Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59796
Title: การศึกษาการส่องกล้องสปายกลาสเพื่อตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการตรวจความผิดปกติโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิชในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งท่อน้ำดีและตับอ่อน
Other Titles: A study of cholangioscopy guided biopsy (Spybite®) combined with pancreaticobiliary Fluorescence in situ hybridization(PB FISH) for the diagnosis of malignant biliary stricture
Authors: จีรวัชร์ เมธาภา
Advisors: รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ
พรเทพ อังศุวัชรากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: ท่อน้ำดีตีบตัน
การส่องกล้อง
Biliary atresia
Endoscopy
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการส่องกล้องสปายกลาสเพื่อตัดชิ้นเนื้อร่วมกับการตรวจความผิดปกติโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิชในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยมะเร็งท่อน้ำดีและตับอ่อน บทนำ การส่องกล้องทางเดินน้ำดี (ERCP) เป็นหัตถการที่นิยมในปัจจุบันในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มาด้วยท่อน้ำดีตีบตัน เนื่องมาจากสามารถทำการตัดชิ้นเนื้อและเก็บเซลล์ภายใต้ฟลูโอโรสโครปี้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันเนื่องจากความไวในการวินิจฉัยค่อนข้างต่ำ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการส่องกล้องท่อน้ำดีชนิดใหม่ คือ กล้องสปายกลาส ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นลักษณะท่อน้ำดีที่ชัดเจนและสามารถบอกตำแหน่งของความผิดปกติได้ การศึกษานี้มีจุดประสงค์ในการหาความไวและความจำเพาะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็ง โดยการตัดชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิช วิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่สงสัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่เกิดจากมะเร็งจะได้รับการส่องกล้องทางเดินน้ำดี (ERCP) ร่วมกับการส่องกล้องทำการตัดชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาส (Spybite) เก็บเซลล์วิทยา (brush cytology) จากนั้นนำชิ้นเนื้อและเซลล์ที่ได้ไปส่งพยาธิวิทยาและทำการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิช คือ การใช้ตัวตรวจจับ (probe) ที่เรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ไปจับกับโครโมโซมที่ตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง โดยตัวตรวจจับของโครโมโซมแพนครีทิโคบิริอะรี่ฟิช (PB probe) คือ โครโมโซม 1q21 (สีเหลือง), 7p12 (สีเขียว), 8q24 (สีฟ้า) และ 9p21 (สีแดง) โดยเซลล์มะเร็งสามารถตรวจพบการเพิ่มหรือลดของจำนวนโครโมโซมได้ การศึกษานี้เปรียบเทียบความไวและความจำเพาะการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิช (Spybite FISH), การตรวจชิ้นเนื้อจากกล้องสปายกลาสด้วยพยาธิวิทยา (Spybite), การตรวจเซลล์วิทยาร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิชฟิช (FISH brushing) และการตรวจเซลล์โดยพยาธิวิทยา (cytology) ผลการวิจัย ผู้ป่วยมีภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็งจำนวน 30 รายเข้าร่วมการวิจัย โดย 27 รายได้รับการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่เกิดจากมะเร็ง โดยสาเหตุเกิดจากมะเร็งท่อน้ำดีมากที่สุด (15 ราย, 55.6%), รองลงมาคือมะเร็งตับอ่อนและมะเร็งท่อน้ำดีชนิด IPNB (3 ราย, 11.1%). ความไวในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีที่เกิดจากมะเร็งด้วยการตรวจเซลล์วิทยาร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิชฟิช (FISH brushing) และการตรวจเซลล์โดยพยาธิวิทยา (cytology) คือ 33.3% และ 75% ตามลำดับ ความไวในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีที่เกิดจากมะเร็งด้วยการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิช (Spybite FISH) และการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายกลาสด้วยพยาธิวิทยา (Spybite) คือ 96.3% และ 62.9% ความจำเพาะเท่ากับ 33.3% and 100% ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย การตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม (Spybite FISH) สามารถเพิ่มความไวในการวินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็งได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการตรวจชิ้นเนื้อที่ได้จากกล้องสปายด้วยพยาธิวิทยา (Spybite) เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคฟิชสามารถนำมาใช้วินิจฉัยภาวะท่อน้ำดีตีบตันทางคลินิก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะท่อน้ำดีตีบตันที่สงสัยมะเร็งในการวางแผนรักษาต่อในอนาคต
Other Abstract: A study of cholangioscopy guided biopsy (Spybite®) combined with pancreaticobiliary Fluorescence in situ hybridization (PB FISH) for the diagnosis of malignant biliary stricture Jeerawat Maytapa, MD1, Phonthep Angsuwatcharakon, MD1, Roongruedee Chaiteerakij, MD, PhD1 1 Division of Gastroenterology, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University and King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thai Red Cross Society, Bangkok, Thailand Background & Aims: Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) is commonly used diagnostic procedure for diagnosis of malignant biliary stricture. ERCP provides tissue samples for brush cytology and endoscopic intraductal biopsies for histopathology. However, distinguishing malignant biliary stricture from benign biliary stricture is challenging due to low sensitivity of brush cytology and intraductal biopsy. This study aimed to assess sensitivity and specificity of PB FISH combined with Spybite® for diagnosis of malignant biliary strictures. Method: Patients who were evaluated for malignant biliary strictures and underwent ERCP were enrolled. Bile duct tissue were obtained from the biliary stricture sites using SpyGlassTM Direct Visualization System for direct target biopsy. The tissue was then examined histologically and by PB FISH. The PB FISH assay used a mixture of fluorescence-labeled probes to chromosomes 1q21 (gold), 7p12 (green), 8q24 (aqua), and 9p21 (red) to identify chromosome number alterations. Cytologic specimens were also obtained during ERCP using a cytology brush before Spybite® biopsy. The biliary brushing samples were tested for routine cytology and PB FISH. Sensitivities and specificities of Spybite® FISH, Spybite® pathology, FISH brushing and cytology brushing were compared. Result: Of the 30 patients enrolled, 27 were diagnosed with malignancy. The most common cancer was cholangiocarcinoma (n=15, 55.6%), followed by pancreatic cancer and IPNB (n=3, 11.1%). The sensitivities of cytology brushing and FISH brushing for detection of malignancy were 33.33% and 75%, respectively. The sensitivities of Spybite® FISH and Spybite® biopsy were 96.3% and 62.9%. The specificities of Spybite® FISH and Spybite® biopsy were 33.3% and 100%. Conclusion: PB FISH is more sensitive for detection of malignant biliary strictures in Spybite® specimen than Spybite biopsy alone. PB FISH combined with Spybite® may improve the clinical management of patients who are being evaluated for malignant biliary stricture.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59796
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1608
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1608
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974051430.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.