Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60382
Title: | การเลือกดักจับแก๊สเรือนกระจกคาร์บอนไดออกไซด์จากแก๊สผสมกระแสไฮโดรเจนเข้มข้นบนตัวดูดซับของแข็งชนิดดินที่ดัดแปรหมู่ฟังก์ชันพื้นผิวด้วยเอมีน : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Selective carbon dioxide greenhouse gas capture from H2-rich strem on amine-functionalized clay solid sorbents |
Authors: | ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ก๊าซเรือนกระจก -- การดูดซึมและการดูดซับ คาร์บอนไดออกไซด์ -- การดูดซึมและการดูดซับ สารดูดซับ Greenhouse gases -- Absorption and adsorption Carbon dioxide -- Absorption and adsorption Sorbents |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมตัวดูดซับไฮโดรทาลไซต์ที่ผ่านการกระตุ้นด้วยความร้อนและด่าง และฟังก์ชันด้วยเตตระเอทิลีนเพนตะมีนที่ปริมาณความเข้มข้นต่างๆ และเพื่อหาสภาวะที่ดีที่สุดที่ทำให้ได้ค่าความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดด้วยการออกแบบและการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยศึกษาลักษณะเฉพาะของตัวดูดซับด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ ฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี การวิเคราะห์ธาตุธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และไนโตรเจน การหาพื้นที่ผิวจำเพาะหรือบีอีที และการวิเคราะห์การสลายตัวทางความร้อนหรือทีจีเอ การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ดำเนินการภายใต้ความดันบรรยากาศและสภาวะที่แห้ง เพื่อประเมินระดับความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญที่มีต่อค่าความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นผลตอบสนอง ผลกระทบหลักทั้งสี่ คือ ปริมาณเตตระเอทิลีนเพนตะมีนในตัวดูดซับ (ร้อยละ 30-40 โดยมวล) อุณหภูมิการดูดซับ (40-80 องศาเซลเซียส) อัตราส่วน W/F ratio (0.9-1.8 กรัม วินาทีต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) และความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (ร้อยละ 10-30 โดยปริมาตร) และอันตรกิริยาของผลกระทบหลัก ได้ถูกวิเคราะห์ด้วยการออกแบบ 24 แฟคทอเรียลเต็มรูปแบบ ซึ่งพบว่า ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มค่าในแต่ละผลกระทบหลักทั้งสี่ นั่นคือ ผลกระทบหลักทั้งสี่มีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ สภาวะที่ดีที่สุดที่ทำให้ได้ค่าความสามารถในการดูดซับที่สูงที่สุดโดยใช้การวิเคราะห์พื้นผิวตอบสนอง อยู่ในช่วงของปริมาณ TEPA ในตัวดูดซับ ร้อยละ 35-36 โดยมวล อุณหภูมิ 74-80 องศาเซลเซียส อัตราส่วน W/F 1.72-1.80 กรัม วินาทีต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และ ความเข้มข้นคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 27-30 โดยปริมาตร ซึ่งค่าความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้อยู่ในช่วง 6.1-6.2 มิลลิโมลต่อกรัม จากการทดสอบความคงทนของตัวดูดซับ พบว่า ตัวดูดซับมีความคงทนภายใต้สภาวะที่ศึกษา |
Other Abstract: | The aim of this study was to prepare the thermal- and basic-treated hydrotalcite (HT) functionalized with various levels of tetraethylenepentamine (TEPA) and to optimize CO₂ adsorption capacity via statistical design and analysis. The TEPA/HT sorbents were characterized by X-ray diffraction, Fourier transform infrared spectrometry, CHN analysis, Brunauer-Emmet-Teller and Thermogravimetric analysis. The operation of CO₂ capture was performed under atmospheric pressure and dry condition. The main effects, which were of TEPA loading (30-40% (w/w)), operating temperature (40-80 °C), W/F ratio (0.9-1.8 g s cm-3), and CO₂ concentration (10-30% (v/v)), and their interactions were employed to evaluate a significant influence on the CO₂ adsorption capacity by using a full 24 factorial design. The CO₂ adsorption capacity increased as each of these four main effects increased. Thus, the four main effects had a positive influence on the CO₂ adsorption. The optimal condition for CO₂ adsorption on TEPA/HT obtained by a response surface method (RSM) was TEPA loading of 35-36% (w/w), operating temperature of 74-80 °C, W/F ratio of 1.72-1.80 g s cm-3, and CO₂ concentration of 27-30% (v/v). The maximum CO₂ adsorption capacity was around 6.1-6.2 mmole g-1. The stability test for the CO₂ adsorption indicated that the sorbent was stable under the studied condition. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60382 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nutaya P_Res_2558.pdf | 994.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.