Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59997
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คู่ครองในอุดมคติและการเลือกรูปแบบการรับมือกับปัญหาโดยมีความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสัมพันธ์เป็นตัวแปรกำกับและความพึงพอใจในความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: THE RELATION BETWEEN PARTNER FIT AND CONFLICT STYLES: A MEDIATION EFFECT OF RELATIONSHIP SATISFACTION AND A MODERATION EFFECT OF IMPLICIT THEORIES OF RELATIONSHIP
Authors: วสพร ไชยะกุล
Advisors: ทิพย์นภา หวนสุริยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ว่าคู่ครองตรงกับอุดมคติ และรูปแบบการรับมือกับปัญหา โดยมีความพึงพอใจในความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน และความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบเติบโตได้เป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างเป็นคนทั่วไป อายุ 18-60 ปี จำนวน 302 คน (ชาย 164 คน หญิง 138 คน) ที่มีคู่รักในปัจจุบันซึ่งคบหากันเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ผู้เข้าร่วมการวิจัยตอบแบบสอบถาม การรับรู้ว่าคู่ครองตรงกับอุดมคติ ความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบเติบโตได้ การรับมือกับปัญหาแบบส่งเสริมความสัมพันธ์ และความพึงพอใจในความสัมพันธ์ ผลพบว่าการรับรู้ว่าคู่ครองตรงกับอุดมคติส่งอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อความพึงพอใจในความสัมพันธ์ และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อรูปแบบการรับมือกับปัญหาที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และรูปแบบการรับมือกับปัญหาที่บั่นทอนความสัมพันธ์ โดยมีความพึงพอใจในความสัมพันธ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน แต่ความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบเติบโตได้ไม่มีอิทธิพลกำกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าว ผลที่พบสามารถอธิบายได้ว่า บุคคลที่มีการรับรู้ว่าคู่ครองตรงกับอุดมคติสูง จะมีความพึงพอใจในความสัมพันธ์มากกว่า ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะใช้รูปแบบการรับมือกับปัญหาที่ส่งเสริมความสัมพันธ์มากกว่า ในทางกลับกัน ผู้ที่มีการรับรู้ว่าคู่ครองตรงกับอุดมคติต่ำ มีความพึงพอใจในความสัมพันธ์ต่ำกว่า ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะใช้รูปแบบการรับมือกับปัญหาที่บั่นทอนความสัมพันธ์มากกว่า โดยแบบแผนความสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นทั้งในคนที่มีความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบเติบโตได้สูงและต่ำ
Other Abstract: The purpose of this study is to examine the relation between partner fit and conflict styles with a mediated effect of relationship satisfaction and a moderation effect of “work-it-out” implicit theories of relationship. We collected data from a convenience sample of 302 Thai citizen ages 18-60 years old (164 males and 138 females) who has been in a romantic relationship for at least 6 months. They responded to an online survey which includes the measures of partner fit, work-it-out belief, positive conflict styles, negative conflict styles and relationship satisfaction. Results showed that there was a positive direct effect of partner fit on relationship satisfaction, as well as a positive indirect effect on positive conflict style and a negative indirect effect on negative conflict style mediated by relationship satisfaction. Specifically, perceived high partner fit significantly predicts lower relationship satisfaction, which in turn predicts their tendency to use positive conflict styles that improve relationship and perceived low partner fit significantly predicts lower relationship satisfaction, which in turn predicts their tendency to use negative conflict styles that deteriorate relationship. This pattern of the associations is the same for participants with high and low work-it-out implicit theory of relationship.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59997
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.814
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.814
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777625038.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.