Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62953
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อเนกพล เกื้อมา | - |
dc.contributor.author | อุ่นเรือน เล็กน้อย | - |
dc.contributor.author | พิชญา สุรพลชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม | - |
dc.coverage.spatial | ปัตตานี | - |
dc.coverage.spatial | ยะลา | - |
dc.coverage.spatial | นราธิวาส | - |
dc.coverage.spatial | สตูล | - |
dc.coverage.spatial | สงขลา | - |
dc.date.accessioned | 2019-09-13T10:08:06Z | - |
dc.date.available | 2019-09-13T10:08:06Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62953 | - |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยเรื่อง ความยากจนและความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ : นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดของปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ของประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีขอบเขตการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาวะความยากจน และการกระจายรายได้โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติ และข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนมีขนาดความยากจนในระดับสูง โดยพบว่าเส้นความยากจนของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสตูล อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของภูมิภาคและทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้จำนวนคนจนรวมใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ยังมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 14 ของคนจนทั่วราชอาณาจักร และมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนคนจนทั้งหมดในภาคใต้ โดยจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี เป็นสองจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุด และมีระดับรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนตํ่าที่สุด ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังปี 2550 นราธิวาสและปัตตานี เริ่มมีช่องว่างทางรายได้ที่ กว้างขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นในกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ในขณะที่ความไม่เทียมทางด้านรายได้ในระดับจังหวัดของกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ในปี 2550 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จากปีก่อน แต่หลังจากปี 2550 กลับพบว่านราธิวาส และยะลามีแนวโน้มการกระจาย รายได้ที่ดีขึ้น แต่จังหวัดปัตตานี สงขลา และสตูล มีแนวโน้มการเติบโตของความไม่เสมอภาคทางรายได้ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สถานการณ์ความยากจนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ อาจได้รับอิทธิพลประกอบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยพบว่าในปี 2550 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น มากที่สุด โดยเฉพาะใน พื้นที่นราธิวาสและปัตตานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาทางรายได้และความยากจนมากที่สุด เช่นเดียวกัน แต่ความไม่เสมอภาคทางรายได้ของกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้กลับไม่สามารถอธิบายถึงความ เชื่อมโยงกับการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ได้ แต่ก็อาจเป็นปัจจัยสนับสนุนร่วมกับความเหลื่อมล้ำ ด้านอื่นที่อาจนำมาซึ่งสถานการณ์ความรุนแรงได้เช่นกัน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญ กับนโยบายในการลดความเหลื่อมล้ำทั้ง ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ ชายแดนให้มากยิ่งขึ้น | en_US |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2555 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความจน -- ไทย (ภาคใต้) | en_US |
dc.subject | การกระจายรายได้ -- ไทย (ภาคใต้) | en_US |
dc.title | โครงการวิจัย เรื่อง ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน ด้านรายได้ของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา (ปีที่ 2) | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.email.author | [email protected] | - |
dc.email.author | [email protected] | - |
dc.email.author | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Social Research - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anegpon K_Res_2555.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.