Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59223
Title: การใช้ประโยชน์และประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับทวิตเตอร์ในประเทศไทย
Other Titles: Uses and social issues related to twitter in Thailand
Authors: สุขุมาลย์ คิดรอบ
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เครือข่ายสังคมออนไลน์
การรู้เท่าทันสื่อ
ความตระหนัก
Online social networks
Media literacy
Awareness
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาว่า พฤติกรรมและทักษะการใช้ทวิตเตอร์ของประชาชนในประเทศไทย ปัจจัยต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีและสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมและทักษะการใช้ทวิตเตอร์ และความตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมด้านจริยธรรมทั่วไป ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความเป็นส่วนตัว และด้านเสรีภาพในการแสดงออกอย่างไร รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและทักษะการใช้ทวิตเตอร์ กับความตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมของสื่อใหม่ทั้ง 3 ด้านด้วย โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 358 ชุด และวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการจำนวน 12 คนประเทศไทย ปัจจัยต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีและสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมและทักษะการใช้ทวิตเตอร์ และความตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมด้านจริยธรรมทั่วไป ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความเป็นส่วนตัวและด้านเสรีภาพในการแสดงออกอย่างไร รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและ ทักษะการใช้ทวิตเตอร์กับความตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมของสื่อใหม่ทั้ง 3 ด้านด้วย โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 358 ชุด และวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการจำนวน 12 คน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้ทวิตเตอร์มีความตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมในด้านจริยธรรมทั่วไป ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสูง ในขณะที่ด้านความเป็นส่วนตัวและด้านเสรีภาพในการแสดงออกอยู่ในระดับปานกลาง เพศส่งผลต่อพฤติกรรมด้านการเลือกใช้หรือไม่ใช้ทวิตเตอร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพศชายมีสัดส่วนของการใช้ทวิตเตอร์ในปจั จุบันมากกว่าเพศหญิง ในขณะที่เพศหญิงมีสัดส่วนของการเคยใช้ทวิตเตอร์ แต่เลิกใช้แล้ว และไม่เคยใช้ทวิตเตอร์เลยมากกว่าเพศชาย จังหวัด ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อทักษะการใช้ทวิตเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีทักษะการใช้ทวิตเตอร์มากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่นๆ และผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระดับตํ่าและระดับสูง จะมีทักษะการใช้ทวิตเตอร์สูงกว่าผู้มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับปานกลาง อีกทั้งระดับความรู้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์กับทักษะการใช้ทวิตเตอร์ ในทิศทางผันแปรตามกัน แต่มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ เพศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมของสื่อใหม่ ในด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ทวิตเตอร์แตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีความตระหนักรู้มากกว่าเพศชาย นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและทักษะการใช้ทวิตเตอร์ กับความตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมของสื่อใหม่ พบว่า ทักษะการใช้ทวิตเตอร์มี ความสัมพันธ์กับความตระหนักรู้ในประเด็นทางสังคมของสื่อใหม่ ในด้านจริยธรรมทั่วไปในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและด้านเสรีภาพในการแสดงออก ในทิศทางผันแปรตามกัน แต่มีความสัมพันธ์ในระดับตํ่า
Other Abstract: To study behavior and skills in Twitter use, social and technological factors influencing Twitter use behavior and skills, as well as awareness on social and ethical issues affecting Twitter use. Three areas of social and ethics issues are studied – general ICTs ethics, privacy, and freedom of expression. Relationship between these factors is also studied. Questionnaire-based survey and key informant interview are used as data collection. A total of 358 questionnaires were distributed and 12 informants interviewed. This research has the following objectives: to study behavior and skills in Twitter use, social and technological factors influencing Twitter use behavior and skills, as well as awareness on social and ethical issues affecting Twitter use. Three areas of social and ethics issues are studied – general ICTs ethics, privacy, and freedom of expression. Relationship between these factors is also studied. Questionnaire-based survey and key informant interview are used as data collection. A total of 358 questionnaires were distributed and 12 informants interviewed. This research has the following objectives: to study behavior and skills in Twitter use, social and technological factors influencing Twitter use behavior and skills, as well as awareness on social and ethical issues affecting Twitter use. Three areas of social and ethics issues are studied – general ICTs ethics, privacy, and freedom of expression. Relationship between these factors is also studied. Questionnaire-based survey and key informant interview are used as data collection. A total of 358 questionnaires were distributed and 12 informants interviewed.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59223
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.650
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.650
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukhumarn Kidrod.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.