Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60762
Title: | A Prospective and Retrospective Analytic Study of Infectious Cause of Encephalitis in Thailand |
Other Titles: | การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้าและย้อนหลัง เรื่องการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองอักเสบในประเทศไทย |
Authors: | Benjawan Skulsujirapa |
Advisors: | Opass Putchareon Abhinbhen Saraya Wasontiwong |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Medicine |
Advisor's Email: | [email protected] No information provided |
Subjects: | Japanese B encephalitis Virus diseases ไข้สมองอักเสบ โรคเกิดจากไวรัส |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Background: Previous reports of infectious encephalitis in Thailand showed viruses as major pathogens similar to worldwide data. Major viruses in studies varied among Japanese encephalitis, enteroviruses and herpesviruses. Infectious etiologies vary by regions, seasons and preventive strategies done. Dynamic change of pathogen is believed to occur continually. Local data in each region is important to develop an algorithm of investigations for the cost-effectiveness. Objectives: To study the etiology of encephalitis in a tertiary-care hospital using extensive tests Methods: This is a prospective study of patients with encephalitis between November 2016 to March 2017 and a retrospective review of the clinical data and prospective analysis of archived samples of patients with encephalitis who were admitted to the King Chulalongkorn Memorial hospital, a tertiary hospital in Bangkok, from January 2014 to October 2016. Microbiological and serological studies were done according to an algorithm based on initial cerebrospinal fluid analysis. Initial tests were for bacteria, fungus, mycobacterium and commonly prevalent viruses. In cases that initial results yielded negative findings, further testing for infectious etiology was done by stepwise approach. 9 family-wide polymerase chain reaction of viruses was performed to assess for infectious etiology. Results: Fifty-two patients were enrolled. Twenty-seven (51.9%) patients had no etiology identified. Three patients (5.8%) had bacterial etiology, 10 (19.2%) had viral etiology, and 12 (23%) had immune-mediated encephalitis. Varicella zoster virus was identified in 4 cases, HSV in 3 cases, CMV in 2 cases, measles in 1 case, L. monocytogenes in 2 cases and S. agalactiae in 1 case. No arbovirus nor emerging viral pathogens were identified. Six patients had anti-NMDA encephalitis, 3 cases had orobuccal dyskinesia, which was found only in anti-NMDA encephalitis in our study. Only 1 out of 6 patients was found to have teratoma. Baseline characteristic of HIV infection and the presence of skin rash were associated with viral etiology. Patients with VZV encephalitis might not have active skin lesion at the onset of neurological symptoms. Dysphasia was associated with infectious etiology, abnormal movement was associated with viral etiology and anti-NMDA encephalitis, motor weakness was associated with viral and unknown etiology. Cerebrospinal fluid profile of the immune-mediated encephalitis had the lowest number of white blood cells and protein. All patients survived at 7 days after admission. Conclusion: Infection caused by herpesviruses was the most prevalent viral etiology, similar to studies from most developed countries. Emerging viral pathogens were not detected to cause encephalitis in this study. A quarter of patients presenting with acute encephalitis in this study had immune-mediated encephalitis. Fewer ratio of anti-NMDA encephalitis patients with teratomas than in western case series. Autoimmune and paraneoplastic encephalitis should be kept in the differential diagnosis in patients with acute encephalitis. |
Other Abstract: | ที่มาของการวิจัย: ข้อมูลในอดีตของไข้สมองอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อในประเทศไทยพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่นเดียวกับข้อมูลส่วนใหญ่ที่พบทั่วโลก อย่างไรก็ตามข้อมูลในรายงานต่างมีสัดส่วนของไวรัสที่เป็นสาเหตุแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่ที่พบเป็นสาเหตุหลักสามลำดับแแรกคือ ไวรัสเจแปนนีส เอนเซปฟาลิติส, เอนเทอโรไวรัส, และเฮอร์ปีส์ไวรัส สาเหตุของไข้สมองอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีความแตกต่างกันขึ้นกับภูมิภาค, ฤดูกาล และมาตรการป้องกันการติดเชื้อที่หลากหลาย นอกจากนั้นยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางพลวัตของเชื้อต่างๆอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลปัจจุบันในแต่ละพื้นที่จึงมีความสำคัญในการพัฒนาลำดับชุดการตรวจหาสาเหตุที่เหมาะสมอันจะทำให้มีความคุ้มค่าต้นทุน-ประสิทธิผล วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสาเหตุของไข้สมองอักเสบในโรงพยาบาลตติยภูมิโดยการตรวจหาสาเหตุอย่างกว้างขวาง วิธีการวิจัย: เก็บข้อมูลผู้ป่วยไข้สมองอักเสบที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลตติยภูมิในกรุงเทพมหานคร โดยทำการศึกษาแบบไปข้างหน้าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 และการศึกษาย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ทำการตรวจทางจุลชีววิทยา และน้ำเหลืองวิทยาตามลำดับขั้นตอน โดยจำแนกตามผลการตรวจน้ำไขสันหลังเบื้องต้นในครั้งแรก ในขั้นตอนแรกมีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา, มัยโคแบคทีเรีย, และไวรัสที่พบเป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบได้บ่อย ในรายที่ผลการตรวจขั้นตอนแรกไม่พบสาเหตุจะได้รับการตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมเป็นขั้นตอน ในกรณีที่ยังไม่พบสาเหตุจะได้รับการตรวจด้วยวิธี family-wide polymerase chain reaction สำหรับไวรัส 9 วงศ์ที่เคยมีการรายงานว่าเป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบได้ ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 52 รายเข้าร่วมในการศึกษา 27 ราย (ร้อยละ 51.9) ตรวจไม่พบสาเหตุ, 10 ราย (ร้อยละ 19.2) พบสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส, 3 ราย (ร้อยละ 5.8) พบสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และ 12 ราย (ร้อยละ 23) พบสาเหตุจากความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน พบการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ 4 ราย, ไวรัสเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ 3 ราย, ไซโตเมกาโลไวรัส 2 ราย, ไวรัสมีเซิลส์ (ไวรัสหัด) 1 ราย, เชื้อแบคทีเรีย L. monocytogenes 2 ราย และเชื้อแบคทีเรีย S. agalactiae 1 ราย ตรวจไม่พบมีการติดเชื้อจากไวรัสที่นำโดยแมลง และไวรัสก่อโรคอุบัติใหม่ มีผู้ป่วย 6 รายได้รับการวินิจฉัยเป็น anti-NMDA encephalitis ในจำนวนนี้ 3 รายมีการเคลื่อนไหวของช่องปากและกระพุ้งแก้มผิดปกติ ซึ่งในการศึกษานี้ไม่พบความผิดปกติเช่นนี้ในสมองอักเสบจากสาเหตุอื่น และมีเพียง 1 รายที่พบมีเนื้องอก teratoma ร่วมด้วย ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีและมีอาการแสดงของผื่นพบมีความสัมพันธ์กับการเกิดไข้สมองอักเสบจากไวรัส ผู้ป่วยที่มีไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ อาจไม่พบการกำเริบของผื่นในช่วงเดียวกับที่เริ่มมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทได้ อาการ dysphasia มีความสัมพันธ์กับสมองอักเสบจากการติดเชื้อ, การเคลื่อนไหวผิดปกติมีความสัมพันธ์กับสมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสและ anti-NMDA encephalitis, อาการอ่อนแรงสัมพันธ์กับสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส และสมองอักเสบกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ การกรวดน้ำไขสันหลังพบว่า ในกลุ่มที่มีสมองอักเสบจากความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวและโปรตีนต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ สรุป: ในกลุ่มไข้สมองอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ พบว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์ปีส์มากที่สุด ซึ่งใกล้เคียงกับรายงานในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในการศึกษานี้ไม่พบว่ามีการติดเชื้อจากไวรัสก่อโรคอุบัติใหม่ หนึ่งในสี่พบว่ามีสมองอักเสบจากความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน โดยพบว่ามีสัดส่วนของ anti-NMDA encephalitis ที่สัมพันธ์กับเนื้องอก teratoma ในสัดส่วนที่ต่ำกว่ารายงานจากประเทศตะวันตก ควรนึกถึงภาวะไข้สมองอักเสบจากความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกันไว้ในการวินิจฉัยแยกโรคเสมอในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไข้สมองอักเสบ |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Medicine |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60762 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1716 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1716 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874041030.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.