Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59086
Title: | ผลของกิจกรรมพหุศาสตร์ที่บรรจุประสบการณ์สุนทรียะจาก นวัตกรรมสีเกล็ดมุก ต่อความตระหนักรู้ในสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน : Art Go Green |
Other Titles: | The effect of multi-disciplinary activity contained aesthetic experience from innovative pearl color to enhance student environment sustainability awareness : Art Go Green |
Authors: | ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ศิลปศึกษา -- การศึกษาและหลักสูตร ศิลปศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน เด็กกับสิ่งแวดล้อม สี |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมพหุศาสตร์ที่บรรจุประสบการณ์สุนทรียะจากนวัตกรรมสีเกล็ดมุก ต่อความตระหนักรู้ในสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน : Art Go Green มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากิจกรรมพหุศาสตร์ที่บรรจุประสบการณ์สุนทรียะจากการใช้นวัตกรรมสีเกล็ดมุก ต่อความตระหนักรู้ในสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 2) เปรียบเทียบความรู้และ ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนก่อนและหลังการทดลองกิจกรรม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในประสบการณ์สุนทรียะที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมสีเกล็ดมุก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 3 ระดับชั้นคือ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 27 คน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นตัวแทนเด็กในชุมชนเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ จำนวน 37 คน นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 23 คน การจัดกิจกรรมดังกล่าวแบ่งเป็น 4 ช่วงคือ ช่วงที่1 เรื่องสภาวะโลกร้อนกับชีวิตที่กำลังจะเปลี่ยนไป ช่วงที่ 2 เรื่องความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ช่วงที่ 3 กรณีขยะเปลือกหอยแมลงภู่ และ ช่วงที่ 4 บทสรุปสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและนิทรรศการศิลปะ โดยแผนการจัดกิจกรรมถูกออกแบบให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างแต่ละระดับ ได้แก่ เนื้อหา แบบทดสอบ และ ระยะเวลาการจัดกิจกรรมเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมพหุศาสตร์ที่บรรจุประสบการณ์สุนทรียะจากการใช้นวัตกรรมสีเกล็ดมุกต่อความตระหนักรู้ในสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและสภาวะโลกร้อน 2) แบบวัดทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและสภาวะโลกร้อน 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อประสบการณ์สุนทรียะที่มีต่อการใช้นวัตกรรมสีเกล็ดมุก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา คำร้อยละ คำเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที ที่ระดับนัยยะสำคัญทางสถิติ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this experimental research were to 1) develop a multi-disciplinary activity which contains aesthetic experience from innovative pearl plate color to enhance student environment sustainability awareness; 2) compare an achievement and attitude of the sample groups in environment sustainability (ES); and 3) study the participants satisfaction of the aesthetic experience toward the usage of innovative pearl plate color. The research samples were three groups of student. There were 27 upper elementary students from Chulalongkorn University demonstration schools; 37 lower secondary students from Phanthainorasing-witta school, Samutsakhon province who were in green muscle clam cultivation; 23 preservice teachers from Faculty of Education Chulalongkorn University. The activity consisted of 4 parts: Part I was the global warming and life changing, Part II was the knowledge of ES, Part III was a case study of green muscle clam shell, and Part IV was the conclusion and Art Exhibition. The activity was set for the different of each group, such as, the content detail, the ES test, and time duration. The research instruments consisted of (a) the multi-disciplinary activity plan, (b) the ES test, (c) the ES attitude form, and (d) the aesthetic experience satisfaction form. The obtained data were analyzed by percentage, mean (X), Standard Deviation (SD), and dependent-samples t (t-test) at .05 level of significance. The research findings were ; the process of the multi-disciplinary activity contain aesthetic experience from innovative pearl plate color consist of ; 1)ES knowledge, 2) directly experience, 3) a sample of case study, 4) art activity. The experimental group’s mean scores in ES knowledge, and attitude were higher than before the experiment at the .05 level of significance. After participated the multi-disciplinary activity contained aesthetic experience from innovative pearl plate color, the participants reported their satisfactions toward the activity at high level. The research suggested that to raise a value there should; 1) provides knowledge of the value, 2) recollect past experiences concern to the value, 3) manipulate art object into the activity, 4) synthesize the thought into art work. |
Description: | ผลงานวิจัยกิจกรรมการสอนนี้ได้รับรางวัล EIU Practice จากสำนักงาน APCEIR (Asia-Pacific Centre of Education for International Understanding) Under the auspices of UNESCO |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59086 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Poonarat Pi_RES_2014.pdf | 11.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.