Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61391
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา-
dc.contributor.authorอาทิตยา ปะทิเก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-02-26T13:38:20Z-
dc.date.available2019-02-26T13:38:20Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61391-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 คน กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนเพื่อร่วมกันศึกษาปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหา 2) การดำเนินการเพื่อร่วมกันลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้ร่วมกันออกแบบไว้ 3) การสังเกตเพื่อร่วมกันบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลที่ได้ปฏิบัติ และ 4) การสะท้อนผลเพื่อร่วมกันสะท้อนผลการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา โดยกลุ่มเกษตรกรเป็นผู้ใหญ่จึงต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิต เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม แบบบันทึกการสังเกต แบบวัดผลการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ และมีผลการวิจัยดังต่อไปนี้           ปัญหาหลักของกลุ่มเกษตรกร คือปัญหาด้านการจัดการผลผลิต โดยกลุ่มเกษตรกรร่วมกันเลือก 3 ปัญหาที่ต้องการแก้ไขมากที่สุด คือ 1) ปัญหาการตลาด โดยมีสาเหตุมาจากการขาดความรู้ด้านการตลาด แก้ปัญหาโดยวิธีการหาเครือข่าย สร้างไลน์กลุ่มเพื่อเป็นพื้นที่ในการขยายการตลาด ผลสำเร็จได้พื้นที่การตลาดเพิ่มขึ้นคือไลน์กลุ่ม 2) ปัญหาคนในพื้นที่ไม่นิยมรับประทาน โดยมีสาเหตุมาจากการที่คนในพื้นที่นิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก แก้ปัญหาโดยวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นไอศครีมและสบู่จากข้าวไรซ์เบอรี่ ผลสำเร็จได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวไรซ์เบอรี่ และ 3) ปัญหาบรรจุภัณฑ์ไม่สวย โดยมีสาเหตุมาจาก การที่ขาดความรู้ในการทำบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม แก้ไขปัญหาโดยการเรียนรู้การทำบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่สวยงาม รวมถึงร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ใหม่ ผลสำเร็จได้บรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่สวยงาม           ผลสะท้อนจากการปฏิบัติการวิจัย คือ กลุ่มเกษตรกรเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 1) กลุ่มเกษตรกรสามารถระบุปัญหา และหาสาเหตุของปัญหาได้ 2) กลุ่มเกษตรกรสามารถวางแผนในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี 3) กลุ่มเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามแผนงาน 4) กลุ่มเกษตรกรสามารถประเมินแนวทางการแก้ปัญหา สังเกต และปรับแก้แนวทางการแก้ปัญหาได้ และสะท้อนผลการเรียนรู้การแก้ปัญหาได้-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this action research was to promote learning to solve product management problem of farmers. Seventeen of Riceberry farmers from Na Dun district in Maha Sarakham were selected as samples. The 4 steps of action research process were: 1) Plan – to study problems and plan solutions; 2) Action – to co-operate on the plans; 3) Observe – to share record of information and result from action; and 4) Reflect – to share learning outcome in solving problems. The samples were assigned to create adult learning activities that enhance the solving-problem learning of product management. Research tools using in this study were interviewing record, group meeting record, group observing record, and learning measurement and satisfaction questionnaire to obtain accurate data from the field to analyzed data. The results of this research were as following:             The significant problem is about product management. Three urgent and indispensable problems needed to be solved are 1) lacking knowledge of the marketing – problem solving by creating farmers’ network and Line group to expand the marketing, 2) non-preferable product – problem solving by transforming Riceberry into ice-cream and soaps, and 3) unattractive packaging – problem solving by learning and creating the brand-new and appealing package and logo.              The result after reflections of this action research reveals that farmers have learned to solve the problems of product management. Firstly, they can identify problems and the cause of problems. Secondly, they can plan to solve problems. Moreover, they can take action by following the plan. Finally, not only can they assess, observe nor improve the problem solutions, but they also can reflect the learning from problem solving.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.723-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectวิจัยเชิงปฏิบัติการ-
dc.subjectการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน-
dc.subjectชาวนา-
dc.subjectไทย -- มหาสารคาม -- นาดูน-
dc.subjectAction research-
dc.subjectProblem-based learning-
dc.subjectRice farmers-
dc.subjectThailand -- Maha Sarakham -- Na Dun-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร-
dc.title.alternativeAction research for promoting learning to solve product management problems of farmers-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordการวิจัยเชิงปฏิบัติการ-
dc.subject.keywordการส่งเสริมการเรียนรู้-
dc.subject.keywordกลุ่มเกษตรกร-
dc.subject.keywordการจัดการผลผลิต-
dc.subject.keywordACTION RESEARCH-
dc.subject.keywordPROMOTING LEARNING-
dc.subject.keywordPRODUCT MANAGEMENT-
dc.subject.keywordFARMERS GROUP-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.723-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883398627.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.