Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62094
Title: แนวทางการพัฒนาระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัยของรัฐแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Guidelines for the development of educational quality assurance systems and processes : a case study of graduate and research state university in Bangkok
Authors: ปิยพงษ์ คล้ายคลึง
Advisors: สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย
สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร
Educational quality assurance
Education, Higher -- Thailand
Universities and colleges -- Administration
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย (2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยใช้การวิจัยกรณีศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร และอยู่ในกลุ่มสถาบันเน้นการผลิตบัณฑิตและการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ การวิเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย จำแนกชนิดข้อมูล และเปรียบเทียบข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบการประกันคุณภาพ มี 3 องค์ประกอบดังนี้ (1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย นโยบาย กลไกการประกันคุณภาพระบบฐานข้อมูล บุคลากรและงบประมาณ (2) กระบวนการผลิต ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ การประเมินคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ (3) ผลผลิต ประกอบด้วย การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทย และผลการดำเนินงานเน้นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ส่วนกระบวนการประกันคุณภาพ มี 4 ขั้นตอนดังนี้ (1) การวางแผนการประกันคุณภาพ (2) การดำเนินงานตามแผน (3) การประเมินคุณภาพ และ (4) การปรับปรุงคุณภาพ 2. แนวทางการพัฒนาระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา มีดังนี้ (1) ด้านปัจจัยนำเข้า มหาวิทยาลัยควรจัดตั้งทีมนักวิจัยสถาบันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน พัฒนาระบบฐานข้อมูล สร้างระบบทดแทนและพัฒนาบุคลากร สร้างวัฒนธรรมคุณภาพในองค์กรร่วมกัน และเร่งสร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพ (2) ด้านกระบวนการผลิต มหาวิทยาลัยควรยกระดับคุณภาพของแผนปฏิบัติงานประจำปี สร้างเอกภาพของผู้ประเมินคุณภาพภายใน จัดอันดับเทียบเคียง (Benchmarking) เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพในการปรับปรุงการทำงาน ส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และวางพื้นฐานระบบบริหารคุณภาพ (ISO) ในสำนักงานคณบดี (3) ด้านผลผลิต มหาวิทยาลัยควรเร่งการปรับปรุงหลักสูตร พัฒนาระบบการประเมินการเรียนการสอน พัฒนาระบบการบริหารงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเผยแพร่และตีพิมพ์ผลงานวิจัย กระจายการบริการวิชาการ พัฒนาการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้มีความหลากหลาย ส่งเสริมงานวิจัยของบัณฑิตศึกษาให้สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างแท้จริง และในด้านผลผลิตที่เป็นจุดเน้นหรือเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ควรรักษาความโดดเด่นทางด้านศึกษาศาสตร์ และขยายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพยายามพัฒนา ทุกศาสตร์ เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิตและการวิจัยที่สมบูรณ์แบบ
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to analyze educational quality assurance systems and processes of a university and (2) to study guidelines for the development of educational quality assurance systems and processes of a university. The research employed; a case study method. The case study was a state university in Bangkok, which characterized as a teaching and research. The data collecting technicque were observation, interviews, focus group discussion, and document analysis. The data were analysed by inductive analysis, typological analysis, and constant comparative method. Research findings were as follows : 1. The educational quality assurance system composed of three factors. Firstly, inputs consisted of policy, mechanism of quality assurance, data base systems, personnel and budgeting. Secondly, process consisted of quality control, quality audit, quality assessment and quality development and thirdly, outputs consisted of graduate, research, academic services, and heritage and preservation Thai culture. The quality processes had four stages. (1) planning quality assurance, (2) doing according to the quality assurance plan, (3) assessing quality, and (4) improvement of the action quality. 2. Guidelines for the development of educational quality assurance systems and processes covered inputs, process, and outputs as follows. The university ought to set up an institution research team to increase process efficiency, develop database, maintain and develop personnel, creat quality culture in the organization, and create quality assurance network. The university ought to improve quality of the annual action plan, unitify internal quality auditors, benchmark, increase quality activities for processes improvement, encourage quality assurance research, and lay out the foundation ISO system in faculty offices. Furthermore, the university ought to improve curriculum and evaluation system, develop management research system, encourage publicizing of the research, extend academic services, heritage and preserve Thai culture, and encourage students to develop new body of knowledge though their research. Finally, the university ought to heritage the significance of Education Science and expand Science and Technology together with others academic areas in enchancing a quality teaching and research university.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62094
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.139
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.139
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyapong Khaikleng.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.