Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59220
Title: | การผลิตไซแลเนสจาก Aureobasidium pullulans สายพันธุ์เขตร้อนและการประยุกต์ในการผลิตเอทานอลชีวภาพ |
Other Titles: | Production of xylanase from a tropical isolate of Aureobasidium pullulans and its application in bioethanol production |
Authors: | สรัสวดี โรจนกุศล |
Advisors: | พงศ์ธาริน โล่ห์ตระกูล สีหนาท ประสงค์สุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ไซแลเนส เอทานอลชีวภาพ Xylanase Bioethanol Aureobasidium pullulans |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากตัวอย่างใบพืชชนิดต่างๆ ที่เก็บในพื้นที่ 4 จังหวัด ของประเทศไทย สามารถแยก Aureobasidium pullulans (de Bary) ได้ 20 ไอโซเลต เมื่อทดสอบความสามารถในการสร้างเอนไซม์ ไซแลเนสบนอาหารเลี้ยงเชื้อกึ่งแข็ง Yeast Malt Xylan Agar พบว่า A. pullulans ทุกไอโซเลตสามารถสร้างไซแลเนสได้ เมื่อวัดแอกติวิตีเชิงปริมาณ พบว่าใน 20 ไอโซเลต A. pullulans No.109B มีไซแลเนสแอกติวิตีสูงที่สุด และเอนไซม์ที่ผลิตได้ค่อนข้างเสถียรที่อุณหภูมิสูง โดยมีแอกติวิตีเหลืออยู่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่าหลังจากบ่มที่ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง A. pullulans No.109B ผลิตไซแลเนสได้มากที่สุดในช่วง early log phase โดยมีแอกติวิตี 439.98±9.66 มิลลิยูนิตต่อมิลลิลิตร สำหรับภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไซแลเนส พบว่า A. pullulans ไอโซเลต No.109B สามารถผลิตไซแลเนสได้มากที่สุด เมื่อเลี้ยงเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ในอาหารสูตร Xylanase Production Medium ที่มีซังข้าวโพด 1 เปอร์เซ็นต์ (w/v) แอล-แอสพาราจีนโมโนไฮเดรต 2 เปอร์เซ็นต์ (w/v) และค่าความเป็นกรดด่างเริ่มต้นของอาหารเป็น 6.0 โดยให้ค่าแอกติวิตีไซแลเนส สูงสุด 559.75±25.03 มิลลิยูนิตต่อมิลลิลิตร จากการศึกษาลักษณะสมบัติของเอนไซม์หยาบ พบว่า ไซแลเนสมีการทำงานและความเสถียรดีที่สุดที่ความเป็นกรดด่าง 7.0 และ 5.0 ตามลำดับ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงานคือ 30-60 องศาเซลเซียส และค่อนข้างเสถียรที่อุณหภูมิห้อง หรือไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส ในการผลิตเอทานอลจากวัชพืช 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าแฝก และหญ้าคา ด้วยกระบวนการหมักแบบต่อเนื่องโดยใช้ไซแลเนสจาก A. pullulans No.109B 66.47 มิลลิยูนิต ร่วมกับ Pachysolen tannophilus NRRL-Y2460 เขย่าที่ 150 รอบต่อนาที อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน พบว่าผลการหมักหญ้าแฝกและหญ้าคาที่ผ่านการย่อยเฮมิเซลลูโลสด้วยไซแลเนส ให้ผลผลิตเอทานอล 7.74 และ 7.63 เปอร์เซ็นต์ (v/v) ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับการหมักหญ้าแฝกและหญ้าคาที่ย่อยด้วยกรดซัลฟูริกที่มีความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ (v/v) ที่ให้ผลผลิตเอทานอล 8.71 และ 8.50 เปอร์เซ็นต์ (v/v) ตามลำดับ |
Other Abstract: | From a variety of foliar samples collected in 4 provinces in Thailand, 20 isolates of Aureobasidium pullulans (de Bary) were obtained. Ability to produce xylanase of these yeast isolates was tested using Yeast Malt Xylan Agar. All isolates were positive for xylanase production. When quantitatively assayed for xylanase activity, A. pullulans No. 109B showed the highest xylanase activity among these isolates. The enzyme produced by this yeast isolate was relatively stable at high temperature with approximately 60 percent or higher activity remained after incubation at 60°C for one hour. A. pullulans 109B produced xylanase during early log phase of growth with the highest activity at 439.98±9.66 mU ml-1. For optimal condition of xylanase production, A. pullulans 109B gave the best xylanase yield (559.75±25.03 mU ml-1) when grown in Xylanase Production Medium containing 1 percent (w/v) corn cob and 2 percent (w/v) L-asparagine monohydrate with initial pH at 6.0. Crude xylanase was subjected for enzyme characterization. The pH optimum and stability of the enzyme were at 5.0 and 7.0, respectively, whereas its temperature optimum and stability were at 30-60°C and room temperature (not higher than 28°C), respectively. In bioethanol production from 2 weed species, vetiver grass and cogongrass, by simultaneous saccharification and fermentation, xylanase from A. pullulans 109B together with Pachysolen tannophilus NRRL-Y2460 were used. The fermentation flasks were shaken at 150 rpm and incubated at 30°C for 7 days. Ethanol yields at 7.74 and 7.63 percent (v/v) were obtained from vetiver grass and cogongrass, respectively. These ethanol yields were comparable to those obtained from fermentation of vetiver grass and cogongrass digested by 0.5 percent (v/v) sulfuric acid (8.71 and 8.50 percent (v/v), respectively). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59220 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2153 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.2153 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saratsawadee Rotjanagusol.pdf | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.