Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61905
Title: การแสดงออกในระยะแรกของยีนใหม่ที่ตอบสนองต่อความเค็มในข้าว Oryza sativa L. หลังจากได้รับภาวะเครียดจากความเค็มและภาวะเครียดทางกายภาพต่าง ๆ
Other Titles: Early expression of the novel salt-responsive gene in rice Oryza sativa L. after salt and various abiotic stresses
Authors: นนทลี ชำนัญมนูญธรรม
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: ศุภจิตรา ชัชวาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: นิวคลีโอลิน
ภาวะเครียดจากความเค็ม
ยีน
Nucleolin
Oryza sativa L.
Heavy metal stress
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นิวคลีโอลิน (nucleolin) เป็น multifunctional protein ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมภายในเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างไรโบโซม พบมากบริเวณนิวคลีโอลัส ผลการศึกษาพบว่ายีนนิวคลีโอลิน (OsNUC1) ในข้าวพันธุ์ไม่ทนเค็ม คือ พันธุ์เหลืองประทิว123 (LPT123) และพันธุ์ขาวดอกมะลิ (KDML105) และข้าวสายพันธุ์ทนเค็ม คือ สายพันธุ์เหลืองประทิว123-TC171 (LPT123-TC171) และ FL530-introgression line (FL530-IL) มีการแสดงออกเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับภาวะเค็มภายใน 24 ชั่วโมง โดยมีระดับการแสดงออกสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงสุดที่ 12 ชั่วโมง ชี้นำว่ายีนนี้น่าจะมีการแสดงออกแบบ circadian rhythm เมื่อศึกษาอิทธิพลของกรดแอบไซซิก (ABA) ต่อการแสดงออกของยีน พบว่าเมื่อให้ ABA และ anti-ABA (abamineSG) จากภายนอกแก่ข้าวทั้งในภาวะปกติและภาวะเค็ม ไม่มีผลต่อการควบคุมการแสดงออกของยีน ชี้ให้เห็นว่าการแสดงออกของยีน OsNUC1 ถูกควบคุมผ่านทาง ABA-independent pathway นอกจากนี้หลังจากให้ภาวะเครียดทางกายภาพต่าง ๆ คือ ภาวะแล้ง ภาวะเครียดจากโลหะหนัก และภาวะเครียดจากอุณหภูมิต่ำแก่ข้าวสายพันธุ์ LPT123-TC171 พบว่ายีนนี้มีการแสดงออกเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับความเครียดจาก 100 µM CuSO₄ 100 µM CdCl₂ หรือภาวะแล้ง ในการศึกษาบทบาทของ RNA recognition motif (RRM) และ glycine-arginine rich (GAR) domain ของ นิวคลีโอลินต่อความสามารถในการทนต่อโลหะหนักโดยนำ Arabidopsis ที่ได้รับการถ่าย cDNA บางส่วนของนิวคลีโอลินที่สร้าง RRM และ GAR domain ภายใต้การควบคุมของ CaMV35S promoter มาเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่มีการเติม 25 50 และ 75 µM CuSO₄ หรือ 50 75 และ 100 µM CdCl₂ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า Arabidopsis ที่ได้รับการถ่ายยีนมีน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งมากกว่าพันธุ์ปกติในทุกชุดการทดลอง ยกเว้นในอาหารสูตร MS ที่มีการเติม 100 µM CdCl₂ น้ำหนักแห้งของทั้งพืชที่ได้รับการถ่ายยีนและพืชพันธุ์ปกติ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: Nucleolin is a multifunctional protein involving in metabolism of cells especially ribosome biogenesis. It mainly presents in the nucleolus. In this study, we investigated the Rice nucleolin (OsNUC1) gene expression in 4 rice cultivars/lines, which were salt-sensitive lines (LPT123 and KDML105) and salt-tolerance lines (LPT123-TC171 and FL530-IL). It was found that this gene was up-regulated after salt stress within 24 hours and was moderately higher until reaching a peak at 12 hours after salt stress. These characters suggest circadian rhythm expression pattern. To study the effects of abscisic acid (ABA) on OsNUC1 gene expression, exogenous ABA and anti-ABA (abamineSG) application does not regulate gene expression pattern. This suggested that OsNUC1 gene expression was regulated via ABA-independent pathway. Moreover, under various abiotic stresses, OsNUC1 gene expression in LPT123-TC171 rice line was up-regulated after stress with 100 µM CuSO₄, 100 µM CdCl₂ or drought. To investigate the influence of RNA recognition motif (RRM) and glycine-arginine rich (GAR) domain of rice nucleolin on heavy metal tolerance ability, transgenic Arabidopsis plants, containing partial OsNUC1 cDNA encoding RRM and GAR domain under CaMV35S promoter were used. It was found that transgenic Arabidopsis had a significant higher fresh weight and dry weight when grew in MS medium or MS medium containing 25, 50, 75 µM CuSO₄ or 50, 75 µM CdCl₂ for two weeks. However, growing in MS medium supplemented with 100 µM CdCl₂, the transgenic lines showed the higher fresh weight than wild type, but the dry weights of both transgenic lines and wild type plant were not statistically different.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61905
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2170
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2170
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5172326023_2552.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.