Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59932
Title: | การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย |
Other Titles: | Broadcasting regulation for diversity |
Authors: | อิทธิพล วรานุศุภากุล |
Advisors: | พิรงรอง รามสูต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | โทรทัศน์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Television -- Law and legislation |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลายในประเทศที่มีแบบแผนปฏิบัติที่ดี (2) เพื่อสร้างกรอบการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย และ (3) เพื่อศึกษาถึงความหลากหลายของรูปแบบรายการโทรทัศน์ ก่อนและหลังการประมูลโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจ ระดับชาติ ผลการศึกษา พบว่า การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลายจำเป็นต้องใช้การกำกับดูแลในหลายมิติ ทั้งการกำกับดูแลโครงสร้าง ได้แก่ การกำหนดประเภทใบอนุญาตประกอบกิจการ การกำหนดลักษณะความเป็นเจ้าของ การกำหนดแหล่งรายได้ของกิจการโทรทัศน์ การกำหนดพื้นที่การออกอากาศ และการกำหนดสัดส่วนการผลิตรายการของผู้ผลิตรายการอิสระ และการกำกับดูแลเนื้อหา ได้แก่ การกำหนดสัดส่วนเนื้อหารายการ นอกจากนั้น องค์กรกำกับดูแลควรมีมาตรการการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินความหลากหลายในเนื้อหารายการโทรทัศน์ในหลายมิติ รวมถึงการส่งเสริมความรู้ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายในเนื้อหารายการโทรทัศน์ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์และเครือข่ายภาคประชาสังคม สถานะความหลากหลายของรูปแบบรายการโทรทัศน์ในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบอนาล็อก จำนวน 6 ช่องรายการ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2554 และกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิตอล จำนวน 26 ช่องรายการ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2559 ค่อนข้างใกล้เคียงกัน กล่าวคือ การมีช่องรายการเพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะทำให้ความหลากหลากหลายของรูปแบบรายการเพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ชมสูง (Prime time) พบว่ามีความหลากหลายของรูปแบบรายการเพิ่มขึ้น |
Other Abstract: | The purpose of this study is (1) to study broadcasting regulation for diversity in countries with good practice (2) to form framework of broadcasting regulation for diversity and (3) to study television program-type diversity before and after Thailand’s digital television auctions. The results show that broadcasting regulation for diversity requires multi-dimensional regulation. Structural regulation includes broadcasting license types, ownership rules, income sources, broadcasting areas, and proportions of the production of independent producers. Content quota as content regulation are also required. In addition, regulatory bodies should establish monitoring, tracking and evaluating system for broadcasting diversity including the promotion of knowledge and awareness of the importance of content diversity in television for television operators and civil society networks. The diversity of program-type in 6 analogue terrestrial television in January 2011 and 26 digital terrestrial television in January 2016 are quite similar. In other words, the increase of number of channels does not guarantee the increase of the diversity of program-type. However, considering only the prime time, there is the increase of the diversity of program-type. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59932 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.937 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.937 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5585105128.pdf | 5.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.