Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5977
Title: | ความชุกของความเครียดจากการทำงานและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องของคนงาน ส่วนการผลิตโรงงานอุตสาหกรรมแมกเนติกเทปและอัลคาไลน์แบตเตอรี่แห่งหนึ่ง |
Other Titles: | Prevalence and related psychosocial factors of occupational stress among workers in the production department of a magnetic tape and alkaline battery industry |
Authors: | วรินทร์ บุญเลี่ยม |
Advisors: | พวงสร้อย วรกุล สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ความเครียด (จิตวิทยา) ความเครียดในการทำงาน |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อหาความชุกของความเครียดจากการทำงาน และปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในคนงานฝ่ายผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมเมกเนติเทปและอัลคาไลน์แบตเตอรี่ จำนวน 359 คน เป็นชาย 87 คน เป็นหญิง 272 คน อายุระหว่าง 17-38 ปี อายุเฉลี่ย 25.6 ปี ทำการวิจัยในช่วงเดือน มีนาคม ถึง เมษายน 2543 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม ซึ่งตอบด้วยตนเอง 4 ส่วน คือ แบบสอบถามที่เกี่ยวกับปัจจัยทางจิตสังคม สร้างจากโมเดลของคูเปอร์ และเดวิดสัน แบบสอบถาม General Health Questionnaire-12(GHQ-12) ฉบับภาษาไทย แบบวัดกลไกการจัดการกับความเครียดของจาโลวิค (Jalowiec Coping Scale) และแบบประเมินบุคลิกภาพ Impulsiveness-Venturesomeness-Empathy Inventory (IVE Inventory) ซึ่งพัฒนาโดย ไอแซงค์และแมคเกิร์ค ผลการวิจัยพบว่า 1) คนงานมีความเครียดร้อยละ 56.1 (95% CL:50.8-61.2) 2) ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์ความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อวิเคราะห์โดย Chi-square tests คือ ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ อายุ ปัจจัยด้านงาน ได้แก่ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความหนักใจกับปัญหาในที่ทำงาน การเข้าร่วมกิจกรรมในที่ทำงาน ความร้อนในที่ทำงาน ความสามารถเพียงพอในการทำงาน ความรู้สึกว่างานทำให้ตนมีคุณค่า งานที่ทำมีความมั่นคง ความพอใจกับเงินเดือนที่ได้รับ ความพอใจกับผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน ความชัดเจนในหน้าที่ การปรึกษากับหัวหน้า/ผู้บริหาร ปัจจัยทางบ้าน ได้แก่ ความอบอุ่นในครอบครัว ความพอใจกับที่พักอาศัย การทะเลาะกันในครอบครัว สาเหตุที่ทะเลาะกัน ฐานะทางการเงิน รายได้และรายได้โดยรวมของครอบครัว การออกกำลังกาย และการนอนหลับ 3) ในเรื่องกลวิธีการจัดการกับความเครียด พบว่า กลุ่มคนที่เครียดจะใช้กลวิธีการจัดการที่อารมณ์ (emotive coping) การหลีกหนีปัญญา (evasive coping) และการมองโลกในแง่ร้าย (fatalistic coping) มาก และใช้วิธีการเผชิญกับปัญหา (confrontive coping) น้อย 4) ด้านบุคลิกภาพ พบว่าคนงานหญิงที่มีความเครียดจะมีบุคลิกภาพวู่วามหุนหันพลันแล่น (impulsiveness) มากกว่าคนงานหญิงที่ไม่มีความเครียด ความรู้จากงานวิจัยนี้จะสามารถนำไปใช้ในการป้องกันปฐมภูมิ (primary prevention) แก่คนงานส่วนการผลิต ในการลดหรือกำจัดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และปรับปรุงวิธีการที่จะจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสมต่อไป |
Other Abstract: | The objectives were to study the prevalence and the related psychosocial factors of occupational stress among the workers in the production department of a magnetic tape and alkaline battery industry. The population samples were 359 workers, 87 males and 272 females, aged 17 to 38 years (mean aged 25.6). The study was conducted during March and April 2000. Self administered questionnaire was consisted of questionnaire adapted from Cooper and Davidson model of occupational stress, the General Health Questionnaire-12(GHQ-12), Thai version, the Jalowiec Coping Scale and the Impulsiveness-Venturesomeness-Empathy Inventory (IVE inventory) developed by Eysenck and McGurk. The results were 1) The prevalence of the occupational stress was 56.1 percents (95% Cl:50.8-61.2) 2) The psychosocial factors and occupational stress were found to be significantly related (P<0.05, by Chi-square tests). In the individual arena, age was critical factor. In the work arena ; relation with co-workers, problems at work, activity participation, high temperature environment, sufficient performances, self-esteem, job security, satisfied with salary, non-monetary rewards, precise job descriptions, consultation with heads, were major factors. In the home arena ; warmth in the family, adequate housing, family disputes e.g. financial and children, individual incomes, total family incomes, financial status, exercise and quality of sleep, were important factors. 3) The stress experienced workers preferred to use the emotive coping, the evasive coping and the fatalistic coping styles than the confrontive coping style. 4) Finding for the personality trait:the stress experienced female workers showed more impulsiveness than the non-stress female workers. The results of this study should be beneficially considered in primary prevention program to reduce or eliminate stressors and improving the adequate coping styles of the operation workers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5977 |
ISBN: | 9743464921 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.