Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59589
Title: การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา : ศึกษากรณีธุรกิจที่ให้บริการลักษณะต่อเนื่อง
Other Titles: THE CONSUMER PROTECTION ON CONTRACTS: A CASE STUDY OF BUSINESS PROVIDING SERVICES ON A CONTINUING BASIS
Authors: ระวีอร วากะมะ
Advisors: วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: การคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา
Consumer protection -- Law and legislation
Civil and commercial law -- Contracts
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่องเป็นลักษณะธุรกิจที่ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อันเห็นได้จากธุรกิจในตลาดบริการในปัจจุบัน เช่น ธุรกิจสอนเต้น ธุรกิจสอนภาษาต่างประเทศ ธุรกิจสอนกวดวิชา ธุรกิจให้บริการสถานออกกำลังกาย หรือธุรกิจในการเข้ารับการบริการเกี่ยวกับกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ ที่อาศัยการที่ผู้บริโภคสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับประโยชน์และใช้บริการจากผู้ประกอบการ โดยมีการซื้อคอร์สหรือแพ็กเกจเพื่อรับบริการเป็นเวลานาน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเข้าทำสัญญาที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่องกับผู้บริโภคเพื่อให้บริการแบบต่อเนื่องไปหลายคราว โดยมักมีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในหลายลักษณะซึ่งทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียเปรียบ อีกทั้งกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทยในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ยังไม่อาจนำมาใช้ได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาที่เกิดจากการเข้าทำสัญญาในธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่อง รวมทั้งศึกษาแนวทางที่เหมาะสมเพิ่มเติมในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญาสำหรับธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่องในประเทศไทย โดยผู้เขียนได้ศึกษามาตรการทางกฎหมายและกลไกการควบคุมสัญญาสำหรับธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่องในต่างประเทศ ซึ่งได้มีการออกกฎหมายที่ใช้บังคับกับธุรกิจลักษณะนี้เป็นการเฉพาะ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (Act on Specified Commercial Transactions) ประเทศแคนาดา มลรัฐบริติช โคลัมเบีย (Business Practices and Consumer Protection Act) และประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (The Civil Code of The State of California) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้และพัฒนากฎหมายในประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เสนอว่าควรให้มีการตรากฎหมายใหม่เพื่อใช้บังคับเป็นการเฉพาะสำหรับธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่อง โดยกำหนดคำนิยามของธุรกิจและสัญญาที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่อง เสนอหลักเกณฑ์และกลไกการควบคุมสัญญาเพื่อกำหนดให้สัญญาที่ใช้ในธุรกิจนี้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบในการกำหนดกลไกการควบคุมสัญญาดังกล่าวไว้ด้วย
Other Abstract: The business providing services on a continuing basis is becoming to gain popularity as seen on the recent influx of Dance Studios, Foreign Language School, Education Tutoring School, Gyms, Sport and Recreation Center offering people to sign up for membership on a regular basis for a long period of time. Although a continuing services contract is signed with the purpose of consumer’s benefit, it contains unfair contract terms and commonly causes in later disputes and disadvantages of consumers. In Thailand, the law regarding the consumer protection on contracts, e.g., the Civil and Commercial Code, Consumer Protection Act B.E. 2522, Unfair Contract Term Act B.E. 2540 may not adequate and proper. This thesis focuses on problems caused by entering into a contract in business providing continuous services and offers positive suggestions for achieving fairness based upon consumer protection contract in Thailand. With the purpose of ultimate future guidance for Consumer Protection Law in Thailand, the researcher also studies on legal measures and various legal mechanisms in different counties which are composed of Japan, British Columbia, Canada and the State of California, U.S.A. The result of study includes proposal on enactment of legislation for business providing services on continuing basis by defining the scope of business providing continuous services and a continuing services contract, and suggestions on how the business contract can be conducted by principal and legal mechanism. Besides, the study provides assessment of positive and negative effects on the new legislation.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59589
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.966
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.966
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786011134.pdf17.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.