชัน มีความไวของเซลล์ประสาทที่บริเวณผิวสมองต่อการกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดในหลอดเลือดสมองด้วย ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจจะสามารถนำไปสู่ความผิดปกติของการทำงานของหลอดเลือดสมองได้ ซึ่งยังไม่มีการศึกษาวิจัยมาก่อน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรัง ที่ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อการเปลี่ยนแปลงของ BBB integrity ในสมองหนูที่ได้รับและไม่ได้รับการกระตุ้นด้วยปรากฏการณ์คอร์ติคัล สเปรดดิ้ง ดีเปรสชัน รวมถึงผลของยาต่อการแสดงออกของสารสื่อประสาท calcitonin gene related peptide (CGRP) จากเซลล์ประสาทใน trigeminal ganglion ซี่งผลการวิจัยพบว่า หนูที่ได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังไม่มีความผิดปกติต่อระดับเอนไซม์ตับ แต่กลับพบว่าหนูกลุ่มดังกล่าวมีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองส่วน capillary โดยมีจำนวนของ microvilli และ pinocytic vesicles เพิ่มมากขึ้นกว่าหนูกลุ่มควบคุม และความผิดปกตินี้เพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นด้วยปรากฏการณ์คอร์ติคัล สเปรดดิ้ง ดีเปรสชัน ร่วมด้วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับการพบการบวมของ astrocytic foot plate นอกจากนี้ยังไบการแสดงออกของ cell adhesion molecules (ICAM-1 และ VCAM-1) เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มหนูที่ได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังร่วมกับการกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์คอร์ติคัล สเปรดดิ้ง ดีเปรสชัน ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดในหนูกลุ่มดังกล่าว และผลการศึกษาโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของ tight junction (ZO-1, ZO-2 และ occludin) ในหนูกลุ่มนี้ก็พบว่า มีการแสดงออกของโปรตีนกลุ่มนี้ ลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลของยาพาราเซตามอลยังทำให้เซลล์ประสาทใน trigeminal ganglion มีการแสดงออกของสารสื่อประสาท CGRP เพิ่มมากขึ้นด้วย จากผลการวิจัยนี้จึงสรุปได้ว่า การได้รับยาพาราเซตามอลอย่างต่อเนื่องนั้นส่งผลเสียต่อระบบสมดุลของหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มีการกระตุ้นด้วยปรากฏการณ์คอร์ติคัล สเปรดดิ้ง ดีเปรสชัน ร่วมด้วย |
Other Abstract: | Paracetamol (acetaminophen, APAP) is one of the most popular ‘over the counter’ drugs for the treatment of headaches and other pains. Accumulative evidences have confirmed that APAP at therapeutic doses has protective effects. However, in the last decade, adverse effects of APAP treatment have been revealed in several systems including the circulatory system. The previous study in the cortical spreading depression (CSD) animal headache model has demonstrated that chronic APAP treatment could induce the hyperexcitability of cortical neurons as well as the alteration of cerebra blood flow in brain indicating the disturbance of the cerebral circulation. However the effect of APAP treatment on the cerebral vessels has never been study. Thus, in this study we aimed to investigate the effect of chronic APAP treatment (200 mg/kg bw) on the alteration of cerebral microvessels in the condition with and without CSD activation. The expression of vasoactive neuropeptide, calcitonin gene related peptide (CGRP), in the trigerminal ganglion was also monitored. The results have clearly demonstrated that chronic APAP treatment could increasr the alterations of endothelial cells. The number of microvilli and pinocytic vesicles wer higjer in the rat with chronic APAP treatment then those observed from control. We also found that the degree of astrocytic foot plate swelling as well as the ultrastrutural changes of endothelial cells in the APAP treated group were significant higher with the combination of CSD activation. Further, chronic APAP treatment could induce a higher exression of intercellular adhesion molecule-1 (ICAM-1) and vascular adhesion molecule-1 (VCAM-1) in the cerebral cortex than those observed in the non-APAP treatment group. These results indicate the abnormalbility of cerebral microvessels in the rat with chronic treatment of APAP. The result also demonstrated that tight junction proteins (ZO-1, ZO-2, and occludin) were significantly decreased in chronic APAP treatment groups (both of conditions with and without CSD activation). In the trigeminal ganglion, the number of CGRP immunoreactive neurons were significantly increased in the chronic APAP treatment than those observed in the control group. These results might indicate that the chronic APAP treatment can alter the BBB integrity, especially with the combination of CSD activation. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58774 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supang Ma_b19739539.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.