Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60717
Title: | ผลของการใช้รูปแบบการสะท้อนคิดที่แตกต่างกันผ่านบล็อกในการเรียนแบบผสมผสานตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีต่อความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชน |
Other Titles: | Effects of using different patterns of reflective learning blog in blended learning with experiential learning on teamwork ability of mass communication students |
Authors: | รัชนันท์ เพชรจำนงค์ |
Advisors: | พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | บล็อก การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้แบบประสบการณ์ Blogs Teams in the workplace Experiential learning |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบในการเรียนแบบผสมผสานตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีต่อความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่เรียนแบบผสมผสานตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ กลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบกับกลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบไม่มีรูปแบบ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่เรียนแบบผสมผสานตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์ กลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบกับกลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบไม่มีรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ศูนย์เทเวศร์) จำนวน 55 คน เป็นกลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดแบบมีรูปแบบ (กลุ่มทดลอง) จำนวน 25 คนและกลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดแบบไม่มีรูปแบบ (กลุ่มควบคุม) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนการสอน 2) ระบบการจัดการเรียนรู้ (LMS) และเครื่องมือในการสะท้อนคิดผ่านบล็อก 3) แบบวัดความสามารถในการทำงานเป็นทีม 4) แบบประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานเป็นทีมและเกณฑ์ประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทางานเป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Sample และ t-test for Independent Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มสะท้อนคิดแบบมีรูปแบบ (กลุ่มทดลอง) มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการทำงานเป็นทีมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบกับกลุ่มที่มีการสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบไม่มีรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการทำงานเป็นทีมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มที่ใช้การสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบมีรูปแบบ(กลุ่มทดลอง) มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมสูงกว่ากลุ่มที่มีการสะท้อนคิดผ่านบล็อกแบบไม่มีรูปแบบ (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of research were to 1) study the effects of using patterns of reflective learning blog in blended learning with experiential learning on teamwork ability of mass communication students 2) compare teamwork ability of mass communications students between experimental group used a specific pattern of reflective learning blog and control group studied via non-pattern of reflective learning blog 3) compare teamwork behaviors of mass communications students between experimental group (used a specific pattern of reflective learning blog) and control group (studied via non-pattern of reflective learning blog). The samples of the study were 55 undergraduate students who enrolled for the Creative Thinking for Television and Radio Program in the first semester of the academic year of 2016 at the department of Radio and Television Boardcasting Technology, Faculty of Mass Communication Technology, Rajamangala University of Technology Pranakhon. The students were divided into 2 groups: 25 in experimental group and 30 students in control group. There were five research instruments: 1) 7 - weeks lesson plan 2) Learning Management System and reflective learning blog tool 3) a teamwork ability test 4) teamwork ability behaviors observation form. The data were analyzed by using mean, standard deviation, t-test for dependent sample, and t-test for independent sample. The results were as follows: 1) There was a statistical significant difference in teamwork ability of students study with specific pattern of reflective learning blog (experimental group) at .05 level of significance. 2) There was no statistical significant difference in teamwork ability between experimental group and control group at .05 level of significance. 3) There was statistical significant difference in teamwork ability behaviors between experimental group and control group at .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60717 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.51 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.51 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783356127.pdf | 6.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.