Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60033
Title: | การตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์ |
Other Titles: | Thai Digital Natives' Awareness of Copyright Issues related to Online Manga and Anime |
Authors: | ดารารัตน์ ภูธร |
Advisors: | พิรงรอง รามสูต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์ การบริโภคสื่อและการใช้งานอินเทอร์เน็ตของดิจิทัลเนทีฟไทยที่ก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์ ตลอดจนการใช้งานอินเทอร์เน็ตของดิจิทัลเนทีฟไทยที่มีการต่อรองกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะผู้บริโภค การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นดิจิทัลเนทีฟในกรุงเทพมหานครที่มีคุณลักษณะตามที่ผู้วิจัยกำหนด คือ เป็นผู้ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันการ์ตูนมีการพัฒนาจากกระดาษสู่รูปแบบดิจิทัลจึงทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายผ่านอินเทอร์เน็ตและทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ได้ง่ายเช่นกัน ดิจิทัลเนทีฟไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์ใน 3 ขั้นตอนดังนี้ คือ 1) การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือดาวน์โหลดจากแหล่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 2) การดัดแปลงข้อมูลโดยการแปลและแก้ไขข้อมูลต้นฉบับ 3) การเผยแพร่ต่อสาธารณชน ผลจากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 คนมีความตระหนักรู้ในเรื่องลิขสิทธิ์ มีการกระทำที่ละเมิดกฎหมายโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ผลิตและผู้บริโภคผลงานการ์ตูนละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ อีกทั้งดิจิทัลเนทีฟไทยยังมีการต่อรองกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะผู้บริโภคโดยสร้างพื้นที่สมมติขึ้นมา เรียกว่า “พื้นที่สีเทา” เป็นการสร้างความหมายและการตีความขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการต่อรองให้การกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวยังเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่า ดิจิทัลเนทีฟไทยที่บริโภคการ์ตูนออนไลน์มีการรวมตัวกันในลักษณะที่เรียกว่าชุมชนออนไลน์ มีการสร้างกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการกำกับดูแลซึ่งกันและกันไม่ต่างไปจากสังคมในโลกแห่งความเป็นจริง เรียกว่า “ข้อตกลงร่วมกัน” เพื่อให้คนในสังคมสามารถบริโภคการ์ตูนออนไลน์ได้ต่อไปโดยยังตระหนักเรื่องลิขสิทธิ์ เช่น บริโภคการ์ตูนออนไลน์ต่อเมื่อเรื่องดังกล่าวยังไม่มีลิขสิทธิ์ในไทย เป็นต้น |
Other Abstract: | This research aims to study copyright awareness of Thai’s digital native and abuse of Japanese manga and anime, media consumption of Thai’s digital native which is leading to abuse of Japanese manga and anime and negotiation of Thai digital natives who have abused Japanese manga and anime on the internet. The research collected data from in-depth interview with 10 key informants. They are all digital natives from Bangkok who using internet to consume manga and anime. The research found that Thai digital natives have done 3 processes of abuse. The first one is to copy or download information into computer system. The second one is to adapt or to edit the data. The last one is to publish those data on the internet. The result from in-depth-interviews shows that the key informants as Thai digital natives have copyright awareness, but they involved in 2 stages of abuse. The first one is to consume information which break copyright law and the second one is to redistribute adapted or edited information. They have a negotiated explanation for abusing which was considered as “the gray zone” to make it acceptable. In addition, the research found that Thai digital natives have used the internet to create online community for sharing manga and anime. They have their own regulation and rules to regulate themselves as same as real society which called “terms of use”. These terms strongly induce everyone to be aware of copyright issues. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60033 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.906 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.906 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5784662328.pdf | 3.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.