Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60577
Title: ปัญหาการยอมรับวิศวกรต่างด้าวที่ขึ้นบัญชีวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ) กับอาชีพสงวนตามกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานคนต่างด้าว : กรณีศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธา
Authors: กนิษฐา ศิริจันทรา
Advisors: ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: วิศวกร--วิศวกรโยธา
การรับรองแรงงานต่างด้าว
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันปัญหาอาคารถล่มเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง นำมาซึ่งความสูญเสียมากมาย รวมทั้งกระทบถึงเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการก่อสร้าง อาคารต่าง ๆ ทำให้อาชีพวิศวกรโดยเฉพาะวิศวกรโยธา ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับโครงสร้างรากฐานจึงมีความสำคัญและมีความจำเป็น เพราะลักษณะงานของอาชีพดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน โดยกระทบกับความมั่นคง แข็งแรงของตัวอาคาร อันเป็นความปลอดภัยสาธารณะนั่นเอง โดยวิชาชีพวิศวกรรมโยธา ซึ่งเป็น 1 ใน 39 อาชีพและวิชาชีพที่ถูกกำหนดไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่กระทบต่อความมั่นคงและประโยชน์ของประเทศชาติ ด้วยว่าเกี่ยวกับด้านสาธารณูปโภคของประเทศซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องทำการจัดหาให้แก่ประชาชนในประเทศ ในขณะที่แนวทางปฏิบัติของสภาวิศวกรได้ผ่อนปรนให้วิศวกรต่างด้าวเข้ามาประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธาได้ ภายใต้การขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ทำให้วิศวกรต่างด้าวกระทำการต่าง ๆ ได้ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงการลงนามรับรองออกแบบและคำนวณอาคารด้วย จากการศึกษาความเคร่งครัดของกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบที่ควบคุมวิชาชีพวิศวกรรมสาขาวิศวกรรมโยธา กับหลักในทางปฏิบัตินั้นยังมีความไม่สอดคล้องกัน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาและพบว่ามีผลกระทบในหลากหลายบริบท ดังเช่น ปัญหาในการเยียวยาความเสียหายในอนาคต, ปัญหาทางเศรษฐกิจ, ปัญหาทางสังคม และ ปัญหาความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ในวงจำกัด ได้แก่ ผู้ประกอบการ และเทคโนโลยีจากวิศวกรต่างด้าว ดังนั้นควรจะมีการจำกัดขอบอำนาจลักษณะงานที่อนุญาตให้วิศวกรต่างด้าวทำงานไม่ให้ขัดกับกฎหมายการทำงานคนต่างด้าว โดยมีการระบุไว้ให้ชัดเจนในกฎกระทรวงวิชาชีพวิศวกรรมถึงการพิจารณาคุณสมบัติวิศวกรต่างด้าว ที่มาทำการยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพระดับภาคีวิศวกรพิเศษและถึงแม้ว่า มีข้อยกเว้นสำหรับวิศวกรรมโยธาที่ชำนาญงานพิเศษ แต่ไม่สามารถรับรองได้แน่ชัดว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดจากการออกแบบและคำนวณอาคารจากวิศวกรโยธาต่างด้าวผู้ชำนาญงานพิเศษ และเมื่อเกิดความเสียหายเกิดปัญหาฟ้องร้องเยียวยากันในอนาคต อีกทั้งเป็นการยากที่ให้วิศวกรผู้นั้นมารับผิดทำ จึงเห็นสมควรให้แก้ไขขอบเขตอำนาจที่ระบุในกฎกระทรวงวิชาชีพวิศวกรรมไม่ให้วิศวกรต่างด้าวสาขาวิศวกรรมโยธากระทำการได้ หรืออีกแนวทางหนึ่งคือหากกระทำการได้ ต้องอยู่ภายใต้การรับรองจากวิศวกรโยธา
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60577
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.41
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2017.41
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61521 34.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.