Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60462
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง
Other Titles: Factors related to quality of life in patients with obstructive uropathy receiving percutaneous nephrostomy
Authors: สุกัญญา คล้ายชู
Advisors: รุ้งระวี นาวีเจริญ
ศิรส จิตประไพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผู้ป่วย
คุณภาพชีวิต
Patients
Quality of life
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ประสบการณ์การมีอาการ และกลวิธีการจัดการกับอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการ แรงสนับสนุนทางสังคม และระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทำลายรอบสายระบายปัสสาวะ กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 95 คน ได้รับการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากการลุกลามของมะเร็งในอุ้งเชิงกรานและได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนังตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป กลับมารับการติดตามอาการและเปลี่ยนสายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง ที่โรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล คุณภาพชีวิต ประสบการณ์การมีอาการและกลวิธีการจัดการกับอาการ แรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสังเกตระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทำลาย คุณภาพของเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และเครื่องมือส่วนที่ 2-4 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91, .91 และ .93 ตามลำดับ เครื่องมือชุดที่ 5 ผ่านการตรวจสอบความเท่าเทียมกันของแบบสังเกต ได้ค่าความที่ยงเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนังอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 66.34, SD=14.55) 2. ประสบการณ์การมีอาการมีความสัมพันธ์ทางลบ (r= -.54, p<.05) แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวก (r= .27, p<.05) และระดับความรุนแรงของผิวหนังถูกทำลายมีความสัมพันธ์ทางลบ (r= -.35, p<.05) กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนัง 3. ประสบการณ์การมีอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการใส่สายระบายปัสสาวะที่กรวยไตผ่านผิวหนังจำนวน 95 คน ที่พบมากในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ ร้อยละ 50.5 มีอาการคันผิวหนังบริเวณที่ปิดพลาสเตอร์รอบสายระบาย รองลงมา คือ ร้อยละ 43.2 มีอาการท้องผูก ร้อยละ 36.8 มีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก ร้อยละ 36.8 รู้สึกเบื่ออาหาร และร้อยละ 33.7 มีอาการวิตกกังวล 4. กลวิธีการจัดการกับอาการ 5 อันดับแรกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับอาการเหล่านั้น คือ เช็ดผิวหนังรอบสายระบายด้วยแอลกอฮอล์เมื่อมีอาการคันผิวหนังบริเวณที่ปิด พลาสเตอร์รอบสายระบาย รับประทานยาระบายเมื่อมีอาการท้องผูก รับประทานยานอนหลับเมื่อมีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก เปลี่ยนประเภทอาหารเมื่อรู้สึกเบื่ออาหาร และ การเล่าให้ผู้อื่นฟังเมื่อวิตกกังวล
Other Abstract: This research aimed to study the quality of life, to investigate symptom experiences, symptom management strategies and to examine the relationships between symptom experiences, social support, severity of skin tissue damage and quality of life. Ninety-five participants using simple random sampling technique from those who had been diagnosed with obstructive uropathy due to pelvic malignancies receiving percutaneous nephrostomy more 3 months when who came to tertiary hospitals in Bangkok for their follow-up care and change percutaneous nephrostomy. Data were collected by using 5 parts of questionnaires: (1) Patient’s demographic data and treatment record forms, (2) The quality of life index, (3) The symptom experience assessment scale and symptom management strategies assessment, (4) Social support questionnaire and (5) The skin assessment tool. Content validity was examined by five experts. Internal consistency reliability for the second, the third and the fourth parts of the questionnaires tested by Cronbach’s alpha coefficient were 91, .91 and .93, respectively. The skin assessment tool tested by inter-rater reliability was .90. Descriptive statistics, Pearson's correlation and Spearman rank correlation coefficient were used in data analysis. The major results of this research were as follow: 1. The quality of life in the participants were at a moderate level (Mean= 66.34, SD=14.55). 2. Symptom experiences were negatively related to the quality of life with statistical significance (r= -.54, p<.05). Social support was positively related to the quality of life with statistical significance (r = .27, p<.05) and severity of skin tissue damage were negatively related to the quality of life with statistical significance (r = -.35, p< .05). 3. The top five symptom experiences were found in participants such as itching at the skin around percutaneous nephrostomy insertion, constipation, difficult sleeping, lacking of appetite and worrying. 4. The five symptom management strategies of participants included applying alcohol on itching the skin around percutaneous nephrostomy, having laxative for constipation, taking sleeping pill when difficult sleeping, changing the food category when lacking of appetite and talking to someone in case of worrying.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60462
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1119
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1119
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777360736.pdf16.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.