Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59343
Title: | การปรับปรุงระบบการบริหารคุณภาพด้วยการบริหารความเสี่ยงสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเลเซอร์พรื้นเตอร์ |
Other Titles: | Improvement of quality management system with risk management for laser printer industry |
Authors: | ฐปน เกษมพรมณี |
Advisors: | ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ไอเอสโอ 9001 การบริหารความเสี่ยง อุตสาหกรรมเครื่องพิมพ์เลเซอร์ -- การบริหารความเสี่ยง Risk management Laser printers industry -- Risk management ISO 9001 Standard |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารคุณภาพตามข้อกำหนด ISO 9001:2008 ด้วยการบริหารความเสี่ยงสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเลเซอร์พริ้นเตอร์โดยใช้กรอบการบริหารความเสี่ยงตาม ISO 31000 และการประยุกต์ใช้เทคนิควิเคราะห์แขนงความบกพร่องหาสาเหตุของความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงเริ่มจากการวิเคราะห์การดำเนินการบริหารคุณภาพของบริษัทกรณีศึกษาและการศึกษาดัชนีวัดผลการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงาน จากนั้นจึงระบุความเสี่ยงของฝ่ายงานต่างๆ โดยการสัมภาษณ์พนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั้นโดยแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 5 ประเภทได้แก่ 1.ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ 2. ความเสี่ยงด้านการเงิน 3. ความเสี่ยงด้านการดาเนินงาน 4.ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย 5. ความเสี่ยงด้านคุณภาพ ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 605 ความเสี่ยงและนาความเสี่ยงนั้นมา จัดกลุ่มความเสี่ยงให้เหลือความเสี่ยงหลักที่สาคัญซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 135 ความเสี่ยงจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเพื่อหาความเสี่ยงที่มีระดับสูง มาวางแผนบรรเทาความเสี่ยง ซึ่งมีความเสี่ยงระดับสูงอยู่ทั้งหมด 34 ความเสี่ยงโดยนำความเสี่ยงระดับสูงที่มีระดับคะแนนผลกระทบของความเสี่ยงสูงสุดมาวางแผนบรรเทาความเสี่ยงก่อน และหลังจากการการบรรเทาความเสี่ยงแล้วพบว่ายังมีความเสี่ยงระดับสูงเหลืออยู่จึงได้ปรับปรุงแผนการบรรเทาความเสี่ยง และสามารถลดความเสี่ยงระดับสูงลดลงจากจาก 34 ความเสี่ยงเหลือ 20 ความเสี่ยงและหลังจากการนำการบริหารความเสี่ยงเข้ามาประยุกต์ใช้แล้วนั้นสามารถลดการปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับข้อกาหนดของ ISO 9001:2008 ลงได้โดยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2553 พบการทางานที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด มีอยู่ 52 เรื่องและหลังจากที่มีการประยุกต์ใช้การบริหารความเสี่ยงแล้วนั้นสามารถลดลงเหลือ 23 เรื่องในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 |
Other Abstract: | The purpose of this study is to improve Quality management by ISO 9001:2008 requirement to Risk Management in Laser Printer Industry which manage under concept of ISO31000 Risk Management and adapt with Fault Tree Analysis (FTA) analytical technique. Risk management starts from the study of case study Company’s quality management performance and Key Performance Indicator (KPI) of each department. The next step is the interview of response person to indicate Risk in their job in which divided into 5 categories (1) Strategic Risk (2) Financial Risk (3) Operational Risk (4) Hazardous Risk (5) Quality Risk. The Risk indication result is concluded to 605 items which is categorized to 135 risks is Key Risk Indicator and 34 High Risks. The risk treatment is arranged by order of consequence and is treated again if first treatment is not effected. The result of this experiment found that high risk is reduces from 34 to 20 risks by which response person of risk treatment is indicated. After treatment High Risks are decreased from 34 to 20. At the same period, the non-conformity to ISO 9001:2008 requirements is also decreased from 52 items in May,2010 to 23 items in August, 2010. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59343 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.179 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.179 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thapana Kasempornmanee.pdf | 3.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.