Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59439
Title: | The joint effects of management incentives and perceived locus of causality on management earnings forecast disclosures |
Other Titles: | ผลกระทบร่วมระหว่างแรงจูงใจของผู้บริหารและสาเหตุที่รับรู้ที่มีต่อการเปิดเผยข้อมูลประมาณการกำไรจากฝ่ายบริหาร |
Authors: | Kanjana Phonsumlissakul |
Advisors: | Juthathip Audsabumrungrat |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Commerce and Accountancy |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | Disclosure in accounting Corporate profits การเปิดเผยข้อมูลทางการบัญชี กำไรของบริษัท |
Issue Date: | 2017 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | This study investigates the effect of management incentives (directive and transparency) and locus of causality (internal and external) on the willingness of managers to disclose management earnings forecast reports and the accuracy of management’s earnings forecast information. The experimental findings show that managers with directive incentives are less likely to disclose the earnings forecast and provide less accurate information to market participants than managers with transparency incentives, for both point and range forecast forms. In addition, locus of causality contributes to the accuracy of management earnings forecast information when the forecasts suggest underperformance, but the findings reveal no significant differences in the willingness of management to issue earnings forecasts. Managers tend to provide more accurate earnings forecasts in the range form when the poor performance is internal rather than external. There are fewer clear causal effects on the accuracy of point earnings forecasts. When focusing on the joint effects of management incentives and locus of causality, these factors influence the willingness of management to issue earnings forecast and to provide accurate earnings forecast. The willingness of directive managers to issue earnings forecasts is impacted more by internal and external factors than it is for transparency managers. The results show that when performance is affected by external business factors, directive managers’ point earnings forecasts are less accurate. However, there is no joint effect of management incentives and locus of causality on the accuracy of earnings forecasts in range form. The implications of these findings are for regulators related to the voluntary disclosure of management’s earnings forecasts. Particularly, the consideration of an earnings forecast’s form enhances the accuracy of the forecast. |
Other Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของแรงจูงใจของผู้บริหาร (ผู้บริหารที่คำนึงถึงความคาดหวังของตลาด และผู้บริหารที่คำนึงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงาน และสาเหตุที่รับรู้ (ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก) ที่มีต่อความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลประมาณการกำไรจากฝ่ายบริหารและความถูกต้องของข้อมูลประมาณการกำไรจากฝ่ายบริหาร ผลการวิจัยเชิงทดลองพบว่า กลุ่มผู้บริหารที่คำนึงถึงความคาดหวังของตลาดจะเต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลประมาณกำไรสู่สาธารณชนในระดับต่ำกว่า อีกทั้งข้อมูลประมาณการกำไรในรูปแบบตัวเลข (point) และรูปแบบช่วงตัวเลข (range) ยังมีความถูกต้องในระดับต่ำกว่ากลุ่มผู้บริหารที่คำนึงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงาน นอกจากนี้ สาเหตุที่ทำให้ประมาณการกำไรต่ำกว่าเป้าหมายที่ผู้บริหารรับรู้มาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มีผลกระทบต่อความถูกต้องของการเปิดเผยข้อมูลประมาณการกำไรจากฝ่ายบริหารในระดับที่แตกต่างกัน แต่งานวิจัยนี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลประมาณการกำไรจากฝ่ายบริหารระหว่างกลุ่มผู้บริหารที่รับรู้สาเหตุมาจากปัจจัยภายในและกลุ่มผู้บริหารที่รับรู้สาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้บริหารที่รับรู้สาเหตุของประมาณการกำไรต่ำกว่าเป้าหมายมาจากปัจจัยภายใน มีแนวโน้มจะเปิดเผยข้อมูลประมาณการกำไรในรูปแบบช่วงตัวเลข (range) ในระดับที่ถูกต้องมากกว่ากลุ่มผู้บริหารที่รับรู้สาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก แต่สาเหตุที่ผู้บริหารรับรู้มาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกไม่มีผลกระทบต่อระดับความถูกต้องของข้อมูลประมาณการกำไรในรูปแบบตัวเลข (point) เมื่อพิจารณาผลกระทบร่วมระหว่างแรงจูงใจของผู้บริหารและสาเหตุที่รับรู้ พบว่าทั้งสองปัจจัยมีอิทธิพลร่วมต่อความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลประมาณการกำไรและความถูกต้องของข้อมูลประมาณการกำไรจากฝ่ายบริหาร ระดับความเต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลประมาณการกำไรจากฝ่ายบริหารของกลุ่มผู้บริหารที่คำนึงถึงความคาดหวังของตลาดที่รับรู้สาเหตุของประมาณการกำไรต่ำกว่าเป้าหมายมาจากปัจจัยภายในและกลุ่มผู้บริหารที่รับรู้สาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกมีความแตกต่างกันมากกว่ากลุ่มผู้บริหารที่คำนึงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานที่รับรู้สาเหตุมาจากปัจจัยภายในและกลุ่มผู้บริหารที่รับรู้สาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อประมาณการกำไรต่ำกว่าเป้าหมายมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก กลุ่มผู้บริหารที่คำนึงถึงความคาดหวังของตลาดจะเปิดเผยข้อมูลประมาณการกำไรในรูปแบบของตัวเลข (point) มีระดับความถูกต้องต่ำกว่ากลุ่มผู้บริหารที่คำนึงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ไม่พบว่ามีผลกระทบร่วมของแรงจูงใจของผู้บริหาร และสาเหตุที่รับรู้ที่มีต่อความถูกต้องของข้อมูลประมาณการกำไรจากฝ่ายบริหารในรูปแบบช่วงตัวเลข (range) ผลการวิจัยนี้ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลภาคสมัครใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพิจารณารูปแบบของการเปิดเผยข้อมูลประมาณการกำไรที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลที่ผู้บริหารจะเปิดเผยต่อสาธารณชนต่อไป |
Description: | Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2017 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Accountancy |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59439 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583051526.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.