Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62915
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุวิมล ว่องวาณิช | - |
dc.contributor.author | ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ | - |
dc.contributor.author | กนิษฐ์ ศรีเคลือบ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-09-05T03:34:31Z | - |
dc.date.available | 2019-09-05T03:34:31Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.isbn | 9786164971073 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62915 | - |
dc.description.abstract | คุณลักษณะสำคัญที่นิสิตครูพึ่งมีเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพของตนเองคือ ทักษะการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและทดลองใช้ชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการ วิจัยในชั้นเรียนสำหรับนิสิตครู และนำเสนอหลักการออกแบบชุดการเรียนรู้ที่ปรับใหม่จากผลการวิจัยอิงการออกแบบ การวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักการออกแบบ (design principle) เพื่อเป็นฐานคิดในการ กำหนดข้ออ้างเชิงเหตุผล (argument) ในการออกแบบชุดการเรียนรู้ โดยใช้การศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การทดลองใช้ต้นแบบของชุดการเรียนรู้กับนิสิตครูที่มีบริบทต่างกัน จำนวน 5 กลุ่ม ในการทดลองจำนวน 3 รอบ ทำการเก็บข้อมูลผ่านการสังเกตเป็นหลักควบคู่กับการทดสอบความรู้และ การประเมินทักษะการวิจัยในชั้นเรียนผ่านชิ้นงาน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การ นำเสนอหลักการออกแบบที่ปรับใหม่ (new design principle) โดยใช้การถอดบทเรียนจากการนำชุดการเรียนรู้ต้นแบบ ไปทดลองใช้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดการเรียนรู้การวิจัยในชั้นเรียนต้นแบบประกอบด้วย 6 โมดูล ได้แก่ 1) บทนำสู่การวิจัยปฏิบัติการในชั้น เรียน 2) สภาพปัญหาและตัวแปร 3) การพัฒนาสู่ปัญหาวิจัย กรอบแนวคิด และการออกแบบการวิจัย 4) การนำ treatment สู่การปฏิบัติ และการเก็บข้อมูล 5) การวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนรายงาน และ 6) การอภิปรายผล การ สะท้อนผล และการปรับ treatmentระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 14 สัปดาห์ หลักการออกแบบชุดการเรียนรู้จะสร้างองค์ ความรูและทักษะการวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กับการการสร้างความตระหนัก เจตคติ การรับรู้ความสามารถในตนเอง และ ความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัย 2. ผลการทดลองใช้ชุดการเรียนรู้พบว่า นิสิตคิดว่าการทำวิจัยในชั้นเรียนไม่ใช่เรื่องยาก เห็นประโยชน์ ความสำคัญ ทำการค้นคว้าและการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และมีความมั่นใจมากขึ้นในการออกแบบ และลง มือทำวิจัย ผลการทดสอบความรู้และการประเมินผลงานของนิสิตพบว่า นิสิตมีความรู้ที่ถูกต้อง รวมถึงผลงานของนิสิตมี ความถูกต้องตามหลักการวิจัยในชั้นเรียน 3. หลักการออกแบบใหม่ที่ถอดบทเรียนได้หลังจากการนำชุดการเรียนรู้ต้นแบบไปทดลองใช้คือ ชุดการ เรียนรู้ต้องสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิสิตกับกิจกรรมการวิจัยในชั้นเรียน และต้องมีความต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ กระบวนการ ต้องเน้นการสร้างความเชื่อมโยงหรือรอยต่อทางองค์ความรู้แต่ละเนื้อหาให้นิสิต อีกทั้งชุดการเรียนรู้ต้องมี สื่อหรือเอกสารต่าง ๆ จัดเตรียมไว้ให้ผู้ที่จะทำวิจัยเลือกใช้ และสามารถแลกเปลี่ยนสะท้อนข้อดี ข้อปรับปรุงของ กิจกรรมต่าง ๆ ได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | A crucially important quality student teachers preferably possess in order to facilitate their own learning and career relates to classroom action research skills. This study aimed to design and experiment learning modules for enhancing classroom action research skills among student teachers as well as to present learning modules adapted from the result of design-based research. The research study was divided into three phases. The first phase was the development of the design principle in order to form the conceptual basis for arguments in learning modules by studying relevant documents, concepts and theories along with brainstorming among field experts. The second phase involved the experiment on the implementation of the learning modules on five groups of student teachers in diverse contexts. There were three experiments overall and the data were mainly collected by means of observation coupled with tests and the assessment of classroom action research reports. After that, the data content was analyzed. The final phase dealt with the presentation of the new design principle by adopting lessons from the learning modules. The results were as follows: First, there were six learning modules for classroom action research, including an introduction to classroom action research, problem conditions and variables, the development of research problems, concepts and the research design, the practice of the treatment as well as data collection, data analysis and report writing, and results and discussions, reflection, and 14 weeks of treatment adaptation. The design principle of learning modules created knowledge and skills for classroom action research as well as improving awareness, attitudes, self-awareness and research commitment. Second, the result of the experiment of the learning modules revealed that student teachers held the opinion that classroom action research was not difficult and they understood its benefits and significance, constantly participated in various activities and had more confidence to design and implement the learning modules. The result of the tests and assessment revealed that student teachers had the right knowledge and the products followed the principles of classroom action research. Third, the new design principle from which the new lessons could be drawn after the implementation of the learning module prototype was that there must be interaction between students and the classroom action research activities and that consistency was necessary throughout the whole process. Apart from that, the connection of knowledge and content should be a priority. The learning modules should also have media and documents ready for researchers to adopt and the exchange of different opinions, reflections and improvements of the activities should also be encouraged. Keywords: Learning Modules, Classroom Action Research Skills, Student Teachers | en_US |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2559 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การสอนด้วยสื่อ | en_US |
dc.subject | แบบเรียนสำเร็จรูป | en_US |
dc.subject | การศึกษา -- วิจัย | en_US |
dc.subject | นักศึกษาครู | en_US |
dc.title | การพัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตครู : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ | en_US |
dc.title.alternative | Development of Learning Modules for Enhancing Classroom Action Research Skills of Student Teachers | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.email.author | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwimon_Wongwanich_Res_2560.pdf | 3.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.