Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5941
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ | - |
dc.contributor.author | น้องนุช มณีอินทร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | เชียงใหม่ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-22T03:36:29Z | - |
dc.date.available | 2008-02-22T03:36:29Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743470727 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5941 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบโครงสร้างของชื่อหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2523, 2533 และ 2541 รวมทั้งลักษณะทางวัฒนธรรมที่สะท้อนจากชื่อหมู่บ้าน การปรับเปลี่ยนด้านภาษาในลักษณะต่างๆ และปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนของชื่อหมู่บ้าน สมมติฐานของงานวิจัยนี้มี 4 ประการได้แก่ (1) โครงสร้างของชื่อหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่มีรูปแบบที่หลากหลายซึ่งสะท้อนให้เห็นลักษณะเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ (2) รูปแบบของชื่อหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2523 แสดงลักษณะเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่าในปี พ.ศ. 2533 และ 2541 (3) ชื่อหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่มีการปรับเปลี่ยนด้านโครงสร้างมากกว่าการปรับเปลี่ยนด้านอื่นๆ (4) การปรับเปลี่ยนของชื่อหมู่บ้านเกิดจากปัจจัย 3 ประการได้แก่ ปัจจัยด้านภาษา ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านการเมือง ผลการวิเคราะห์พบว่าโครงสร้างของชื่อหมู่บ้านมี 3 รูปแบบใหญ่ๆ เรียงลำดับจากการปรากฏมากที่สุดไปหาการปรากฏน้อยที่สุดคือ (1) ภูมิประเทศ+ (ลักษณะเฉพาะ)+ (คุณสมบัติ) เช่น ดง, สันมะนาว, ดอยน้อย, ป่าสักน้อย (2) ชื่อเฉพาะ เช่น กาวิละ (3) ชุมชน+ (ชื่อชุมชน) เช่น กาด, นิคมท่าโป่ง เป็นต้น ส่วนการศึกษาลักษณะทางวัฒนธรรมที่สะท้อนจากชื่อหมู่บ้าน ผู้วิจัยวิเคราะห์จากความหมายขององค์ประกอบที่ปรากฏอยู่ในโครงสร้างทั้ง 3 แบบ โดยที่องค์ประกอบต่างๆ ต้องมีความถี่ในการปรากฏสูงจึงจะถือว่าสะท้อนลักษณะทางวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน ผลปรากฏว่าชื่อหมู่บ้านสะท้อนลักษณะทางวัฒนธรรมดังนี้ (1) การตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำ (2) ความสำคัญของพื้นที่ป่าต่อวิถีชีวิตของคนเชียงใหม่ (3) ลักษณะภูมิประเทศแบบพื้นที่สูง (4) ความหลากหลายของพืชพรรณ (5) การบ่งบอกทิศทาง ตำแหน่งหรือแสดงลักษณะเด่นของหมู่บ้าน (6) ความสำคัญของวัดและศาสนา (7) ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ (8) การเปลี่ยนแปลงของลักษณะชุมชน ในด้านการปรับเปลี่ยนของชื่อหมู่บ้าน ผู้วิจัยนำชื่อหมู่บ้านทีละชื่อใน 3 ช่วงเวลามาเปรียบเทียบกันและจำแนกการปรับเปลี่ยนออกเป็นลักษณะต่างๆ ผลปรากฏว่าพบลักษณะการปรับเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านแบบต่างๆ ซึ่งการปรับเปลี่ยนโดยการแทนที่ด้วยชื่ออื่นมีความถี่ในการปรากฏสูงจึงนำมาวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนด้านภาษาของชื่อหมู่บ้านซึ่งพบลักษณะการปรับเปลี่ยน 3 ลักษณะ เรียงลำดับจากการปรากฏมากที่สุดไปหาการปรากฏน้อยที่สุดคือ (1) การปรับเปลี่ยนด้านศัพท์ เช่น กาดขี้เหล็ก > ตลาดขี้เหล็ก (2) การปรับเปลี่ยนด้านตัวสะกด เช่น ป่าฮวก > ป่ารวก (3) การปรับเปลี่ยนด้านโครงสร้าง เช่น หนองหอย > หนองหอยใหม่ เป็นต้น เกี่ยวกับปัจจัยของการปรับเปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน ผลการวิจัยปรากฏว่าปัจจัยของการปรับเปลี่ยนมีทั้งหมด 4 ปัจจัยคือ (1) ปัจจัยด้านภาษา (2) ปัจจัยด้านภูมิประเทศ (3) ปัจจัยด้านสังคม (4) ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง | en |
dc.description.abstractalternative | Based on the data of village names in Chiang Mai Province surveyed in 1980, 1990 and 1998, this study aims to analyze the structure of village names in Chiang Mai Province, characteristics of culture reflected by the names, the modification of the names, and the factors related to it. The hypotheses of this study are: (1) the structural patterns of the village names in Chiang Mai Province are diverse and normally reflect outstanding features of ethnic groups; (2) the patterns in the data of 1980 reflect more features of ethnic groups than in those of 190 and 1998; (3) the village names reveal the structural modification more than other types of modification; (4) the modification of village names are caused by three factors; linguistic, social and political factors. The result of the analysis shows that there are three structural patterns which are ordered from the one with the highest frequency of occurrence to the lowest; (1) geographical words + (specification) + (location/ description) (2) proper name (3) community words + (community specific names). As for the analysis of culture reflected by village names, eight characteristics of Chiang Mai culture are found: the settlement by rivers, dwelling near woodland, living in a highland area, the diversity of plants, the specification of direction or location of villages, the importance of temples and religion, the variety of ethnic groups and the development of communities. In addition, the analysis of linguistic modification of village names reveals that they have been modified in the ways ordered from the one with the highest frequency of occurrence to the lowest: lexical (e.g. ka:t[superscript 3] khi:[superscript 5] lek[superscript 2] > tala:t[superscript 2]), orthographic (e.g. pa:[superscript 3] huak[superscript 4] > pa:[superscript 2] ruak[superscript 2]), and structural modification. As for the factors causing their modification, the data collected from interviewing residents and district officers in Chiang Mai province demonstrate four factors: linguistic, geographical, social, and political factors. | en |
dc.format.extent | 12657854 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.198 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หมู่บ้าน -- ไทย -- เชียงใหม่ | en |
dc.subject | การตั้งชื่อ | en |
dc.title | การปรับเปลี่ยนของชื่อหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ | en |
dc.title.alternative | Modification of village names Chiang Mai province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.198 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nongnuch.pdf | 12.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.