Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62720
Title: | ผลของการฟังดนตรีต่อระดับความวิตกกังวลของนักกีฬา |
Other Titles: | Effect of listening music on anxiety level of athletes |
Authors: | สารรัตน์ วุฒิอาภา |
Advisors: | รวิวรรณ นิวาตพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ดนตรีบำบัด นักกีฬา ความวิตกกังวล Music therapy Athletes Anxiety |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่ม วัดระดับความวิตกกังวลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการฟังดนตรีต่อระดับความวิตกกังวลของนักกีฬา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาชายและหญิงในทีมบาสเกตบอลและวอลเลย์บอลของวิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพ คัดเลือกนักกีฬาเข้าศึกษาตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้ว โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน มีเพศชายและหญิงอยู่ในแต่ละกลุ่มจำนวนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับการจัดดนตรีให้ฟังอาทิตย์ละ 2 วัน ครั้งละ 30 นาที รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง กลุ่มควบคุมไม่ได้รับการจัดดนตรีให้ฟัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบวัดความวิตกกังวลต่อการแข่งขันกีฬา (CSAI-2) ซึ่งผู้วิจัยแปลเป็นภาษาไทย และตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและเทปบันทึกเสียงดนตรีที่ผู้วิจัยคัดสรรขึ้น และตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดย วัดคะแนนความวิตกกังวลของนักกีฬาทั้งสองกลุ่มก่อนเริ่มการทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ระดับความวิตกกังวลของนักกีฬากลุ่มทดลองต่ำกว่าระดับความวิตกกังวลของนักกีฬากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ระดับความวิตกกังวลของนักกีฬากลุ่มทดลองภายหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
Other Abstract: | The purpose of this experimental research was to explore the effect of Listening music on anxiety level of Athletes. Samples were 24 boys and girls who were studying in Bangkok Physical College. Athletes were purposive sampling into 2 groups, each containing 12 athletes to form a control group and an experimental group. The experimental group received music on 5 weeks (2 times/week) whereas the control group did not received music. The CSAI-2 (Competitive Sport Anxiety Inventory-2) was administered to both groups prior to the start to the five-week period and at the end of the period. Data were analyzed to determine by mean (x), variance (S²) and t-test. Conclusion of this research are : 1. The anxiety level of experimental group are lower than control group significantly. (p=0.05) 2. The anxiety level of experimental group after the experiment are lower than before the experiment significantly. (p=0.01) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62720 |
ISBN: | 9745798673 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sararat_vu_front_p.pdf | 4.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sararat_vu_ch1_p.pdf | 4.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sararat_vu_ch2_p.pdf | 13.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sararat_vu_ch3_p.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sararat_vu_ch4_p.pdf | 8.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sararat_vu_ch5_p.pdf | 5.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sararat_vu_back_p.pdf | 6.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.