Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60374
Title: | แนวทางการจัดการพื้นที่โดยใช้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean development mechanism) เพื่อเศรษฐกิจการซื้อขายคาร์บอนเครดิดในบริเวณพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Land use management base on clean development mechanism for carbon credit trading: a case study of the Huay Sai royal development study center, Cha-Am district, Petchaburi province |
Authors: | ลือชัย ครุธน้อย |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม |
Subjects: | ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การซื้อขายสิทธิปล่อยมลพิษ การซื้อขายสิทธิปล่อยมลพิษ -- ไทย การใช้ที่ดิน -- แง่สิ่งแวดล้อม การใช้ที่ดิน -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย ก๊าซเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจก -- ไทย Huai Sai Royal Development Study Center Emissions trading Emissions trading -- Thailand Land use -- Environmental aspects Land use -- Environmental aspects -- Thailand Greenhouse gases Greenhouse gases -- Thailand |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาแนวทางการจัดการพื้นที่โดยใช้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เพื่อเศรษฐกิจการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในบริเวณฟื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา รวมถึงศึกษาแนวทางการจัดการพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการ CDM ภาคป่าไม้ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตของพื้นที่ศึกษาต่อไป การศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ศึกษา พบว่า พื้นที่ป่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต จากการดำเนินโครงการ CDM ภาคป่าไม้ในพื้นที่ศึกษา พบว่าพื้นที่ศึกษามีสภาพเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ก่อนปี พ.ศ. 2532 จึงมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินโครงการ CDM ภาคป่าไม้ ด้วยกิจกรรมการฟื้นฟูป่า (Reforestation) และในปัจจุบันมีพื้นที่เสื่อมโทรมเท่ากับ 2,020.21 ไร่ (พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและพื้นที่โล่ง) และจากการศึกษาความสอดคล้องของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ CDM ภาคป่าไม้ พบว่า เมื่อพิจารณากรณีฐานกับทั้งกรณีดำเนินและไม่ดำเนินโครงการ CDM ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเก็บกักคาร์บอน ดังนั้น การดำเนินโครงการ CDM ในพื้นที่ศึกษาจึงไม่มีประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Additionality) และเมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการลงทุน พบว่า ค่าใช้จ่ายในการเริ่มโครงการขั้นต่ำเท่ากับ 130,000 US$ (4,300,000 บาท) และพื้นที่ศึกษาสามารถขายคาร์บอนเครดิตได้ 29,495 US$(973,000 บาท) ต่อปี ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า โครงการ CDM ภาคป่าไม้ ในพื้นที่ศึกษา ไม่สอดคล้องกับหลักการและเงื่อนไขของโครงการ CDM ภาคป่าไม้ นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นโครงการค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายรับจากการขายคาร์บอนเครดิต ดังนั้นความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด ภาคป่าไม้ในพื้นที่ศึกษา จึงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ |
Other Abstract: | The assessment for possibility of applying the carbon credit trading based on the clean development mechanism (CDM) into the reforestation of Huay Sai Royal Development study center has been conducted. The assessment shows that the forest area has been increased since a reforestation project started in 1989. The current denuded forest in the area is about 2,020.21 rai (3.2 square kilometers). However, upon studying the scenario of having or not having the CDM project, there is no significant different in the carbon storage of both scenarios. Therefore, CDM does not have additionallity. On the other hand, the return of investment study shows that the return was much less than the investment; yearly return of 29,495 USD compared with the initial investment of 130,000 USD. The study concludes that the reforestation does not fit with the CDM criteria and the investment will give less benefit in return. Therefore, the priority to apply the CDM to the area is low. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60374 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Env - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Luechai Kr_Res_2554.pdf | 6.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.