Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60758
Title: | การศึกษาความจำเพาะของการส่องกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิง ตามด้วยการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอล และการส่องกล้องคอนโฟคอล ในการตรวจคัดกรองมะเร็งหลอดอาหารระยะแรกชนิดสความัส ในผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งศีรษะและลำคอ |
Other Titles: | A study of specificity of narrow band imaging followed Bylugol’s chromoendoscopy and probe-based confocal laser endomicroscopy in screening for early esophageal squamous cell neoplasm in patients with head and neck cancers. |
Authors: | ธนวัฒน์ เหลืองสุขฤกษ์ |
Advisors: | รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร รภัส พิทยานนท์ ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | หลอดอาหาร -- มะเร็ง การตรวจคัดโรค Esophagus -- Cancer Medical screening |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บทนำ: ผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอชนิดสความัส เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งทุติยภูมิของหลอดอาหาร การย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจหารอยโรคมะเร็งหลอดอาหารชนิดสความัสระยะเริ่มต้น แต่เนื่องจากการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลมีความจำเพาะต่ำ และมีผลข้างเคียงมาก ปัจจุบันจึงมีความพยายามในการนำวิธีอื่นมาใช้เพื่อการตรวจเฝ้าระวัง กล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิงเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากขึ้น แต่การส่องกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิงเองยังไม่มีการศึกษาในการตรวจหารอยโรคมะเร็งหลอดอาหารชนิดสความัสระยะเริ่มแรก ที่เป็นรอยโรคการกลายเซลล์ระดับต่ำได้ จึงมีการนำกล้องคอนโฟคอลมาใช้เพื่อเพิ่มความจำเพาะให้กับรอยโรคที่ตรวจพบจากการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอล การวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์ในการเปรียบเทียบความสามารถในการวินิจฉัยของกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิง และการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลร่วมกับการตรวจด้วยกล้องคอนโฟคอล ในการตรวจหารอยโรคมะร็งหลอดอาหารชนิดสความัสระยะเริ่มแรก วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอชนิดสความัสที่เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับการส่องกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิง และตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา หลังจากนั้นผู้วิจัยจะทำการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลและตรวจรอยโรคที่พบด้วยกล้องคอนโฟคอล และตัดชิ้นเนื้อทุกรอยโรคที่ตรวจพบโดยการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอล เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบหาความจำเพาะในการวินิจฉัยรอยโรคมะเร็งหลอดอาหารชนิดสความัสระยะเริ่มแรก ผลการวิจัย: จากการส่องกล้องในผู้ป่วย 24 ราย ตรวจพบรอยโรคมะเร็งหลอดอาหารชนิดสความัสระยะเริ่มแรก 10 รอยโรค ในผู้ป่วย 8 ราย ซึ่งเป็นรอยโรคมะเร็ง 2 รอยโรค รอยโรคการกลายเซลล์ระดับสูง 5 รอยโรค และรอยโรคการกลายเซลล์ระดับต่ำ 3 รอยโรค ซึ่งเป็นรอยโรคที่ตรวจพบโดยกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิง 5 รอยโรค และการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอล 5 รอยโรค ซึ่งกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิง มีค่าความไวร้อยละ 50 และความจำเพาะร้อยละ 62.5 และไม่สามารถตรวจพบรอยโรคการกลายเซลล์ระดับต่ำได้เลย การย้อมสีหลอดอาหารร่วมกับการใช้กล้องคอนโฟคอลมีความไวร้อยละ 80 และความจำเพาะร้อยละ 66.7 จากการวิจัยนี้ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการส่องกล้อง สรุปผลการวิจัย: การส่องกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิง และการย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลร่วมกับการใช้กล้องคอนโฟคอล ยังเป็นวิธีที่มีความไวและความจำเพาะไม่เพียงพอในการนำมาตรวจหารอยโรคมะเร็งหลอดอาหารชนิดสความัสระยะเริ่มแรก การย้อมหลอดอาหารด้วยสารละลายลูกอลจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหารอยโรคดังกล่าว |
Other Abstract: | Introduction: Head and neck squamous cell cancer patients were high-risk to develop secondary esophageal squamous cell carcinoma. There were some recommendations to surveilance endoscopy. Lugol's chromoendoscopy was the gold standard to detect those lesions. But Lugol's chromoendoscopy had low specificity and many side effects. In present day, narrow band imaging is become widely use. But narrow band imaging could not detect low-grade dysplastic lesions. Confocal laser endomicroscopy was used to increase the specificity of Lugol's chromoendoscopy. This study aim to compare the specificity between narrow band imaging and Lugol's chromoendoscopy combined with confocal laser endomicroscopy in detection of early squamous cell neoplasm. Methods: Head and neck squamous cell cancer patients were enrolled to surveillance by narrow band imaging and biopsied the lesions. Then the investigator performed Lugol's chromoendoscopy combined with confocal laser endomicroscopy and biopsied all lesions. The investigator calculated the diagnostic performance from obtianed data. Results: Twenty-Four Head and neck squamous cell cancer patients were enrolled. Ten early squamous cell neoplastic lesions were detected in 8 patients. The lesions were 2 squamous cell carcinomas, 5 high-grade dysplastic lesions and 3 low-grade dysplastic lesions. Five lesions were detected by narrow band imaging and other 5 lesions were detected by Lugol's chromoendomicroscopy. The sensitivity and specificity of narrow band imaging were 50% and 62.5% respectively. And the sensitivity and specificity of Lugol's chromoendoscopy combined with confocal laser endomicroscopy were 80% and 66.7% respectively. there was no complication from endoscopy. Conclusion: The sensitivity and specificity of narrow band imaging and Lugol's chromoendoscopy combined with confocal laser endomicroscopy are still insufficient to detect early esophageal squalmous cell neoplasm. Lugol's chromoendoscopy is the best method to detect those lesions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60758 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1257 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1257 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874035330.pdf | 3.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.