Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59812
Title: ผลของยาสูดแอนไทโคลิเนอร์จิกชนิดออกฤทธิ์ยาวต่อสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคหลอดลมพอง
Other Titles: Effect of inhaled long acting muscarinic antagonist on lung function in stable adult bronchiectasis
Authors: เมธินี ตั้งนันทวิวัฒน์
Advisors: กมล แก้วกิติณรงค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected],[email protected]
Subjects: หลอดลม -- โรค -- การรักษา
หลอดลมพอง
Bronchi -- Diseases -- Treatment
Bronchiectasis
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา โรคหลอดลมพองเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังส่งผลให้หลอดลมขยายตัวผิดปกติอย่างถาวร ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรัง ไอออกเลือด เหนื่อยหายใจลำบากรวมถึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ยาขยายหลอดลมเป็นที่ใช้อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับโรคหลอดลมอื่นๆ แต่ประโยชน์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด วิธีการศึกษา ผู้ป่วยโรคหลอดลมพองที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกและมีอาการทางระบบหายใจจากแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2560 ถึง เดือนมกราคม 2561 แบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม คือ แคปซูลไทโอโทรเปียมและยาหลอก ใช้ผ่านอุปกรณ์สูดชนิดเดียวกัน วัดผลด้วยสมรรถภาพปอดชนิด FEV1 ที่เปลี่ยนแปลงภายหลัง 12 สัปดาห์ และวัดลัพธ์อื่นๆคือค่าความจุปอดอื่นๆ การค้างของลมในปอด (hyperinflation) ค่าคุณภาพชีวิตเชิงสุภาพประเมินด้วยแบบสอบถาม St. George's Respiratory ระยะทางที่เดินได้ใน 6 นาที และผลข้างเคียง ผลการศึกษา ผู้ป่วยหลอดลมพองจำนวน 41 คนเข้าร่วมในการศึกษา ภายหลัง 12 สัปดาห์พบว่าค่าความจุปอดชนิด FEV1 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ได้ไทโอโทรเปียม และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มทดลอง โดยมีการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังได้รับยาแสดงเป็นค่าเฉลี่ยและวงเล็บค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่า FEV1 เท่ากับ +78 (86) มิลลิลิตร ค่า p-value=0.001 ในกลุ่มไทโอโทรเปียม และ +13 (96) มิลลิลิตร ค่า p value 0.596 ในกลุ่มที่ได้ยาหลอก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของอาการทางระบบหายใจที่วัดด้วยแบบสอบถาม SGRQ ส่วนอาการ โดยมีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มไทโอโทรเปียมและกลุ่มยาหลอกเท่ากับ -8.44 และ -0.28 ตามลำดับ สรุป ยาสูดไทโอโทรเปียมช่วยเพิ่มความจุปอดชนิด FEV1 ในผู้ป่วยโรคหลอดลมพอง และช่วยทำให้อาการทางระบบหายใจดีขึ้น ภายหลังการใช้ต่อเนื่อง 12 สัปดาห์
Other Abstract: Background Bronchiectasis is characterized by permanent airway dilatation. Patients suffer from daily cough, breathlessness and exacerbation resulting in poor quality of life. Although inhaled LAMA was widely accepted in COPD, its effects in bronchiectasis patients has not been studied. Methods All symptomatic bronchiectasis diagnosed by computed tomogram were enrolled and randomized to receive inhaled tiotropium bromide or placebo. The primary outcome was FEV1 change at 12th week. Other outcomes included hyperinflation, SGRQ score, six minute walk distance, and adverse events. Results Total of 41 bronchiectasis patients were enrolled which 83% were female with and mean age were 58.86(13.20) and 63.55(8.18) years in tiotropium and placebo groups, respectively. Spirometry patterns were normal (36.5%), obstructive (31.9%), mixed obstructive-restrictive (21.8%), and restrictive (9.75%). At 12th week, FEV1 was improved in tiotropium group (78 ml, p 0.001), and significantly different (p 0.045) from placebo group (13 ml, p 0.596). FEV1 improvement was more obvious in patients with obstructive defect compared with placebo (146 ml, 20 ml, p=0.009). SGRQ symptom score was also decreased in tiotropium group and significantly different from placebo group. Conclusion Inhaled long acting muscarinic antagonist might be beneficial in symptomatic bronchiectasis, obviously seen in obstructive lung pattern.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59812
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1605
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1605
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974087030.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.