Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59385
Title: | การกำกับดูแลและความรับผิดของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ |
Other Titles: | Supervision and liability of credit rating agency |
Authors: | ปาลิดา รัตนาวิบูลย์ |
Advisors: | ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความรับผิดทางแพ่ง บริษัท -- ความเชื่อถือได้ บริษัท -- การจัดอันดับ การลงทุน -- การประเมินความเสี่ยง Corporations -- Reliability Corporations -- Ratings and rankings Corporations -- Reliability Investments -- Risk assessment |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบัน บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในตลาดการเงิน โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารหนี้ต่างๆที่มีอยู่ในตลาดการเงิน และประกาศอันดับความน่าเชื่อถือให้แก่ประชาชนทั่วไปทราบเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุน และนักลงทุนในตลาดการเงินมีความเชื่อถือในอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการประเมินโดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก เนื่องจากตราสารหนี้ในตลาดการเงินมีความหลากหลาย นักลงทุนอาจจะขาดความรู้และความสามารถที่จะวิเคราะห์ความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารดังกล่าวได้ด้วยตนเอง ดังนี้ หากการประเมินความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือผิดพลาดผู้ที่ได้รับความเสียหายก็คือนักลงทุนในตลาดการเงินที่เชื่อในอันดับความน่าเชื่อถือที่ผิดพลาดดังกล่าวนั้นจากการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศไทย พบว่ากฎหมายไทยในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือและการคุ้มครองนักลงทุนในตลาดการเงิน กล่าวคือ 1) กฎเกณฑ์ที่ใช้ในการกำกับดูแลบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ออกโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังขาดการกำกับดูแลในเรื่องที่สำคัญ เช่น การจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนและการกำหนดห้ามการกระทำการบางอย่างของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือเพื่อให้อันดับความน่าเชื่อถือมีความโปร่งใสและถูกต้องตรงกับความเป็นจริง และ 2) กฎหมายลักษณะละเมิดไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองผู้ลงทุนที่ได้รับความเสียหายจากกรณีที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินความน่าเชื่อถือผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหาย เนื่องจาก การฟ้องร้องให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรับผิดและเยียวยาความเสียหายที่นักลงทุนได้รับจากการประเมินอันดับความน่าเชื่อถือที่ผิดพลาดตามกฎหมายลักษณะละเมิด นักลงทุนจะต้องเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อให้ศาลเชื่อในว่าบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินอันดับความน่าเชื่อถือผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหายและต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่ตนเองได้รับอีกด้วย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้เพิ่มเติมการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และกำหนดความรับผิดของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรวมถึงมาตรการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการประเมินอันดับความน่าเชื่อถือที่ผิดพลาด โดย 1) กำหนดกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการกำกับดูแลบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือเพิ่มเติม 2) กำหนดความรับผิดของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้เป็นการเฉพาะในลักษณะของความรับผิดเด็ดขาด เพื่อเป็นการผลักภาระการพิสูจน์ความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของนักลงทุนไปยังบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และ 3) กำหนดมาตรการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อนักลงทุนอย่างชัดเจน |
Other Abstract: | At the present, Credit Rating Agency (“CRA”) carries out an important role in the Financial Market by assessing the risk of debt securities and declaring the result of the risk assessment to the investors and then the investors will use the result of such risk assessment as supporting information for their investment. Moreover, the investors relies on the debt securities’ rating rated by CRA due to nowadays there are so many types of debt securities and the investors do not have knowledge and capability enough to assess the risk by themselves. Provided that the rating rated by CRA is a fault rating, the investors will suffer from damages incurred by such fault rating and such damages may effect the economics of the country as well. This research by comparison between the law of United State of America, Australia, Singapore and Thailand revealed that the existing laws and regulations are not suitable enough to regulate the operation of CRA’s business and to protect the investors in the Financial Market due to 1) regulations issued by the Securities and Exchange Commission are not enough to regulate the operation of CRA because lack of the material regulation, i.e. conflict of interest and prohibited actions of CRA, in order to ensure that all rating are transparent and accurate; and 2) Tort law in the Civil and Commercial Code is not enough to protect the investors suffering from a false rating asserted by CRA because the burden of proof in respect of intention or negligence of CRA and the damages arising from the false rating are on the investors. The recommendations are that the operation of CRA should be more regulated and the liability of CRA and remedy of the investors suffering from the damage incurred by the fault rating rated by CRA should be specified in the laws. Therefore, 1) more regulations to supervise the operation of CRA, 2) the laws which specifies the liability of CRA as a strict liability in order to transfer the burden of proof from the investors to CRA and 3) measure clearly specifies the remedy of the investors should be drafted and enacted. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59385 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.108 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.108 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Palida Rattanawiboon.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.