Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/622
Title: | การจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Environmental management of food processing industry |
Authors: | อัจฉรา จันทร์ฉาย อรรณพ ตันละมัย |
Email: | [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ |
Subjects: | อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมอาหาร การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายด้านการจัดสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยศึกษาทางด้านการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินและบัญชี รวมทั้งจิตสำนึกความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของผู้บริหาร ทั้งนี้เพื่อที่จะค้นหาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการสิ่งแวดล้อมอันจะนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาให้อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ขั้นตอนในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ การดำเนินการของอุตสาหกรรมอาหารและการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งของภาครัฐ เอกชน และต่างประเทศ เพื่อที่จะนำข้อมูลมาพัฒนาแบบสอบถาม หลังจากที่มีการทดสอบและแก้ไขแบบสอบถามแล้วจึงนำไปสอบถามธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเลือกตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง จำแนกตาอุตสาหกรรมอาหารเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อุตสาหกรรมแปรรูปข้าว อุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมแปรรูปปศุสัตว์ เลือกมากลุ่มละ 50 ตัวอย่าง รวมเป็น 200 ตัวอย่าง หลังจากนั้นจะมีการสัมภาษณ์ลึกผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร แล้วจึงนำผลมาประมวลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติอ้างอิงด้วย SPSS-PC ผลจากการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ส่งออกเข้าประเทศถึง 150,575 ล้านบาท โดยในปี 2539 มีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 4.5 มีโรงงานอาหาร 13,832 โรง มีจำนวนคนงานทั้งสิ้นประมาณ 500,000 คน จึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกสูงและนำรายได้เข้าประเทศมหาศาล แต่อุตสาหกรรมอาหารก็ประสบปัญหาในการนำเข้าประเทษคู่ค้าเพราะโดนกีดกันด้วยมาตรการต่าง ๆ ทั้งมาตรการภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย ซึงเป็นข้อกำหนดทางเทคนิคเกี่ยวกับคุณภาพ และความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมจากแบบสอบถามที่ส่งออกไป 200 ราย ได้คืนมา 165 ราย ธุรกิจส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 11 ปี มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 50 ล้านบาท มูลค่าสินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 100-600 ล้านบาท ยอดขายส่วนใหญ่สูงกว่า 500 ล้านบาท มีการส่งออกมากกว่า 75% มีจำนวนพนักงานมากกว่า 300 คนขึ้นไป 1 ใน 4 ของธุรกิจที่ตอบแบบสอบถามได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่สมัครใจในการวางนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและมีการวางแผนการจัดการสิ่แวดล้อม แต่ยังขาดหน่วยงานที่ ดูแลรับผิดชอบการจัดการสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่แล้วธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่า มียอดขายสูงกว่า มีการส่งออกต่างประเทศ จะมีการลงทุนในการจัดการสิ่งแวดล้อมสูงกว่าในหลาย ๆ ด้าน โดยทั่วไปแล้วธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารได้รับทราบข่าวการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจและไม่ได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อม ธุรกิจจะพิจารณาปริมาณของเสียที่ลดลงเป็นเกณฑ์ในการประเมินความสำเร็จด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ การลดพลังงาน การลดปริมาณขยะ และการลดการใช้ทรัพยากร ส่วนประโยชน์ที่ธุรกิจได้รับจากการจัดการสิ่งแวดล้อม อันดับแรกคือ ลดค่าใช้จ่าย ประหยัดพลังงานและวัตถุดิบ รองลงมาคือ เป็นการเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทพอ ๆกับรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชนและสังคม สิ่งที่ธุรกิจได้ทำในการจัดการด้านการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมนั้น ที่สำคัญมากที่สุดคือ การผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ สินค้ามีคำแนะนำในการใช้หีบห่อที่ใช้ลดสิ่งที่ก่อให้เกิดขยะน้อยลง หีบห่อทำจากวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ สามารถนำมาเติมหรือย่อยสลายทางชีวได้ และธุรกิจมีการใช่กลยุทธ์ด้านสร้างความแตกต่างโดยเน้นเป็นสินค้าที่คำนึงด้านสิ่งแวดล้อมในการสอบถามด้านการจัดการการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป พบว่าธุรกิจเกือบทุกประเภทของอุตสาหกรรมได้ดำเนินกลยุทธ์ต่าง ๆในโรงงานในด้านต่าง ๆ คือ ประหยัดการใช้พลังงาน ประหยัดน่ำ ลดกากของเสีย ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มีกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีการกำจัดขยะหรือของเสียที่เป็นพิษ มีการจัดการด้านความปลอดภัยในโรงงาน มีการใช้หลอดไฟหรือเครื่องจักรประหยัดพลังงาน มีการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อย่างสม่ำเสมอ กิจกรรมที่โรงงานทุกประเภทของอุตสาหกรรมทำกันน้อยมาก คือ การวิเคราะห์วงจรชีวิต ใน้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปมีการรณรงค์ประหยัดไฟ ประหยัดน้ำ ประหยัดวัสดุสิ้นเปลืองมากที่สุด รองลงมา คือ การตรวจสุขภาพอนามัย และอบรมพนักงานให้มีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปมีการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมน้อย ครึ่งหนึ่งลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท การลงทุนส่วนใหญ่เป็นด้านกำจัดน้ำเสีย และไม่ค่อยได้จดบันทึกหรือทำบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมผู้บริหารส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปประเมินว่า ธุรกิจของตนมีประสิทธิภาพการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) เทคโนโลยีด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่แตกต่างจากผู้อื่น โดยรวมแล้วธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารได้รับมาตรบาน สมอ. มากที่สุด รองลงมาคือ HACCP ISO 9000 (มาตรฐานด้านคุณภาพ) ส่วนมาตรฐาน ISO 14000 ได้รับน้อยมาก จากการประชุมรายงานผลการวิจัยได้มีข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการตลาด การผลิต การจัดการทรัพยากรมนุษย์แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐ ธุรกิจ และประชาชนทั่วไปที่แต่ละฝ่ายจะต้องมีบทบาทร่วมกันในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปแล้วภาครัฐจะต้องมีการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ออกมาตรการกฎหมายควบคุม และช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจและประชาชนให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ด้านธุรกิจจะต้องผลิตสินค้าที่ไม่ทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ด้านประชาชนทั่วไปจะต้องให้ความสนใจและมีจิตสำนึกที่ดีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมได้มีการพัฒนากรณีศึกษาขึ้น เพื่อใช้ในการฝึกอบรมผู้บริหารในการจัดการสิ่งแวดล้อม |
Other Abstract: | The purpose of this project was to study the policy and system of environmental management of the food processing industry. The study will cover production, marketing human resource management, accounting and finance, and attitudes and perception of management toward environmental management. The research is intended to find problems and barrier of the environmental management. Results of the study will be used to set guideline for developing better environmental management of food processing industry. The research stated with collecting secondary data on the operations of food industry and environmental management of government sector, business sector and other countries. The data was used to develop questionnaire which was tested and modified before mailing to business companies. Samples were selected, using stratified sampling techniques, from four types of food processing industries - Rice Processing, Fruit & Vegetable Processing, Seafood Processing, and Paultry Processing. Each type of industry contains 50 samples which make the total sample equal to 200. Data from returned questionnaire were analyzed by SPSS-PC using descriptive statistics and inferential statistics. Results from the study showed that Food Processing Industry generates the export revenue of 150,575 million baths for the country in 1996 at the growth rate of 4.5%. There were13,832 food manufacturing plants hiring more than 500,000 workers. Even though the industry brought a hugh sum of export money into the country, the industry still faced barriers from trading countries. These barriers include tariff as well as non-tariff measurements, particularly the hygiene measurements. These hygiene measurements, such as CODEX, HACCP, and ISO 14000, issue various regulations for the protection of consumer's health and workers' safety.From the 200 samples that the questionnaire were mailed, there were 165 returned. The majority of the companies responded can be described as a young medium size companied with the registered capital less than 50 million baths, the assets between 100-600 million baths, the years of operation less than 11, sales revenue more than 500 million baths, and number of employees more than 300. Three-fourth of the responded are the exporter and one-fourth received the BOI privilege. Most of the companies voluntarily set up the policy and planning of environmental management, however, they did not have any formal organization in charge of environmental management. In general, the export companies with bigger size and, higher revenue, invested more on environmental management in many areas.Most of the companies in food processing industry received little information about environmental campaign. In fact, they were not interested and did not receive any award related to environment. The important criteria the company used to evaluate the success of environmental management is reduction on waste, followed by reduction on energy hazard and resources consumption. The benefit the companies gained from environmental management are reduction in expenses, saving on energy and raw material, creation of good image, and keeping good relationship with the community and society. On the marketing aspect, the most important thing the company did was producing products that are friendly to the environment followed by products having instruction for usage, packaging that reduce waste, packaging used recycle material and packaging that can be refilled or biological decay. The companies used product differentiation strategy by focusing on the products that are friendly to the environment. On the questions asking about production management of food processing industry, it was found that most of the companies had implemented many strategies in the manufacturing plants including energy saving, water saving, wasted reduction, saving in resource consumption, having production process that did not create pollution, treatment of waste and hazardous material, safety management, using light-bulbs and machines that save energy, having regular maintenance on machines and equipments. The activity that very few companies implemented was the Life Cycle Analysis. On the human resource management aspect, most of the companies in food processing industry organized campaigns for the saving on electricity, water, and material, followed by health check-up, and training workforce to have good attitude toward environment. Companies in food industry invested very little on the environment, half of them invested less than 10 million baths. Most of the investment were on waste water treatment. They neither recorded nor having any accounting system for environmental management. Besides, they did not invested on research and development of the environment. Most of the executive in food processing industry considered that their own companies are comparable with the industry on the efficiency of environmental management, standard of environmental management, technology of environmental management and participation of employees. Considering the standard granted, most of the companies were awarded the TISI the most, followed by HACCP and ISO 9000. Only few companies received ISO 1400. Results from the meeting to present preliminary research study, there are many recommendations for the development of environmental management in the area of marketing production and human resources for all sectors involved including government, business, and people. The government must set the policy and issue regulation to protect environment, and promote the concern of business and people on the environment. The business must produce products that are friendly to the environment. The people must concern and have good attitude toward the environment. Case studies were developed to be used for the training of executives on environmental management. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/622 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Acctn - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Achara_foodprocess.pdf | 24.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.