Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62593
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ-
dc.contributor.authorวรวัฒน์ ชาญนรา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-08-07T09:37:11Z-
dc.date.available2019-08-07T09:37:11Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62593-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวบ่งชี้การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 720 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยคือ การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้แก่ การรู้และกำหนดขอบเขต การเข้าถึงสารสนเทศ การประเมินคุณค่า การจัดการ การบูรณาการ คุณธรรมจริยธรรม ความตระหนัก และการสื่อสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามระดับพฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีความเที่ยงเท่ากับ 0.891 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษาพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 238.03, df = 217 , p = 0.156 , GFI = 0.98 , AGFI = 0.96 , RMR = 0.01) โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานเรียงจากมากไปน้อยในการบ่งชี้การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้แก่ การบูรณาการ (INTE) การเข้าถึงสารสนเทศ (ACC) การประเมินคุณค่า (EVA) คุณธรรมจริยธรรม (ETH) ความตระหนัก (AWARE) การจัดการ (MAN) การรู้และกำหนดขอบเขต (DEF) และการสื่อสาร (COMM) ตามลำดับ โดยองค์ประกอบแต่ละด้านมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.96, 0.94, 0.93, 0.93, 0.93, 0.92, 0.91 และ 0.89 ตามลำดับ และมีการแปรผันร่วมกับการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษาได้ประมาณร้อยละ 92, 89, 87, 86, 87, 84, 83, และ 79 ตามลำดับ 2. ตัวบ่งชี้มีน้ำหนักความสำคัญในการบ่งชี้การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานของตัวบ่งชี้ทั้ง 27 ตัวมีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.31 – 0.84 โดยตัวบ่งชี้ที่มีน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานมากที่สุด 6 อันดับแรกได้แก่ สามารถประยุกต์ใช้สารสนเทศเดิมและใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงาน เห็นคุณค่าของการรู้สารสนเทศ สามารถอธิบายและใช้เกณฑ์เบื้องต้น สามารถสืบค้นสารสนเทศได้โดยใช้วิธีที่หลากหลาย สามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศและ สามารถสังเคราะห์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to analyze and validate the indicators of information and communication technology literacy of secondary school students. The participants of this research were 720 secondary school students. The research variable were definition, accession, evaluation, management, integration, ethical, awareness and communication. The questionare having reliability were 0.891. Analyzed the data by SPSS for descriptive statistics through and LISREL for confirmatory factor analysis and second order confirmatory factor analysis. The research results were as follow. 1. The results of secondary order confirmatory factor analysis the model of information and communication technology literacy of secondary school students were found the model was fit to the empirical data ( X² = 238.03, df = 217, p = 0.156, GFI = 0.98, AGFI = 0.96, RMR = 0.01). Standard factor loading value sort descending were integration, accession, evaluation, ethical, awareness, management, definition and communication which had standard factor loading value were 0.96 0.94 0.93 0.93 0.93 0.92 0.91 and 0.89 respectively. The model accounted for 92% 89% 87% 86% 87% 84% 83% and 79% respectively. 2. The indicators which had factor loading that indicate the information and communication technology literacy at 0.01 significant level total 27 indicators. Standard factor loading of 27 indicators were positive, their size were from 0.31 – 0.84. The sixth highest standard factor loading indicators were able to apply old and new information for creating product, valuation of information literacy, able to describe and use basic criteria, able to search information by many ways, able to conclude main idea from information and able to synthesize for new idea respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.343-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.subjectการรู้สารสนเทศen_US
dc.subjectตัวบ่งชี้ทางการศึกษาen_US
dc.subjectEducational indicatorsen_US
dc.subjectInformation literacyen_US
dc.subjectHigh schools -- Studentsen_US
dc.titleการวิเคราะห์ตัวบ่งชี้การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.title.alternativeAnalysis of indicators of information and communication technology literacy of secondary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.343-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worawat Channara.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.