Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60523
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริเชษฐ์ สังขะมาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม-
dc.date.accessioned2018-11-01T06:05:21Z-
dc.date.available2018-11-01T06:05:21Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60523-
dc.description.abstractโครงการวิจัย “การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว กรณีศึกษาจังหวัดยโสธร (Value creation for processed rice products: a case study of Yasothon Province)” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบเชิงอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และจัดทำแนวทางในการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในจังหวัดยโสธร ขอบเขตและวิธีการวิจัย ประกอบด้วยการศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว และศักยภาพของจังหวัดยโสธรเพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว โดยดำเนินการศึกษาทบทวนนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ศึกษาโครงการฯ ทั้งในระดับชาติ ระดับหน่วยงาน และระดับพื้นที่ ตลอดจนการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวในพื้นที่โครงการฯ และเงื่อนไขการพัฒนาในเชิงพื้นที่ รวบรวมสถิติข้อมูล และการสำรวจภาคสนาม (Field Survey) มาวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวในจังหวัดยโสธร อุตสาหกรรมข้าวของประเทศไทย ประกอบด้วยการผลิตข้าว อุตสาหกรรมแปรรูปข้าว และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูป แต่โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอุตสาหกรรมแปรรูปจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสารแล้วจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยังมีน้อย ดังนั้น การต่อยอดให้กับข้าวไทยเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตข้าวสู่ “การผลิตข้าวเชิงคุณภาพ” และ "ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว" นับเป็นทางเลือกที่จะทำให้ไทยก้าวพ้นจาก ผู้นำส่งออกข้าว “เชิงปริมาณ” ไปสู่การเป็นผู้นำที่ส่งออก “ข้าวเชิงคุณภาพและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว” เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกท่ามกลางการแข่งขันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มรุนแรงยิ่งขึ้น การจัดทำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวของจังหวัดยโสธรนี้ มุ่งเน้นการเชื่อมโยงการพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) ของกระบวนการผลิตตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ (ต้นน้ำ) กระบวนการผลิตและแปรรูป (กลางน้ำตลอดจนการบริหารจัดการทางการตลาดเป้าหมาย (ปลายน้ำ) โดยมีระบบโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่งเป็นตัวกลางเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดย กระบวนการต้นน้ำ มุ่งเน้นดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตข้าวคุณภาพ ปลอดภัย มีโภชนาการสูงเพื่อสุขภาพ โดยนำเอางานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาดำเนินการให้มากขึ้น ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายเครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และจัดทำระบบข้อมูลและสารสนเทศข้าวอินทรีย์ กระบวนการกลางน้ำ มุ่งเน้นดำเนินการสนับสนุนให้สถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะสั้น ให้กับสหกรณ์การเกษตร/กลุ่มผู้ผลิตข้าว เพื่อการรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกมาแปรรูปและจำหน่าย ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สนับสนุนให้นำความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่แล้ว มาสร้างมูลค่าเพิ่มและคุณค่าเพิ่มจากการแปรรูปข้าว และสนับสนุนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าข้าวที่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค และสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์ กระบวนการปลายน้ำ มุ่งเน้นดำเนินการสนับสนุนการเพิ่มช่องทางการตลาดในทุกระดับ สนับสนุนให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศด้านการตลาดที่จะนำมาวางแผนการผลิตและการตลาด และประชาสัมพันธ์เชิงรุก ให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจข้าวอินทรีย์อย่างถูกต้อง เห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ของข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการจากผู้บริโภค สำหรับแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันจะต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐในการผลักดันการพัฒนาเชิงพื้นที่ การวางแผนการใช้พื้นที่/ที่ดิน เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม การขยายฐานการผลิตอุตสาหกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน Good Manufacturing Practice (GMP) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว เช่น การพัฒนาเครือข่ายคมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ ศูนย์กระจายสินค้าที่เชื่อมโยงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้นen_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2559en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectข้าว -- การแปรรูปen_US
dc.titleการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว : กรณีศึกษาจังหวัดยโสธรen_US
dc.title.alternativeValue creation for processed rice products: a case study of Yasothon Provinceen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.email.author[email protected]-
Appears in Collections:Social Research - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirichet S_Res_2559.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.