Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6205
Title: ผลของการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความพึงพอใจในงาน ของพยาบาลหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
Other Titles: Effects of using triage model based on acuity on consumers' satisfaction and nurses' job satisfaction, Emergency Department in Bangkok Metropolitan Medical College and Vajira Hospital
Authors: จันทรา จินดา
Advisors: สุวิณี วิวัฒน์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การคัดแยกผู้ป่วย
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ความพอใจในการทำงาน
พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
โรงพยาบาล -- บริการพยาบาลฉุกเฉิน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความพึงพอใจในงานของพยาบาล ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วย ตามระดับความเร่งด่วน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการ ในที่นี้หมายถึงญาติหรือผู้นำส่งผู้ป่วย ที่มาใช้บริการหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล จำนวน 60 คน และพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ใช้บริการ และแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .96 ตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ใช้บริการ หลังการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วย ตามระดับความเร่งด่วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ใช้บริการ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วย ตามระดับความเร่งด่วน ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2. ความพึงพอใจในงานของพยาบาล ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน แต่พบรายข้อ ด้านลักษณะงาน 2 ข้อ และรายข้อด้านการบังคับบัญชา 3 ข้อ ที่ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วย ตามระดับความเร่งด่วน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To compare the consumers satisfaction with nursing care and nurses job satisfaction before and after using the triage model based on acuity. The subjects consisted of 60 consumers and 33 nurses in Emergency Department, Bangkok Metropolitan Medical College and Vajira Hospital. The research instruments were developed by researcher : The triage model based on acuity and two sets of questionnaires named consumers nursing satisfaction and nurses job satisfaction. The questionnaires were tested for content validity and Cronbrach's alpha coefficient. The reliability were shown as .89 and .96. The major finding were as follow : 1. The consumers satisfaction with the information nursing care after using the triage model based on acuity were statistically significant higher than before using the triage model based on acuity at the .05 level. While the competency of nursing practice and the psychological of nursing after using the triage model based on acuity were not statistically significant higher than before using the triage model based on acuity at the .05 level. 2. The nurses job satisfaction after using the triage model based on acuity were not statistically significant higher than before using the triage model based on acuity at the .05 level. But there were two items of job characteristics and three items of organization were statistically significant higher than before using the triage model based on acuity at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6205
ISBN: 9741755805
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Juntra.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.