Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59044
Title: | การเตรียมและการศึกษาสมบัติของของเกลือของไคโตซานกับสารกำจัดวัชพืชที่เป็นกรด : รายงานฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Preparation and property study of mixture of salts of chitosan and acidic herbicides |
Authors: | มงคล สุขวัฒนาสินิทธิ์ |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ไคโตแซน -- การควบคุมการปลดปล่อย วัชพืช ยากำจัดวัชพืช |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ได้ทำการเตรียมฟิล์มของของผสมที่มีอัตราส่วนต่าง ๆ ของไคโตซานต่อ 2,4-ไคคลอโรฟีนอกซีอะซิติกแอซิด (2,4-D) จากสารละลายของของผสมที่มีอัตราส่วนเดียวกัน เปอร์เซ็นต์การปลดปล่อยของ 2,4-D จากฟิล์มของผสมที่มีอัตราส่วนไคโตซานต่อ 2,4-D ต่าง ๆ ฟิล์มที่มีอัตราส่วนของ ไคโตซานต่อ 2,4-D สูงกว่าปลดปล่อย 2,4-D ได้ช้ากว่าฟิล์มที่มีอัตราส่วนไคโตซานต่อ 2,4-D ต่ำกว่า โดยฟิล์มที่เตรียมจากสารละลายที่มีอัตราส่วนของ ไคโตซานต่อ 2,4-D เป็น 20:1 สามารถควบคุมการปลดปล่อยได้นาน 7 วัน Scanning electron microscope (SEM) แสดงให้เห็นว่าฟิล์มที่มีอัตราส่วนของไคโตซานสูงกว่ามีปริมาณของ 2,4-D บนพื้นผิวน้อยกว่า ฟิล์มของผสมที่เตรียมได้ทั้งหมดสามารถยับยั้งการงอกของเมล็ดถั่วเขียว (Phaseolus aureus Roxb.) ได้ทั้งหมดภายในเวลา 5 วัน เช่นเดียวกับเมื่อใช้ 2,4-D บริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม ฟิล์มที่มีอัตราส่วนของไคโตซานต่อ 2,4-D เป็น 20:1 สามารถยับยั้งการงอกของต้นถั่วเขียวในวันที่ 3 และ 4 ได้ดีกว่าเมื่อใช้ 2,4-D บริสุทธิ์ ในการทดสอบการงอกโดยเทคนิคการเคลือบเมล็ดพบว่าเมล็ดถั่วเขียวที่เคลือบด้วยสารละลายผสมไคโตซานกับ 2,4-D งอกได้น้อยกว่าเมล็ดถั่วเขียวที่เคลือบด้วยสารละลายผสมไคโตซานกับ 2,4-D บริสุทธิ์ แสดงให้เห็นว่าไคโตซานมีส่วนช่วยให้ 2,4-D ยึดติดบนเมล็ดถั่วเขียวได้ดีขึ้น การศึกษาโดยวิธีการสกัดชี้ว่าไคโตซานควบคุมการปลดปล่อย 2,4-D โดยอาศัยแรงกระทำทางฟิสิกส์มากกว่าที่จะเป็นแรงกระทำทางเคมี |
Other Abstract: | Films of the mixture of various ratios of chitosan to 2,4-Dchlorophenoxyacetic acid (2,4-D) were prepared from solution of the corresponding mixture. Releasing percentages over time of 2,4-D in water from films having different mole ratios of the chitosan to 2,4-D were determined. The films with higher ratio of chitosan 2,4-D released 2,4-D slower than the films with lower ratio of chitosan 2,4-D. The film prepared from a solution of chitosan and 2,4-D with the ratio of 20:1 controlled the release of 2,4-D up to seven days. Scanning electron microscope (SEM) showed that the films with higher ratio of chitosan have less 2,4-D on their surface. All the prepated films totally inhibited the germination of mungbean seeds (Phaseolus aureus Roxb.) within 5 days similar to the results obtained from pure 2,4-D. With the mole ratio of chitosan to 2,4-D equal to 20:1, the film however gave significantly lower germination percentages on the third and forth dates. In the germination test using a seed coating technique, the mungbean seeds coated with solutions of the mixture of 2,4-D and chitosan showed lower germination than seeds coated with solutions of the pure 2,4-D solution. The extraction study suggested that chitosan controlled the release of 2,4-D by physical interaction rather than chemical interaction. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59044 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mongkol Su_Res_2544.pdf | 3.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.