Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5915
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริจาคเงินของพุทธศาสนิกชนวัดปากน้ำ ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Factors Influencing the donation of money by Buddhists of the Paknam Temple in Bangkok Metropolis |
Authors: | ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ |
Advisors: | งามพิศ สัตย์สงวน สัญญา สัญญาวิวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ศรัทธา (พุทธศาสนา) สังคมประกิต คติการหน้าที่ การทำบุญ ปัญญา ความเชื่อ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาปัจจัยต่างๆ เช่น เพศ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สื่อมวลชน ความเชื่อทางศาสนาและเหตุผลทางปัญญา ที่มีผลต่อการบริจาคเงินให้วัดของพุทธศาสนิกชน โดยศึกษาวัดปากน้ำ กรุงเทพมหานครเป็นกรณีศึกษา และใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ดังนี้คือ การขัดเกลาทางสังคม ศาสนา การทำบุญในพุทธศาสนา เหตุผลทางปัญญา และทฤษฎีการหน้าที่นิยม ส่วนระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลนั้น เป็นการวิจัยสนามทางมานุษยวิทยา (Anthropological Fieldwork) หรือการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) และใช้เทคนิควิจัยทางมานุษยวิทยาหลายรูปแบบ เช่น การสำรวจลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชน การเก็บประวัติชุมชน การสำรวจประชากร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข่าวสำคัญ การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสังเกตทั่วไป และการจดบันทึกสนาม (Field Notes) ส่วนเทคนิควิจัยหลักที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกพุทธศาสนิกชนของวัดปากน้ำจำนวน 20 คน ลักษณะสำคัญของประชากรเหล่านี้คือ ผู้ที่มาบริจาคเงินให้วัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541-2545 ทั้งหมดเป็นผู้ที่มีศรัทธาในวัดปากน้ำเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้ศรัทธาในอดีตเจ้าอาวาสคือ หลวงพ่อวัดปากน้ำหรือหลวงพ่อสดซึ่งได้พัฒนาวัดปากน้ำ จากสภาพกึ่งวัดร้างที่มีสภาพทรุดโทรม จนกลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยการพัฒนาทั้งคนและวัดตลอดจนเผยแพร่วิชาธรรมกายจนมีชื่อเสียง แม้หลวงพ่อสดจะได้มรณภาพไปแล้ว แต่ชื่อเสียงของวัดปากน้ำยังมีอยู่ต่อไป ทำให้พุทธศาสนิกชนเข้ามาวัดนี้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้บริจาคเงินให้วัดปากน้ำเป็นจำนวนมากอีกด้วย ผลวิจัยพบว่า สมมติฐานที่ได้รับการยอมรับคือ พุทธศาสนิกชนเพศหญิงบริจาคเงินให้วัดปากน้ำมากกว่าพุทธศาสนิกชนเพศชาย ความเชื่อทางศาสนาและเหตุผลทางปัญญา มีอิทธิพลทำให้พุทธศาสนิกชนบริจาคเงินให้วัดปากน้ำ นอกจากนี้ ผลวิจัยยังพบอีกว่า วัดปากน้ำได้นำเงินที่พุทธศาสนิกชนบริจาคไปใช้อย่างมีคุณค่า โดยมีคณะกรรมการคอยติดตามและประเมินผล เพื่อเป็นหลักประกันว่าเงินบริจาคเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง เพื่อทำให้สังคมและพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าสืบต่อไป |
Other Abstract: | To carry out a case study in Paknam temple on various factors influencing the money donation by Buddhists such as sex, families peers, mass media, religious beliefs, and intelligent reasons. Concepts as well as theories applied in this study were comprised of socialization, religion, charity in Buddhism, intelligence ,and functionalism theory. Anthropological fieldwork or participant observation was used in data collection by application of various techniques of anthropological research such as ecological mapping, collecting data on live history, population survey, keyinformant interview, informal interview, general observation, and field notes. The main technique of research used in data collection for the proof of the hypotheses was the in-depth interviews of 20 Buddhists in Paknam temple, whose main characteristic was that they were regular donors of this temple during 1998-2002 out of their faith in Reverend Sod, the late abbot of Paknam temple, who devoted himself to the development of the temple, turning it from a ruined abandoned temple into a famous one in Thailand. The development involved not only in human and building improvement but also in the promulgation of Dhammakaya Buddhist sect. Even though Reverend Sod passed away, but the temple is still well known to everyone. Hence the more Buddhists came to the temple, and consequently the more money donated. The research findings were as follows : Female Buddhists made more donation than the male ones. Religious beliefs and intelligent reasons were influencing factors for donation. Moreover, because of supervising committees, the donated money was properly used, bringing the sustainable development of Thai society and Buddhism as well |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5915 |
ISBN: | 9741714998 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thuntuch.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.