Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62438
Title: | การวิเคราะห์ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Analysis of the performance appraisal system of staff nurses in gorvernments hospitals, Bangkok Metropolitan Area |
Authors: | วิริยา สุขน้อย |
Advisors: | จินตนา ยูนิพันธุ์ อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การประเมินผลงาน พยาบาลประจำการ Job evaluation Nurses |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนนำเข้าของระบบกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน และผลลัพธ์ของระบบ กลุ่มตัวอย่างคือ แบบฟอร์มการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของพยาบาลประจำการทุกชุดที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง จำนวน 201 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวิเคราะห์ แบบฟอร์มการประเมินผล และแบบสอบถามการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น และตรวจสอบหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .87 วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ และการทอดสอบไคว์-สแคว์ ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานครทุกสังกัดมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการส่วนใหญ่คือ หัวหน้าหอผู้ป่วย (97.5) แบบฟอร์มการประเมินผลที่ใช้ส่วนใหญ่คือ แบบคุณลักษณะและประสิทธิผล (50%) รองลงมาคือ แบบพฤติกรรม (38.5%) วิธีการประเมินผลที่ปรากฏในแบบฟอร์มการประเมินคือ การพิจารณาตามเครื่องมือวัด (75%) ที่เหลือเป็นการให้คะแนนดิบ แบบฟอร์มการประเมินผลมีส่วนประกอบของแบบฟอร์มไม่ครบทั้ง 5 ส่วน โดยมีส่วนของสรุปผลการประเมินมากที่สุด (75%) 2. กระบวนการการประเมินผลการปฏิบัติงานพบว่า มีกระบวนการการประเมินผลการปฏิบัติงานครบทั้ง 5 องค์ประกอบ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินส่วนใหญ่เพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับให้พยาบาลประจำการ (81.1) หัวหน้าหอผู้ป่วยส่วนใหญ่มีวิธีการรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการคือสังเกตการทำงาน แล้วจดบันทึกไว้ (88%) ส่วนใหญ่หัวหน้าหอผู้ป่วยจะแจ้งและอภิปรายผลการประเมินกับพยาบาลประจำการเป็นรายบุคคล (79.7%) การนำผลการประเมินไปใช้ส่วนใหญ่คือ เป็นหลักฐานในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพยาบาลประจำการ (77.6%) รองลงมาคือ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเลื่อนตำแหน่ง (66.1) 3. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในด้านการรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงาน และด้านการแจ้งและอภิปรายผลการประเมินในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามสังกัดพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to analyse the staff nurses performance appraisal system in governmental hospitals, Bangkok Metropolis. The performance appraisal system was studied in the aspects of inputs, process and its outcomes. The sample consisted of performance appraisal forms used in every hospitals and 210 head nurses, selected by multistage sampling. Questionnaire was used in data collection. The instrument had been developed by the researcher and tested for content validity by 10 experts. The Kuder-Richardson reliability of the questionnaire was.87. Percentage and chi-square test were used in data analysis. The major findings were as followed: 1. All governmental hospitals in Bangkok systematically used staff nurses' performance appraisal system. The appraiser, mostly were head nurses (97.5%). The performance appraisal forms mostly were trait and objective based (50 % and 38.5%, respectively). In addition, graphic rating scale was mostly used (75%) as the method of performance appraisal and the rest used raw scores. The components of performance appraisal forms were not completed. The focus of such forms was the summary part. 2. The process of performance appraisal in governmental hospitals comprised of all expected aspects. Most of head nurses reported that the performance appraisal goal was to give feedback to staff nurses (81.1%). The majority of head nurses collected data regarding the nurses' performance by observation and anecdotal record. After appraisal, head nurses would discussed with staff nurses (79.7%). Head nurses indicated that the outcome of the performance appr[ai]sal was used as a document of staff nurses behavioral changes (77.6%) and data for promotion (66.1%) 3. The means scores of the process of performance appraisal in the aspects of data collection, and discussion of the results, of hospital in different jurisdiction were statistically different at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62438 |
ISBN: | 9746328549 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wiriya_su_front_p.pdf | 6.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wiriya_su_ch1_p.pdf | 5.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wiriya_su_ch2_p.pdf | 31.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wiriya_su_ch3_p.pdf | 4.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wiriya_su_ch4_p.pdf | 16.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wiriya_su_ch5_p.pdf | 11.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wiriya_su_back_p.pdf | 15.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.