Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61095
Title: | มาตรการการลดการบริโภคหวาน : ศึกษากรณีมาตรการภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ |
Authors: | อารียา เชิดเกียรติกุล |
Advisors: | วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สิทธิประโยชน์ทางภาษี ปริมาณความหวาน--ภาษี |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการการลดการบริโภคหวานโดยใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษารวบรวมเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ แนวคิดทฤษฎีเชิงเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการลดการบริโภค มาตรการการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบของประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี รวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากมาตรการการลดการบริโภคของประเทศไทยในปัจจุบัน แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ศึกษารวบรวมมาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบระหว่างมาตรการการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบของในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการกำหนดมาตรการการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบที่ชัดเจนและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากปัญหาของคนไทยที่มีการบริโภคสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรเป็นโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ จึงทำให้รัฐต้องเข้ามาดูแล แก้ไขปัญหา โดยต้องสูญเสียงบประมาณเพิ่มมากขึ้นในการจัดทำบริการด้านสาธารณสุข เพื่อรองรับประชาชนที่เจ็บป่วย ภาครัฐจึงมีการนำมาตรการทางภาษีเข้ามาช่วยดูแลเพื่อควบคุมพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบของประชาชน ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 และตามประกาศกฎกระทรวง เรื่องการกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ที่มีการประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 โดยมีการจัดเก็บอัตราภาษีตามมูลค่าและตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งจัดเก็บภาษีตามปริมาณความหวานของเครื่องดื่มผงและเครื่องดื่มเข้มข้นเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ซึ่งจากการศึกษามาตรการทางภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 และมาตรการอื่นที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีของประเทศไทยเปรียบเทียบกับมาตรการการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประเทศเม็กซิโกและเขตปกครองตนเองนาวาโฮ (Navajo Nation) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ายังคงมีประเด็นปัญหาของมาตรการทางภาษีเรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดประเภทสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นส่วนประกอบยังคงไม่ครอบคลุมประเภทของสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและมีรสหวานทั้งหมดที่ประชาชนไทยบริโภค อีกทั้งอัตราการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยในช่วงเริ่มต้นยังมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และเมื่อครบ 10 ปีที่มีการใช้อัตราภาษีสูงสุดแล้ว พบว่ายังมีสินค้าหลายชนิดที่มีการจัดเก็บอัตราภาษีต่ำกว่าร้อยละ 20 ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีของประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีน้ำตาลอย่างมีประสิทธิผล เช่น ประเทศเม็กซิโกและเขตปกครองตนเองนาวาโฮ (Navajo Nation) ประเทศสหรัฐอเมริกา และจึงอาจทำให้ไม่สามารถลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประชาชนลงได้ |
Description: | เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61095 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.7 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2017.7 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 62734 34.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.