Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60011
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบคำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยกับปัจจุบัน |
Other Titles: | A COMPARATIVE STUDY OF REFERENCE TERMS FOR BUDDHIST THAI MONKS IN THE SUKHOTHAI PERIOD AND THE PRESENT |
Authors: | เอกพล ดวงศรี |
Advisors: | ดาวเรือง วิทยารัฐ วิภาส โพธิแพทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พระสงฆ์เป็นผู้ที่มีสถานภาพพิเศษในสังคมไทยมาตั้งแต่โบราณ จึงมีคำที่ใช้อ้างถึงเป็นพิเศษ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของคำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัย และการเปลี่ยนแปลงด้านคำศัพท์และความหมายของคำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ศึกษาและเก็บข้อมูลจากจารึกภาษาไทยสมัยสุโขทัยซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือหรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์แล้ว จำนวน 41 หลัก โดยใช้แนวคิดคำอ้างถึงในภาษาไทยและแนวคิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา ผลการศึกษาพบว่า คำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยมีการปรากฏใช้ทั้งสิ้น 74 คำ ครอบคลุมถ้อยคำหรือรูปภาษาที่หลากหลาย อ้างถึงบุคคลคนเดียวกัน คือ พระสงฆ์ แบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่ 1) คำนามสามัญ 2) คำบุรุษสรรพนาม 3) คำนำหน้าชื่อ/ราชทินนาม 4) คำบอกลำดับชั้น และ 5) คำบอกตำแหน่ง ด้านการเปลี่ยนแปลงด้านคำศัพท์และความหมายเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันพบว่า คำอ้างถึงพระสงฆ์เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงด้านคำศัพท์ คือ การสูญศัพท์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สูญศัพท์โดยสิ้นเชิง และ 2) สูญศัพท์บางส่วน ได้แก่ สูญศัพท์ในบริบทพระสงฆ์ แต่ยังปรากฏใช้ในบริบททั่วไป, สูญศัพท์ในภาษาไทยกรุงเทพฯ แต่ยังปรากฏใช้ในภาษาถิ่น และสูญศัพท์ในบริบททั่วไป แต่ยังปรากฏใช้ในบริบทเฉพาะ ด้านการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายพบว่า คำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยมีการเปลี่ยนแปลงความหมาย 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) ความหมายแคบเข้า 2) ความหมายกว้างออก 3) ความหมายย้ายที่ 4) ความหมายดีขึ้น และ 5) ความหมายเลวลง การเปลี่ยนแปลงของคำอ้างถึงพระสงฆ์สะท้อนให้เห็นบริบทสังคมพระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัยที่แตกต่างจากปัจจุบัน การใช้คำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย และมีความสัมพันธ์กับลำดับชั้นของพระสงฆ์ พระสงฆ์ที่มีลำดับชั้นต่างกันจะมีการใช้คำอ้างถึงที่แตกต่างกัน บางลำดับชั้นมีคำอ้างถึงใช้เป็นพิเศษ นอกจากนี้ คำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรม ความเชื่อ และมโนทัศน์เกี่ยวกับพระสงฆ์เป็นหน่อพระพุทธเจ้า การยกย่องพระสงฆ์ในฐานะครู การยกย่องพระสงฆ์ในฐานะผู้เป็นใหญ่ และวัฒนธรรมการรับรูปแบบการตั้งสมณศักดิ์ |
Other Abstract: | In the Sukhothai period, Thai language had various reference terms for Buddhist monks because of their particularly high status in the society. This research aims to study categories of reference terms for Buddhist Thai monks and their lexical and semantic changes in the Sukhothai period in comparison with the Present. Data had been collected from 41 edited Sukhothai Inscriptions and analyzed through a framework of reference terms and rules of language change. This research has collected 74 reference terms for Buddhist Thai monks in use in the Sukhothai period, covering 5 categories: 1) common nouns, 2) personal pronouns, 3) titles, 4) terms indicating monastic rank and 5) terms indicating monastic role. Lexical change of reference terms for Buddhist Thai monks from the Sukhothai period in comparison with the Present can be described as lexical loss. There are two types: 1) complete lexical loss and 2) partial lexical loss. Partial lexical loss includes lexical loss in religious context but preserved in general context, lexical loss in Modern Standard Thai but preserved in Thai dialects and lexical loss in general context but preserved in specific usage. Regarding semantic change, it can be described as 1) restriction of meaning, 2) extension of meaning, 3) meaning shifts, 4) pejorative development and 5) ameliorative development. Lexical and semantic changes of reference terms for Buddhist Thai monks in the Sukhothai period, when compared to the Present, have also reflected the changing social and cultural contexts of Buddhism as institution in Thai society and reflected culture, beliefs and concept about Buddhist Thai monks |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60011 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1145 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1145 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5780197122.pdf | 6.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.