Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59992
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม |
Other Titles: | FACTORS RELATED TO SUPPORTIVE CARE NEEDS IN FAMILY CAREGIVERS OF PATIENTS WITH ADVANCED CANCER |
Authors: | อินทิรา มหาวีรานนท์ |
Advisors: | สุรีพร ธนศิลป์ จรรยา ฉิมหลวง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected],[email protected] |
Subjects: | การลุกลามของมะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง Cancer invasiveness Metastasis |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ (Descriptive correlational research) เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามโดยรวม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามที่พาผู้ป่วยมาติดตามการรักษาที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 184 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ แบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินความรุนแรงของอาการ แบบสอบถามความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัว แบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและแบบประเมินการทำหน้าที่ด้านร่างกาย ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ 0.75, 1.00, 0.90, 0.90, 0.70, 0.80 และ 1.00 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.93, 0.93, 0.94, 0.91 และ 0.96 ตามลำดับ แบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้ป่วย หาค่าความเที่ยงด้วยค่า KR-20 มีค่าเท่ากับ 0.73 และแบบประเมินการทำหน้าที่ด้านร่างกาย หาค่าความเที่ยงด้วยการวัดซ้ำ (Test-retest method) เท่ากับ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนโดยรวมของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 3.09, SD = 0.74) 2) แรงสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการทำหน้าที่ด้านร่างกายมีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.21 และ -.22, p < .05 ตามลำดับ) 3) ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้าและความรุนแรงของอาการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .17, .20, .29, และ .37, p < .05 ตามลำดับ) แต่อย่างไรก็ตาม อายุไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม (r = .06, p > .05 ) |
Other Abstract: | This descriptive correlational research examined the supportive care needs and the relationship between selected factors related to supportive care needs in family caregivers of patients with advanced cancer. One hundred and eighty-four family caregivers of patients with advanced cancer were recruited using a multi-stage sampling method. The research instruments included the demographic data form and the State-Trait Anxiety Inventory form Y, the Social Support Questionnaire, the Fatigue Severity Scale, the Edmonton Symptom Assessment Scale, the Supportive Care Needs Survey for partners and caregivers of cancer survivors, a knowledge assessment form and the Karnofsky Performance Status Scale. These instruments were tested for their content validity by a panel of experts. Their CVI were 0.75, 1.00, 0.90, 0.90, 0.70, 0.80, and 1.00 respectively. The reliability of the instruments was tested using Cronbach’s alpha coefficent. They were at 0.93, 0.93, 0.94, 0.91 and 0.96, respectively. The KR-20 of the knowledge assessment form was 0.73. Test-retest reliability of The Karnofsky Performance Status Scale was 0.95. Data were analyzed using mean, standard deviations and Pearson’s product-moment correlation. The research results were as follows: 1) The supportive care needs in family caregivers of cancer patients was at moderate level (mean = 3.09, SD = 0.74). 2) Social support and physical performance of patients were negatively and significantly related to supportive care needs in family caregivers of cancer patients (r = -.21 and -.22, p < .05, respectively) 3) Knowledge, anxiety, fatigue and symptom severity were positively and significantly related to supportive care needs in family caregivers of cancer patients (r = .17, .20, .29, and .37, p < .05, respectively). However, age was not significantly related to supportive care needs in family caregivers of cancer patients (r = .06, p > .05 ). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59992 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1130 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1130 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5777362036.pdf | 7.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.