Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60095
Title: | การกลับใจของผู้พ้นโทษผ่านทางการใช้ชีวิตในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ : ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพรของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน |
Other Titles: | REPENTANCE OF EX-CONVICT REHABILITATION IN CHRISTIAN HALFWAY HOUSE: A CASE STUDY OF HOUSE OF BLESSING HALFWAY HOUSE IN CHRISTIAN PRISON MINISTRY FOUNDATION |
Authors: | ทิวาพร เดชมณี |
Advisors: | จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเรื่องการกลับใจของผู้พ้นโทษในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร ของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการดำเนินกระบวนการของบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร กระบวนการกลับใจที่เกิดขึ้นกับผู้พ้นโทษที่สมัครใจเข้าร่วมในบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร และแนวทางในการพัฒนาบทบาทของภาคประชาสังคมในรูปแบบของบ้านกึ่งวิถี ที่นำเอาหลักคำสอนในพระคริสตธรรมคัมภีร์มาปรับใช้ช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่มีความแตกต่างหลากหลายให้กลับสู่สังคม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่ออธิบายประสบการณ์การกลับใจของผู้พ้นโทษและการดำเนินการในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานของบ้านพระพรมีการดูแลสมาชิกอย่างเป็นระบบ กิจกรรมต่างๆส่งเสริมระเบียบวินัยและความรับผิดชอบของสมาชิก ดูแลปัจจัยพื้นฐาน ฝึกอาชีพเสริม และมีชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ทางพระคัมภีร์ นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมติดตัวของสมาชิกให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น มีคริสตจักรพระพรเป็นศูนย์กลางประสานงานกับผู้พ้นโทษและเป็นสถานที่ที่สมาชิกเก่าและใหม่สามารถกลับมารวมตัวกันได้ ซึ่งทำให้เกิดพันธะทางสังคมที่ต่อเนื่องช่วยในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมอย่างไม่เป็นทางการเมื่อกลับสู่สังคม (2) กระบวนการกลับใจของสมาชิกในบ้านพระพร พบว่าสมาชิกมีการเปลี่ยนแปลงในจิตใจคือตัดสินใจที่จะละทิ้งการกระทำผิดและตั้งใจดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์เริ่มตั้งแต่ในเรือนจำ และมีสมาชิกบางคนเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้เมื่อได้รับการฝึกฝนในบ้านพระพรแล้ว การเปลี่ยนแปลงเกิดทั้งด้านพฤติกรรม ด้านอัตมโนทัศน์ และด้านจิตวิญญาณส่งผลให้สมาชิกมีมุมมองใหม่ต่อตนเองและผู้อื่นในทางที่ดีขึ้น ช่วยให้พวกเขาดำเนินชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) จากเรือนจำไปสู่สังคมภายนอกได้อย่างเข้มแข็ง (3) ควรมีการขยายแนวคิดในการส่งต่อผู้พ้นโทษจากเรือนจำไปอยู่ในการดูแลของคริสตจักรหรือให้หน่วยงานภาคเอกชนอื่นๆ เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาแบบครบวงจรโดยอาจพ่วงมิติของศาสนาอันจะส่งผลให้เกิดการช่วยเหลือผู้พ้นโทษที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น |
Other Abstract: | The purpose of this study was to study the concept and the process of house of blessing halfway house which introduced biblical doctrines to assist the various of exconvict; to study the repentance process that occurred with the exconvict and to find the way to develop the role of civil society in form of halfway houses, by using qualitative research. The researcher collected data with in-depth interviewing technique and used content analysis to analyze the data. The research found that (1) The of House of Blessing has systematic rehabilitation activities for exconvict, both in discipline and in their responsibility, together with fundamental support, professional training and having classes to improve their bible knowledge. They also handle the emotional and behavioral issues of the members. More than that, the church is the coordinating center where the old and the current members can reunite, that related in building a continuous social bond to unofficially monitoring after reintegrating. (2) About the repentance process, find out that most of them have changed from inside and determined to live according to the example of Jesus Christ since in prison. This Process change their behavior, self-concept and spiritual and lead them to the new perspective on themselves and the others, that helping them to live strongly in transitional period from prison to society. (3) It is recommend to extend the concept of transferring prisoners to church care or other private sector agencies with the dimension of religion that will result in more successful aid in the near future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60095 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1601 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1601 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5881066924.pdf | 5.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.