Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60225
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ-
dc.contributor.authorลภัสพิชชา สุรวาทกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:11:57Z-
dc.date.available2018-09-14T06:11:57Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60225-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ โดยทั่วไปมีความหมายในเชิงลบ นั่นคือ นักศึกษาคาดหวังถึงผลลัพธ์เชิงบวกทางวิชาการ โดยไม่คำนึงถึงความพยายามหรือความสามารถที่แท้จริงของตน ในการวิจัยครั้งนี้ได้ขยายขอบเขตการศึกษา โดยแบ่งเป็นการรับรู้เชิงบวกและเชิงลบ การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบนี้มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักศึกษา ซึ่งหากอาจารย์ผู้สอนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษาต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับและโปรไฟล์การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ โดยวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะและแบบสอบถามมาตรประมาณค่า และเปรียบเทียบผลลัพธ์และความเหมาะสมระหว่างสองวิธี 2) วิเคราะห์ระดับและโปรไฟล์สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ 3) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ 4) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโปรไฟล์ของนักศึกษา ด้านสิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ กับสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย 5) จัดทำแนวทางการให้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพของนักศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาทางศึกษาศาสตร์ ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ก่อนจบการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะและแบบสอบถามมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS 23 การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม Mplus 7.0 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบ ระดับ และโปรไฟล์ของการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการที่วัดด้วยวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะมีระดับค่าเฉลี่ยรายองค์ประกอบที่แตกต่างกันชัดเจนกว่าที่วัดด้วยแบบสอบถามมาตรประมาณค่า อย่างไรก็ตามในภาพรวมพบว่า นักศึกษามีการรับรู้เชิงบวกในระดับมาก และมีการรับรู้เชิงลบในระดับปานกลาง 2. นักศึกษามีสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพในระดับมาก และมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการในระดับปานกลาง นักศึกษามีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวก ความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ และความซื่อสัตย์ทางวิชาการแตกต่างกันตามเกรดเฉลี่ยและมหาวิทยาลัย มีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงลบแตกต่างกันตามสาขาวิชาและการร่วมงานวิชาการ มีความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพแตกต่างกันตามเกรดเฉลี่ยและสาขาวิชา และมีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกแตกต่างกันตามสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความซื่อสัตย์ทางวิชาการสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์ (44, N = 136) = 53.41,p = 0.16; CFI = .99, RMSEA = .04) โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบ สำหรับความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย และการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเรียนสาขาการวิจัย มหาวิทยาลัยรัฐบาลและเรียนสาขาที่ไม่ใช่การวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏและเรียนสาขาการวิจัย มีความสอดคล้องระหว่างระดับสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัยกับการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ และความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ในรูปแบบที่เหมาะสม ในขณะที่นักศึกษาในกลุ่มที่เรียนสาขาที่ไม่ใช่ด้านการวิจัย ทั้งในมหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความสอดคล้องระหว่างระดับของตัวแปรวิจัยดังกล่าวในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม 5. การส่งเสริมความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ และความซื่อสัตย์ทางวิชาการสามารถทำได้หลายแนวทาง เช่น การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา การสอนและให้คำแนะนำทางวิชาการ และการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการที่เหมาะสม-
dc.description.abstractalternativeAcademic entitlement (AE) conventionally refers to students’ expectation of academic success regardless of their effort. In recent studies, however, the scope of AE has been expanded to positive aspects such as requesting instructors to clarify confusing topics or asking for more learning materials. Understanding both positive and negative aspects of AE could help instructors to better enhance and improve their students’ performance. The purposes of this research were 1) to analyze level and profile of academic entitlement using adaptive Q methodology and rating scale questionnaires, and compare the results between both methods; 2) to analyze level and profile of research training environment, intention to do quality research and academic integrity; 3) to develop and validate a structural equation model between research training environment, academic entitlement, intention to do quality research and academic integrity; 4) to examine the alignment of students’ profile of research training environment with academic entitlement, intention to do quality research and academic integrity; and 5) to suggest instructors’ guidelines for promoting graduate students’ academic integrity and intention to do quality research. Data were collected by means of an adaptive Q methodology and a rating scale questionnaire, completed by graduate students studying thesis program in the field of education, in Bangkok. The data were then analyzed by descriptive statistics, factor analysis, MANOVA, SEM, and content analysis, using SPSS 23 and Mplus 7.0. The research findings were as followed: 1. The factors, levels, and profiles of AE measured by the adaptive Q methodology were clearly different than those of AE measured by the rating scale questionnaire. However, overall results reveled that students had a high level of positive academic entitlement and a moderate level of negative academic entitlement. 2. Students had a high level of research training environment and intention to do quality research, whereas a level of academic integrity was moderate. The profile analysis indicated different means of positive academic entitlement, intention to do quality research, and academic integrity between groups of major with university; negative academic entitlement between groups of major with conference participation; intention to do quality research between groups of GPAX with major; and positive academic entitlement between groups of major with university. 3. The structural equation model fitted the empirical data (Chi-Square (44, N = 136) = 53.41, p = 0.16; CFI = .99, RMSEA = .04). The results also showed that academic integrity was effected by research training environment, positive and negative academic entitlement, and intention to do quality research was effected by research training environment and positive academic entitlement, at a statistically significant level of .05. 4. The groups of students that were found to have a proper alignment between research training environment with academic entitlement, intention to do quality research, and academic integrity were from research major in public university, non-research major in public university, and research major in Rajabhat university. In contrast, the groups from non-research major both in public and private university were found to have an improper alignment between research training environment and those variables. 5. Instructors’ guidelines for promoting graduate students’ academic integrity and intention to do quality research were proposed based on the finding of this study. For example, creating effective teacher-student Interactions, effective learning environment, and making an appropriate understanding of academic entitlement.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1288-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleแนวทางการส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์วิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะ-
dc.title.alternativeGUIDELINES FOR PROMOTING GRADUATE STUDENTS’ ACADEMIC INTEGRITY AND INTENTION TO DO QUALITY RESEARCH: AN APPLICATION OF ADAPTIVE Q METHODOLOGY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisor[email protected],[email protected]-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1288-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983386127.pdf6.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.