Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62629
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตมะเขือเทศและข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูป ระหว่างโรงงานในโครงการหลวงอาหารสำเร็จรูป |
Other Titles: | Comparative study on production cost of tomoto and baby corn products of Royal Project Food Processing Section |
Authors: | วิญชัย อุ่นอดิเรกกุล |
Advisors: | ดนุชา คุณพนิชกิจ วิสาขา ภูมิรัตน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | โครงการโรงงานหลวงสำเร็จรูป มะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อน น้ำมะเขือเทศ Tomatoes Baby corn Tomato juice |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตมะเขือเทศและข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูประหว่างโรงงานในโครงการหลวงอาหารสำเร็จรูป 4 โรงงาน ในภาคเหนือโรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่ที่จังหวัดสกลนครและจังหวัดบุรีรัมย์ จากการศึกษาโครงสร้างต้นทุนการผลิตพบว่า ทุกโรงงานมีโครงสร้างต้นทุนที่สำคัญเหมือนกัน คือวัตถุดิบ ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตโดยเฉพาะส่วนที่เป็นค่าภาชนะบรรจุใช้ไปและค่าเชื้อเพลิงใช้ไป ค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ ได้แก่ ค่าสารเคมี เงินเดือน ค่าวัสดุใช้ไป ค่าซ่อมแซมและค่าเสื่อมราคา การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การวิเคราะห์รายเดือนแล้วรวมเฉลี่ยเป็นรายปี ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะปี พ.ศ.2531 เพื่อดูความแตกต่างของต้นทุนในแต่ละเดือน และการวิเคราะห์เป็นรายปีรวม 3 ปี ในปี พ.ศ.2529 ถึง พ.ศ.2531 เพื่อดูแนวโน้มของต้นทุน ซึ่งพบว่าลดลงเนื่องจากการพัฒนาระบบการผลิตและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ผลการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตในปี พ.ศ.2531 สรุปได้ว่าโรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีต้นทุนการผลิตมะเขือเทศสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมต่ำกว่าโรงงานในภาคเหนือ แต่มีต้นทุนการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมสูงกว่า ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างในปริมาณวัตถุดิบ ปริมาณการผลิต และวิธีการใช้ปัจจัยการผลิต สำหรับการวิเคราะห์ในช่วง 3 ปี สรุปได้ว่าต้นทุนการผลิตมะเขือเทศและข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของโรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ำกว่าภาคเหนือ จากการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สรุปได้ว่าต้นทุนการผลิตมะเขือเทศและข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมระหว่างโรงงานในแต่ละภาคส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตมะเขือเทศสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของโรงงานในภาคเหนือไม่สูงกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญ และต้นทุนการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของโรงงานในภาคเหนือก็ไม่ต่ำกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน การศึกษาทำให้ทราบถึงปัญหาด้านการผลิตที่โรงงานประสบอยู่ คือ การที่วัตถุดิบมีลักษณะเป็นผลผลิตตามฤดูกาลโดยเฉพาะมะเขือเทศ ทำให้มีผลต่อการบริหารแรงงานและการวางแผนการผลิต ปัญหาการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร รวมทั้งปัญหาการรวบรวมข้อมูลด้านการผลิตและการคำนวณต้นทุนการผลิตให้เป็นไปในแนวเดียวกันทุกโรงงาน เพื่อสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อการบริหารได้มากยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | The objective of this study is to compare production costs of tomato and baby corn products of Royal Project Food Processing Section which is located in two regions of Thailand. In the Northern region, the factories are in Chiangmai and Chiangrai and in the Northeastern region, they are in Sakon Nakhon and Buriram. The main production costs are direct material, direct labor, and factory overhead especially canning and fuel costs. Other factory overhead costs are electricity, chemicals, salary, maintenance, and depreciation. The monthly analysis for the year 1988 and the annual analysis from the year 1986 to the year 1988 were conducted. The monthly analysis based on 1988 data indicate the variation of production costs among months. The annual analysis revealed the trend of production costs which decreased due to production system improvements and the introduction of new technology. The monthly analysis in 1988 for tomato products showed that the average production cost per kilogram of the Northeastern plants was lower than those of the Northern ones. However, the average production cost per kilogram for baby corn products turned out to be higher. This is due to differences in the amount of raw materials used, the amount of products produced, and the utilization of other input factors. The three-year analysis showed that the production cost per kilogram of the Northeastern plants was lower than those of the Northern ones. The production cost per kilogram between plants in each region were not significantly difference. The statistical tests revealed that the production cost of tomato products of the Northern plants are not significantly higher than those of the Northeastern ones. For baby corn products, the production cost per kilogram were not significantly lower than those of the Northeastern ones. Because the raw materials are agricultural products, the production process is inconsistently supplied and so the labor management and production schedule are affected. Other problems encountered involve human resource development, a production information system, and a cost accounting system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62629 |
ISBN: | 9745813176 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Winchai_oo_front.pdf | 9.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winchai_oo_ch1.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winchai_oo_ch2.pdf | 363.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winchai_oo_ch3.pdf | 106.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winchai_oo_ch4.pdf | 12.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winchai_oo_ch5.pdf | 11.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Winchai_oo_back.pdf | 220.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.